backup og meta

เจ็บหน้าอกข้างขวา ขึ้นมากะทันหัน มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง

เจ็บหน้าอกข้างขวา ขึ้นมากะทันหัน มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง

อาการเจ็บหน้าอก อาจจะดูเป็นอาการเล็ก ๆ แต่ผลเสียที่ตามมาอาจไม่เล็กอย่างที่คิด มากไปกว่านั้น ถ้าหากคุณปล่อยให้อาการ เจ็บหน้าอกข้างขวา นี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ โดยไม่มีการเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงบางอย่างก็เป็นได้ บทความนี้ของ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมารู้จักกับ อาการเจ็บหน้าอก ให้ชัดถึงสาเหตุหลัก เพื่อการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ

[embed-health-tool-heart-rate]

อาการ เจ็บหน้าอกข้างขวา คืออะไร

เป็นอาการที่สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพของคุณได้หลายประการ ทั้งในระดับไม่รุนแรง จนไปถึงขั้นระดับรุนแรงที่อาจส่งผลอันตรายถึงชีวิต ซึ่งอาจมาจากสาเหตุหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

  • เจ็บอกข้างขวา จากความเครียด

หากคุณมีความเครียดในระดับที่รุนแรง อาจส่งผลให้สุขภาพหัวใจคุณได้รับผลกระทบ หรือหัวใจต้องทำงานหนักขึ้น จนเกิดเป็น อาการเจ็บหน้าอก อาจมีอาการใจสั่นร่วมด้วย

เนื่องจากหน้าอกของคนเรามีผนังที่เรียกกว่า กล้ามเนื้อ กั้นเอาไว้ ซึ่งอาการนี้จะพบได้บ่อยสำหรับผู้ที่ชอบทำกิจกรรมโดยใช้ร่างกายอย่างหนัก เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา เป็นต้น จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นรู้สึกเจ็บปวด และอาจเกิดอาการ เจ็บอกข้างขวา ได้ แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะในกรณีนี้คุณสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการพักผ่อน หรือการใช้ยาที่ซื้อตามร้านขายยาโดยผ่านการอนุญาตจากเภสัชกรมาทา เพื่อบรรเทาอาการก็ย่อมได้

  • อาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

แน่นอนว่าอุบัติเหตุย่อมเกิดได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นขณะทำงาน หรือระหว่างการดำเนินกิจวัตรประจำวันตามปกติก็ตาม ดังนั้น อาการเจ็บหน้าอก ก็อาจเกิดจากการได้รับการกระแทกอย่างรุนแรง จนอาจส่งผลไปยัง หัวใจ ปอด และซี่โครงบริเวณหน้าอกให้ได้รับความเสียหายเพิ่ม หากเกิดกรณีเช่นนี้แล้วคุณควรเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลที่ใกล้ตัวคุณในทันที

  • เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

เมื่อเยื่อหัวใจของคุณเกิดการอักเสบ นอกจากจะทำให้คุณรู้สึกเจ็บหน้าอกบริเวณด้านขวาในขณะที่คุณหายใจเข้า-ออกแล้ว ในบางครั้งสามารถนำไปสู่ภาวะบีบรัดหัวใจอันเนื่องมาจากมีน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจมาก ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางระบบหัวใจและหลอดเลือดซึ่งควรรีบพบแพทย์อย่างเร่งด่วน 

  • ลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด

หากเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากทางเดินหลอดเลือดดำ ที่ส่งไปยังปอดเข้ามาขัดขวางหลอดเลือดแดงอย่างฉับพลัน อาจทำให้คุณเกิดความรู้สึกเจ็บหน้าอกขึ้นมากะทันหัน อีกทั้งถ้าไม่รีบทำการรักษา หรือเมินเฉยเพราะคิดว่าอาการนี้คงจะหายไปเอง อาการนี้อาจส่งผลต่อชีวิตได้ในทันที

สัญญาณเตือนของอาการ เจ็บอกข้างขวา

สัญญาณเตือนของอาการ เจ็บอกข้างขวา มีดังต่อไปนี้

  • หายใจถี่สั้น หายใจตื้น
  • วิงเวียนศีรษะ มีไข้
  • ไอต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  • เสียงมีการเปลี่ยนแปลง เช่น เสียงแหบ
  • คลื่นไส้
  • รู้สึกกลืนอาหารลำบาก

เมื่อไหร่ควรพบคุณหมอ

คุณควรไปพบคุณหมอทันที หากพบอาการ เจ็บอกข้างขวา ร่วมกับอาการดังต่อไปนี้

  • เกิด อาการเจ็บหน้าอก แบบรุนแรงฉับพลัน
  • รู้สึกแน่นหน้าอก เหมือนมีอะไรมากดทับอยู่ภายใน
  • มีอาการเจ็บหน้าอกร่วมกับการหายใจถี่
  • อาการเจ็บปวดร้าวไปยังบริเวณอื่น เช่น คอ แขน ขา หน้าท้อง และหลัง
  • เจ็บหน้าอกพร้อมกับมีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้
  • เป็นลม หมดสติ

ไม่ว่าจะเป็น อาการเจ็บหน้าอก แบบรุนแรง หรือแบบที่ไม่รุนแรง แต่เมื่อเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น คุณควรปรึกษาแพทย์ และรับการตรวจสุขภาพเพื่อหาสาเหตุให้ชัดเจนอย่างละเอียดในทันที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Pericarditis. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK431080/. Accessed August 24, 2023.

Chest injuries. https://www.healthdirect.gov.au/chest-injuries. Accessed August 24, 2023.

Acute Myocarditis. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK441847/. Accessed August 24, 2023.

Broken Heart Syndrome. https://www.webmd.com/heart-disease/can-you-die-broken-heart. Accessed August 24, 2023.

Symptoms and Diagnosis of Excessive Blood Clotting (Hypercoagulation). https://www.heart.org/en/health-topics/venous-thromboembolism/symptoms-and-diagnosis-of-excessive-blood-clotting-hypercoagulation#:~:text=A%20blood%20clot%20in%20the,or%20pulmonary%20embolism%20(PE). Accessed August 24, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/10/2024

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลอย่างถี่ถ้วนโดย พญ.ไอริณ จริยะโยธิน

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิตกกังวลมากไป อาจเป็นเหตุให้คุณเกิด อาการแน่นหน้าอก

อาการเจ็บหน้าอก สัญญาณของหลายโรคร้ายที่ไม่ควรเพิกเฉย


ตรวจสอบข้อมูลอย่างถี่ถ้วนโดย

พญ.ไอริณ จริยะโยธิน

อายุรศาสตร์ · แพทย์ประจำแอพลิเคชั่น BeDee


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 4 สัปดาห์ก่อน

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา