backup og meta

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ มะเร็งเต้านมที่กลับมาใหม่

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ มะเร็งเต้านมที่กลับมาใหม่

มะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งในมะเร็งที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดที่คุกคามชีวิตของผู้ป่วย เนื่องด้วยการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ การรักษามะเร็งเต้านมมีวิธีผ่าเนื้องอกออกและกำจัดเซลล์มะเร็งที่ยังเหลืออยู่ในร่างกาย อย่างไรก็ตาม ประมาณ 10-20% อาจเกิดกรณี มะเร็งเต้านมที่กลับมาใหม่ ขึ้นได้อีก

มะเร็งเต้านมที่กลับมาใหม่ คืออะไร

มะเร็งเต้านม เป็นโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับเซลล์ในเต้านม การรักษามะเร็งเต้านมจะผ่าเซลล์มะเร็งทั้งหมดออก อย่างไรก็ตาม บางเซลล์ที่ยังคงเหลือรอดในร่างกาย เพราะไม่ได้ถูกตรวจพบหรือแบ่งตัวเพิ่มจะกลายเป็นมะเร็งเต้านมต่อไป

ผู้ป่วยอาจกลับมาเป็นมะเร็งเต้านมที่เนื้องอกเดิม เรียกว่า “การกลับเป็นซ้ำที่จุดเริ่มต้นของโรค (Local Recurrence)’ หรืออีกประเภทหนึ่งของการกลับมาเป็นมะเร็งเต้านมซ้ำ คือ การเกิดเนื้องอกบริเวณเดิมที่เคยผ่าเนื้องอกออกแล้ว เรียกว่า “การกลับเป็นซ้ำเฉพาะที่ (Regional Recurrence)’

มะเร็งอาจลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลือง ไขกระดูก ปอด กรณีเหล่านี้เรียกว่า “การลุกลาม (Metastasis)’ มะเร็งเต้านมอาจกลับมาเกิดซ้ำอีกภายในเวลาหลายเดือน หรือหลายปีหลังจากการรักษาครั้งเเรก สัญญาณเเละอาการของ การเกิดมะเร็งเต้านมซ้ำ ขึ้นอยู่กับตำเเหน่งที่เกิดมะเร็งขึ้นอีก

การเกิดมะเร็งเต้านมซ้ำ บริเวณเต้านมเดิม

หาก มะเร็งเต้านมกลับมาใหม่ เกิดขึ้นบริเวณเต้านมเดิม อาการที่เกิดขึ้น คือ มีเนื้องอกใหม่ในหน้าอก หน้าอกเเข็งผิดปกติ สัญญาณของหน้าอกอักเสบเเละเป็นรอยเเดง หัวนมเเบน รอยบุ๋ม มีเลือดหรือหนองไหล รวมถึงอาการผิดปกติอื่น ๆ

การลุกลามไปที่สมอง

อาการของ การเกิดมะเร็งเต้านมซ้ำ ที่สมอง คือ อาการปวดศีรษะหากเนื้องอกกำเริบที่สมอง อาการปวดศีรษะเป็นผลจาก การเกิดมะเร็งซ้ำ ในอวัยวะที่ห่างจากเต้านม เเละเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ปวดศีรษะทั่วไปเช่นกัน แต่อาการปวดศีรษะที่เป็นผลจาก การเกิดมะเร็งซ้ำ จะรุนเเรงกว่า มีระยะเวลานานกว่าเเละเกิดขึ้นบ่อยกว่าเช่นกัน อ้างอิงจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเเพทย์ ผู้ป่วยอาจมีอาการถึงขนาดรบกวนการมองเห็นหรือทำให้กล้ามเนื้ออ่อนเเรง ดังนั้น เมื่อผู้ป่วยมะเร็งเต้านมปวดศีรษะผิดปกติ หรือมีอาการทางระบบประสาทอื่น ๆ สิ่งที่ควรทำคือปรึกษาเเพทย์ เพื่อตรวจ การเกิดมะเร็งเต้านมซ้ำ ที่สมอง ในระยะเริ่มเเรกให้ทันท่วงที

การลุกลามไปที่ตับ

ใน การเกิดมะเร็งเต้านมซ้ำ บางกรณี เนื้องอกจะเกิดขึ้นในอวัยวะที่ห่างจากเต้านม เรียกว่า “การลุกลามไปที่อวัยวะอื่น (Distant recurrence)’ การลุกลามไปที่อวัยวะอื่นอาจเกิดขึ้น เมื่อเซลล์มะเร็งลุกลามก่อนการผ่าตัดเพื่อรักษามะเร็งเต้านม เซลล์มะเร็งที่ได้ลุกลามไปที่อวัยวะอื่นจะยังไม่ได้ถูกผ่าออก การกลับมาเป็นมะเร็งเต้านมซ้ำอาจเกิดขึ้นได้ที่อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เเต่ส่วนมากเเล้วจะเป็นที่ตับ ด้วยเหตุนี้ คนไข้จึงมักมีอาการที่เกี่ยวข้องกับความอยากอาหาร หรือน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หากคุณมีอาการเหล่านี้ โปรดเข้ารับการวินิจฉัยทันทีที่เป็นไปได้ เพื่อตรวจหาสัญญาณของมะเร็งในตับ

หากโรคนี้ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจก่อให้เกิดโรคเเทรกซ้อนรุนเเรง เช่น ตับล้มเหลว มะเร็งตับ การลุกลามไปที่ตับยังเป็นหนึ่งในอาการที่ชี้ให้เห็นว่า มะเร็งเต้านมอันตรายเป็นอย่างมาก

การลุกลามไปที่ปอด

ปอดได้รับผลกระทบจาก การเกิดมะเร็งเต้านมซ้ำ เช่นกัน การหายใจลำบาก อาจเป็นอาการของการกลับมาเป็นมะเร็งเต้านมอีกครั้งที่ปอด สัญญาณอื่น ๆ รวมถึง ไอ มูกที่เปื้อนเลือด

ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามาเเล้ว อาจกลับมาเป็นมะเร็งเต้านมอีกครั้ง ดังนั้น การตรวจสุขภาพหลังการผ่าตัดจึงสำคัญมาก เพื่อที่จะได้ตรวจพบ การเกิดมะเร็งเต้านมซ้ำ อีกครั้งเเต่เนิ่น ๆ เเละได้รับการรักษาที่เหมาะสม

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Recurrent & Metastatic Breast Cancer.  http://www.breastcancer.org/symptoms/types/recur_metast. Accessed October 12, 2016

Checking for Breast Cancer Recurrence. http://www.webmd.com/breast-cancer/guide/breast-cancer-recurrence?page=2#1. Accessed October 12, 2016

Breast cancer recurrence. http://ww5.komen.org/BreastCancer/ReturnofCancerafterTreatment.html. Accessed October 12, 2016

Breast Cancer, Metastatic or Recurrent. https://www.uofmhealth.org/health-library/tv7119#:~:text=Breast%20cancer%20occurs%20when%20abnormal,another%20part%20of%20the%20body. Accessed June 10, 2021

Recurrent breast cancer. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/recurrent-breast-cancer/symptoms-causes/syc-20377135. Accessed June 10, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/06/2021

เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เป็นมะเร็งเต้านมก็หายได้ ด้วย วิธีรักษามะเร็งเต้านม ที่ถูกต้อง

10 วิธี ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม ที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้เอาไว้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 10/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา