อาการของโรค

อาการของโรค คือ สัญญาณแจ้งเตือนว่าคุณกำลังจะป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ซึ่งอาการของแต่ละโรคนั้นจะแตกต่างกันออกไป แต่คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าอาการที่กำลังเกิดขึ้นกับคุณนั้นเป็นโรคอะไรกันแน่ ลองมาหาคำตอบกัน

เรื่องเด่นประจำหมวด

อาการของโรค

ปวดหัวตุ๊บๆ สาเหตุ และวิธีรักษา

อาการปวดหัว สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวันและทุกช่วงเวลา โดยเฉพาะเมื่อรู้สึกตึงเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือเจ็บป่วย ที่ทำให้รู้สึกเหมือนมีแรงกดหรือรู้สึกปวดจี๊ด ๆ ภายในหัว ซึ่งบางคนอาจมีอาการปวดหัวข้างเดียว หรือ ปวดหัวตุ๊บๆ ส่งผลให้รบกวนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น จึงควรรักษาด้วยการรับประทานยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาหรือเข้าพบคุณหมอโดยตรง [embed-health-tool-bmi] ปวดหัวตุ๊บๆ มีสาเหตุจากอะไร อาการปวดหัวตุ๊บ ๆ มีสาเหตุที่แตกต่างกันออกไปตามประเภท ซึ่งมีมากกว่า 100 ประเภท แต่ที่พบบ่อยได้ที่สุดนั้น อาจมีดังนี้ ปวดหัวตึงเครียด เป็นอาการปวดหัวที่เกิดจากความเครียดทางจิตใจ มีปัญหาบริเวณเส้นประสาทท้ายทอยซึ่งมีปัจจัยมาจากการนั่งหรือยืนผิดท่า ออกกำลังกายมากเกินไป ข้อต่อบริเวณท้ายทอยอักเสบ อาการปวดหัวประเภทนี้อาจเป็นนานประมาณ 30 นาที หรือ 2-3 วัน ที่สังเกตได้จากอาการปวดหัวตุ๊บๆ ด้านหลังศีรษะ และเริ่มแผ่ไปบริเวณด้านหน้าของศีรษะด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ปวดหัวไมเกรน  ปวดหัวไมเกรนมักจะมีอาการปวดศีรษะตุ๊บๆ เป็นจังหวะด้านใดด้านหนึ่งหรืออาจเป็นทั้ง 2 ด้าน ที่อาจเกิดจากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง เช่น สารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีที่บทบาทในการควบคุมการทำงานของสมองและระบบประสาท หากมีระดับเซโรโทนินต่ำหรือมากเกินไปอาจทำให้หลอดเลือดขยายและหดตัว ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงสมองน้อยลงหรือและอาจทำให้หลอดเลือดขยายจนกดทับบริเวณปลายประสาทที่นำไปสู่อาการไมเกรน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น การอดนอน การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การใช้ยาคุมกำเนิด การใช้ยาขยายหลอดเลือด […]

สำรวจ อาการของโรค

อาการของโรค

ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Disease)

ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Disease) คือ โรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรียบริเวณเยื่อหุ้มสมอง ที่มีชื่อเรียกว่า “ไนซีเรีย เมนิงไจทิดิส (Neisseria Meningitidis)” โดยแพร่กระจายเชื้อโรคผ่านสารคัดหลั่ง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไข้สูง มีผื่นขึ้นตามร่างกาย และบางรายอาจมีอาการคอแข็ง คำจำกัดความ ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Disease)  คืออะไร ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Disease) คือ โรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรียบริเวณเยื่อหุ้มสมอง ที่มีชื่อเรียกว่า “ไนซีเรีย เมนิงไจทิดิส (Neisseria Meningitidis)” โดยแพร่กระจายเชื้อโรคผ่านสารคัดหลั่ง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไข้สูง มีผื่นขึ้นตามร่างกาย และบางรายอาจมีอาการคอแข็ง หลังแอ่น  อย่างไรก็ตาม โรคไข้กาฬหลังแอ่น จัดเป็นโรคที่อันตราย เพราะระยะการติดเชื้อนั้นรวดเร็วมาก หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้   พบได้บ่อยเพียงใด โรคไข้กาฬหลังแอ่นสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย แต่มักพบในทารก เด็ก และวัยรุ่น อาการอาการของ โรคไข้กาฬหลังแอ่น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันออกไปตามบริเวณที่ติดเชื้อ ดังต่อไปนี้  มีไข้สูงกะทันหัน ปวดศีรษะรุนแรง  คอแข็ง คลื่นไส้และอาเจียน ปวดตามบริเวณข้อ  มีอาการมึนงง  ตาไวต่อแสง มีผื่นบริเวณผิวหนัง ลักษณะออกสีม่วงอมแดง (เลือดคลั่งในผิวหนัง) หายใจหอบ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของโรคไข้กาฬหลังแอ่น โรคไข้กาฬหลังแอ่นมีสาเหตุมาจากการที่ผู้ป่วยเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า “ไนซีเรีย เมนิงไจทิดิส […]


อาการของโรค

ไข้ชัก (Febrile Convulsion)

ไข้ชัก  (Febrile Convulsion) คืออาการชักจากไข้ ที่เกิดในเด็กที่มีอายุระหว่าง 3 เดือน ถึง 3 ปี โดยส่วนใหญ่มีไข้สูงถึง 39-40 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการชัก แขนและขากระตุก เป็นต้น คำจำกัดความไข้ชัก  (Febrile Convulsion) คืออะไร ไข้ชัก (Febrile Convulsion) คืออาการชักจากไข้ ที่เกิดในเด็กที่มีอายุระหว่าง 3 เดือน ถึง 3 ปี โดยส่วนใหญ่มีไข้สูงถึง 39-40 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการชัก แขน และขากระตุก เป็นต้น พบได้บ่อยเพียงใด อาการ โรคไข้ชัก มักเกิดขึ้นบ่อยในเด็กที่มีอายุระหว่าง 3 เดือน ถึง 3 ปี และในช่วงอายุ 12-18 เดือน อาการอาการของ โรคไข้ชัก อาการทั่วไปของ โรคไข้ชัก แบ่ง ออกเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้  อาการชักจากไข้แบบธรรมดา  แขนและขากระตุก ไม่สนองต่อสิ่งเร้า อารมณ์แปรปรวน  อาการชักจากไข้แบบซับซ้อน แขนและขากระตุก  แขนและขาอ่อนแรง ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม […]


อาการของโรค

ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism)

ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญออกมาไม่เพียงพอ โดยต่อมไทรอยด์นี้ตั้งอยู่บริเวณส่วนด้านล่างลำคอ ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเข้าไปในกระแสเลือด คำจำกัดความ ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism)  คืออะไร ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญออกมาไม่เพียงพอ โดยต่อมไทรอยด์นี้ตั้งอยู่บริเวณส่วนด้านล่างลำคอ ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเข้าไปในประแสเลือด  อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่า โรคไฮโปไทรอยด์ส่งผลกระทบต่อทุกส่วนของร่างกายตั้งแต่หัวใจไปยังสมอง และจากกล้ามเนื้อไปถึงผิวหนัง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ ปวดข้อ ภาวะอ้วน ภาวะมีบุตรยาก โรคหัวใจ  พบได้บ่อยเพียงใด ภาวะไฮโปไทรอยด์ สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย  แต่มักพบในผู้สูงอายุเพศหญิงที่อายุ 60 ปี  อาการอาการ ภาวะไฮโปไทรอยด์ ในช่วงแรกผู้ป่วยที่อยู่ใน ภาวะไฮโปไทรอยด์ อาจไม่มีอาการแสดงให้เห็น แต่จะรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย น้ำหนักเพิ่มขึ้น ซึ่งเราอาจคิดว่าเป็นแค่เพียงอาการอ่อนเพลียทั่วไป เราอาจจะเห็นสัญญาณและอาการที่ชัดเจนขึ้น โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้  ท้องผูก  ผิวแห้ง น้ำหนักเพิ่มขึ้น หน้าบวม  เสียงแหบ ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น กล้ามเนื้อมีอาการปวด กดเจ็บ และแข็งเกร็ง  มีอาการปวด แข็งเกร็ง หรือบวมที่ข้อต่อ  มีประจำเดือนมากกว่าปกติหรือผิดปกติ  ผมบาง หัวใจเต้นช้า ซึมเศร้า ความจำเสื่อม   กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผมบาง ท้องบวมมาก  กรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรืออยู่ในภาวะมิกซีดีมา (Myxedema) จะมีลักษณะอาการความดันโลหิตต่ำ อุณหภูมิในร่างกายลดลง ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุ ภาวะไฮโปไทรอยด์ สาเหตุส่วนใหญ่ของ ภาวะไฮโปไทรอยด์ เกิดจากการอักเสบของต่อมไทรอยด์ […]


อาการของโรค

ภาวะถอนพิษสุรา (Withdrawal) อาการที่เกิดจากการหยุดสุราอย่างกระทันหัน

ภาวะถอนพิษสุรา หรือ ภาวะถอนสุรา (Withdrawal) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ดื่มสุราในปริมาณมากเป็นประจำ เมื่อหยุดหรือลดปริมาณลงอย่างกะทันหัน อาจทำให้เกิดภาวะถอนสุราได้ ซึ่งภาวะนี้ก็จะแสดงอาการที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละคน สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงอาจอันตรายจนถึงชีวิตได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนไปทำความรู้จักกับภาวะถอนพิษสุรา ว่าจะมีอาการเช่นไรบ้าง ภาวะถอนพิษสุรา คืออะไร อาการถอนสุรา เป็นอาการที่เกิดจากผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก แล้วอยู่ ๆ หยุดดื่มอย่างกะทันหัน หรือลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ลงอย่างรวดเร็ว เมื่อร่างกายเกิดภาวะถอนสุรา จะส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกายและอารมณ์ เช่น เกิดความวิตกกังวล ไปจนถึงรู้สึกคลื่นไส้ และเหนื่อยล้า บางคนที่เกิดอาการถอนสุราอย่างรุนแรง จะทำให้เกิดภาพหลอน มีอาการชัก บางรายอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว อาการของผู้ที่มี ภาวะถอนสุรา สัญญาณและอาการของ ภาวะถอนสุรา จะเกิดขึ้นหลังจากหยุดหรือลดสุราไปแล้ว 6 ชั่วโมง หรือ 1-2 วันหลังจากที่ดื่มสุราครั้งสุดท้าย สำหรับผู้ที่มีภาวะถอนสุรามักจะมีอาการอย่างน้อย 2 อาการขึ้นไปจาก อาการทั้งหมดเหล่านี้ อาการสั่น วิตกกังวล คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น เหงื่อออก หงุดหงิด สับสน นอนไม่หลับ ฝันร้าย ความดันโลหิตสูง อาการเหล่านี้อาจจะแย่ลงในช่วง 2-3 วันแรก แต่สำหรับบางคนอาการที่ไม่รุนแรง อาจจะเกิดขึ้นได้นานถึง 1 สัปดาห์ ยิ่งปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดลดลงมากเท่าไร อาการถอนสุราก็จะเริ่มชัดและมากขึ้นเท่านั้น สำหรับผู้ที่มีอาการถอนสุราอย่างรุนแรงอาจเกิดอาการทางจิตที่เรียกว่า “Delirium Tremens” หรือ DT […]


อาการของโรค

Cybersickness อาการเมาที่เกิดจากการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มากเกินไป

อาการ Cybersickness หรือ อาการเมาที่เกิดจากการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นอาการวิงเวียนศรีษะ คลื่นไส้ เมื่อมีการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเวลานาน อาการที่เกิดขึ้นก็จะมีลักษณะคล้ายกับอาการเมารถ เมาเรือ ยิ่งช่วงนี้หลาย ๆ คนก็ยังทำงานที่บ้าน Work from home อยู่ ก็จำเป็นที่จะต้องประชุมออนไลน์ อาจทำให้เกิด อาการเมาที่เกิดจากการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มาให้อ่านกันค่ะ ทำความรู้จักกับ Cybersickness Cybersickness เป็น อาการเมาที่เกิดจากการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาการนี้อาจจะเกิดขึ้นเมื่อมีการใช้สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์มาก ๆ ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นคล้ายกับอาการเมารถ เมาเรือ โดยอาการCybersickness มักจะเกิดขึ้นเมื่อมีการใช้หน้าจอหลาย ๆ อุปกรณ์พร้อมกัน หรือประชุมออนไลน์ที่มีบุคคลอื่นในหน้าจอหลายคน โดยสาเหตุนั้นเกิดจากระบบประสาททำงานไม่สอดคล้องกับการมองเห็น ซึ่งเมื่อระบบเหล่านี้เกิดความขัดแย้งกันก็จะทำให้เกิดอาการมึนหัวได้ อาการเมาที่เกิดจากการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาการเมาที่เกิดจากการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีอาการคล้าย ๆ กับอาการเมารถ เมาเรือ ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีอาการคลื่นไส้และวิงเวียน นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ อีก เช่น คลื่นไส้ อาการคลื่นไส้ เป็นอาการเริ่มแรกสำหรับผู้ที่มี อาการเมาที่เกิดจากการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอาการอาจจะแย่ลงหากเกิดหลังจากรับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ […]


อาการของโรค

ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria)

หากคุณลองสังเกตตนเองแล้วพบว่า ในแต่ละครั้งที่คุณปัสสาวะนั้นมีเลือดปะปนออกมา ไม่ว่าจะในปริมาณเล็กน้อย หรือปริมาณมาก ก็อาจเป็นไปได้ว่าคุณกำลังมีสัญญาณแรกเริ่มของอาการ ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria) และจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย รวมถึงเข้ารับการรักษาโดยด่วนจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันที คำจำกัดความปัสสาวะเป็นเลือด (hematuria) คืออะไร ปัสสาวะเป็นเลือด (hematuria) คือภาวะสุขภาพบางอย่าง ที่เป็นผลมาจากการติดเชื้อเนื่องจากโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น เช่น โรคไต โรคมะเร็ง หากมีเลือดปนออกมาในปริมาณมากก็อาจสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่หากมีเลือดปนมาในปริมาณน้อย อาจจำเป็นต้องตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ร่วมให้แน่ชัด ปัสสาวะเป็นเลือด สามารถพบได้บ่อยเพียงใด ภาวะปัสสาวะเป็นเลือด สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป อาการอาการของปัสสาวะเป็นเลือด ผู้ที่มีอาการปัสสาวะเป็นเลือดนั้น มักสังเกตอาการได้จากเลือดที่ปะปนออกมาในปัสสาวะ จนอาจทำให้ปัสสาวะเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน สีแดง หรือสีน้ำตาลเข้ม รวมทั้งอาจมีอาการเจ็บแสบอวัยวะเพศร่วมด้วยขณะปัสสาวะ สาเหตุสาเหตุของการเกิด ภาวะปัสสาวะเป็นเลือด การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ โรคที่เกิดจากถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว ต่อมลูกหมากโต มะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ การบาดเจ็บที่ไต ซึ่งอาจเกิดจากอุบัติเหตุที่กระทบต่อไตโดยตรง นอกจากนี้ยังมียาบางชนิด เช่น ยาแอสไพริน (Aspirin) ยาไซโคลฟอสฟาไมด์ (Cyclophosphamide) ยาเฮพาริน (Heparin) และยาเพนิซิลลิน (Penicillin) ที่อาจส่งผลให้เกิด ภาวะปัสสาวะเป็นเลือด ได้อีกด้วย ดังนั้น หากคุณเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์ โปรดระบุชนิดยาที่คุณรับประทานอยู่ปัจจุบันให้แพทย์ทราบ เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญในการหาวิธีรักษาได้อย่างเหมาะสม ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดปัสสาวะเป็นเลือด ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิด ภาวะปัสสาวะเป็นเลือด มีดังต่อไปนี้ ประวัติทางภาวะสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคไต หรือนิ่วในไตของบุคคลในครอบครัว ผู้สูงอายุตั้งแต่ […]


อาการของโรค

ภาวะเมแทบอลิก (Metabolic Syndrome) ภัยเงียบที่แฝงตัวมากับความ อ้วนลงพุง

ภาวะเมแทบอลิก (Metabolic Syndrome) เป็นภาวะที่ร่างกายมีปัจจัยเสี่ยง  5 ประการ นอกจากนี้ยังทำให้ อ้วนลงพุง อีกด้วย ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีภาวะนี้มักจะมีรอบเอวที่มากกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสม รับประทานอาหารมากไป โดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาวะเมแทบอลิก มาให้อ่านกันค่ะ ภาวะเมแทบอลิก (Metabolic Syndrome) คืออะไร การเกิด ภาวะเมแทบอลิก (Metabolic Syndrome) เป็นกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง 5 ประการ ที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งปัจจัย 5 ประการมีดังนี้ ความดันโลหิตสูง (ความดันมากว่า 130/85 mmHg) ระดับน้ำตาลในเลือดสูง มีไขมันส่วนเกินรอบเอว ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง ระดับคอเลสเตอรอลดี (HDL) ต่ำ การที่ร่างกายมีปัจจัยเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่ามีภาวะเมแทบอลิก แต่อย่างไรก็ตามหากมีปัจจัยเสี่ยงเพียง 1 ปัจจัยก็สามารถทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ แต่หากมีปัจจัยเสี่ยง 3 ปัจจัยขึ้นไปมีโอกาสในการเกิดภาวะเมแทบอลิกสูงมาก สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเมแทบอลิก สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะเมแทบอลิก คือ อ้วนลงพุง มีไขมันส่วนเกินในร่างกาย และการต้านอินซูลิน ส่งผลทำให้ร่างกายนำน้ำตาลไปใช้ได้ยาก นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะเมแทบอลิกได้อีก เช่น อายุ มีคนในครอบครัวเคยเกิดภาวะนี้ […]


อาการของโรค

กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner Syndrome)

กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner Syndrome)  เป็นภาวะทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมเพศหญิง (มีโครโมโซม X เพียงตัวเดียว) ส่งผลให้ผู้ป่วยมีพัฒนาการเจริญเติบโตช้า คอมีพังผืด มือและเท้าบวม นิ้วมือและเท้าสั้น เป็นต้น  คำจำกัดความกลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner Syndrome)  คืออะไร  กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner Syndrome)  เป็นภาวะทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมเพศหญิง (มีโครโมโซม X เพียงตัวเดียว) ส่งผลให้ผู้ป่วยมีพัฒนาการเจริญเติบโตช้า คอมีพังผืด มือและเท้าบวม นิ้วมือและนิ้วเท้าสั้น เป็นต้น  พบได้บ่อยเพียงใด กลุ่ม อาการเทอร์เนอร์ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเพศหญิง (เป็นภาวะที่พบได้ยากมี 1 ใน 2,000 คน) อาการลักษณะของกลุ่มอาการเทอร์เนอร์ ลักษณะของกลุ่ม อาการเทอร์เนอร์ อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่ละช่วงวัย โดยมีลักษณะอาการที่แสดงออกในแต่ละช่วงวัย ดังต่อไปนี้  ก่อนคลอด ความผิดปกติของหัวใจ ไตผิดปกติ อาการบวมน้ำ ช่วงวัยทารก การเจริญเติบโตช้า นิ้วมือและนิ้วเท้าสั้น หัวใจผิดปกติ  เล็บมือและเล็บเท้าแคบและหันขึ้น มือและเท้าบวม ปากเพดานสูงและแคบ ช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ การเจริญเติบโตช้า เช่น รูปร่างเตี้ย ไม่มีอาการเข้าสู่ช่วงวัยสาว เช่น ไม่มีประจำเดือน อวัยวะเพศเจริญเติบโตช้า ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของกลุ่ม อาการเทอร์เนอร์ สาเหตุของกลุ่ม อาการเทอร์เนอร์ เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมในเพศหญิง โดยปกติเด็กผู้หญิงจะได้รับโครโมโซม X จากพ่อและแม่อย่างละคู่ แต่ผู้ป่วยที่อยู่ใน […]


อาการของโรค

โรคเหน็บชา ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องกับการขาดวิตามินบี 1

คุณผู้อ่านหลายท่าน คงประสบกับอาการชาที่มือและเท้ากันมาบ้าง ซึ่งอาการชาที่มือและเท้าโดยทั่วไปก็มักจะเกิดขึ้นแค่เพียงชั่วครู่ชั่วคราว ไม่นานก็หายไป แต่ถ้าคุณมีอาการชาที่มือและเท้าบ่อย ๆ หรือรู้สึกชาตามมือและเท้าเป็นประจำ อาจเป็นไปได้ว่าคุณกำลังเสี่ยงต่อโรคเหน็บชา แต่ โรคเหน็บชา คืออะไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับโรคเหน็บชามาฝากค่ะ โรคเหน็บชา คืออะไร โรคเหน็บชา (Beriberi) เป็นปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากการขาดแคลนสารอาหารชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า ไทอามีน (Thiamine) หรือวิตามินบี 1 (Vitamin B1) ซึ่งเป็นสารอาหารที่ทำหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย คือ สลายคาร์โบไฮเดรต ช่วยในการหกตัวของกล้ามเนื้อ กระตุ้นกระบวนการนำความรู้สึกของเซลล์ประสาท ผลิตกลูโคส (Glucose) ผลิตกรดสำหรับใช้ในการย่อยอาหาร วิตามินบี 1 นั้นจะถูกสลายในร่างกายภายในเวลาไม่นาน โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะขาดแคลนวิตามินบี 1 นั้น วิตามินบี 1 จะถูกสลายออกไปจากร่างกายภายในระยะเวลา 2 – 3 สัปดาห์เท่านั้น โรคเหน็บชามีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดหลัก ๆ ได้แก่ เหน็บชาชนิดผอมแห้ง (Dry beriberi) เป็นโรคเหน็บชาที่มีผลต่อระบบประสาท เสี่ยงที่จะทำให้เส้นประสาทถูกทำลาย ผู้ป่วยมีรูปร่างผอมแห้ง กล้ามเนื้อแขนและขาอ่อนแรง หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเป็นอัมพาต โรคเหน็บชาประเภทนี้ หากไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ เหน็บชาชนิดเปียก (Wet […]


อาการของโรค

เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด (Anterior Cruciate Ligament Tear)

หากคุณพบว่าตนเองมีอาการบาดเจ็บบริเวณหัวเข่า ส่งผลให้เคลื่อนไหวได้ยากลำบากกว่าเดิม ก็สามารถเป็นไปได้ว่าคุณอาจกำลังประสบกับสัญญาณแรกเริ่มของอาการ เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด (Anterior Cruciate Ligament Tear ; ACL) และอาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย รวมถึงเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ คำจำกัดความเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด (Anterior Cruciate Ligament Tear) คืออะไร เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด (Anterior Cruciate Ligament Tear ; ACL) คือ ความเสียหายของเส้นเอ็นบริเวณหน้าหัวเข่าที่ทำการไขว้กับเอ็นไขว้หลังเป็นรูปตัว X เกิดการฉีกขาด ซึ่งเส้นเอ็นไขว้หน้านี้มักมีหน้าที่หลักในการช่วยให้คุณควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อต่อได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การเดิน การวิ่ง การกระโดด และการหมุนขา เป็นต้น ดังนั้น เมื่อคุณมีการเคลื่อนไหวแบบผิดรูปแบบเมื่อใด ก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะประสบกับภาวะเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาดได้ในทันที เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด สามารถพบบ่อยได้เพียงใด เส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด อาจพบได้บ่อยกับทุกเพศทุกวัย ที่มีการเคลื่อนไหวด้วยความเร็วและเปลี่ยนทิศทางกะทันหัน โดยเฉพาะกับนักกีฬาที่ใช้มีการใช้ความคล่องตัวสูง เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล วอลเลย์บอล เทนนิส เป็นต้น อาการอาการเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด อาการแรกเริ่มผู้ป่วยอาจมีการได้ยิ่งเสียงดังออกมาจากภายในบริเวณเอ็นไขว้หน้าหัวเข่า เนื่องจากเป็นเสียงที่เกิดจากความเสียหายเมื่อคุณมีการเคลื่อนไหวผิดจังหวะ จากนั้นอาจมีอาการบวม และเจ็บปวดอย่างรุนแรงในเวลาถัดมา ซึ่งสามารถทำให้คุณมีการเคลื่อนไหวได้อย่างลำบากมากขึ้น จนถึงขั้นเคลื่อนไหวตามปกติไม่ได้เช่นเดิม โดยเฉพาะการขึ้น-ลงบันได หรือตามพื้นผิวขรุขระ สาเหตุสาเหตุ เส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด การบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาดมักเกิดขึ้นระหว่างที่คุณกำลังดำเนินกิจกรรมทางด้านกีฬา และการออกกำลังกายที่อาจทำให้เกิดความเครียดที่หัวเข่าเสียมากกว่า […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม