backup og meta

สัญญาณและอาการของโรคอารมณ์สองขั้วหรือ โรคไบโพลาร์ในเด็ก

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 18/03/2021

    สัญญาณและอาการของโรคอารมณ์สองขั้วหรือ โรคไบโพลาร์ในเด็ก

    หากเอ่ยถึงโรคอารมณ์สองขั้ว หรือไบโพลาร์ (Bipolar disorder) ผู้อ่านหลายคนมักจะคิดว่าโรคนี้จะต้องเป็นในผู้ใหญ่ วัยรุ่น หรือเด็กที่โตแล้วเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้วโรคไบโพลาร์สามารถพบได้กับเด็กทุกๆ ช่วงวัย โรคไบโพลาร์ในเด็กสามารถทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนในระดับที่รุนแรง สมาธิสั้น เรื่อยไปจนถึงระดับที่ต่ำสุดของภาวะซึมเศร้า Hello คุณหมอ จึงได้นำข้อมูลที่น่ารู้เกี่ยวกับสัญญาณต่างๆ เกี่ยวกับอาการ โรคไบโพลาร์ในเด็ก มาฝากทุกท่าน

    สังเกตลักษณะอาการและสัญญานของ โรคไบโพลาร์ในเด็ก

    เด็กทุกคนมีช่วงเวลาที่จะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว หยาบคาย  ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่จะแสดงความรู้สึกหงุดหงิด โกรธ โมโห หรือไม่พอใจ แต่ในบางครั้งอาจจะแสดงออกมากกว่าปกติ หรือทำตัวเป็นกบฏมากขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตามหากอาการของลูกมีความรุนแรงต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมาภายหลังจนยากจะแก้ไขได้

    โดยพ่อแม่สามารถสังเกตอาการ หรือพฤติกรรมที่แปลกไปของลูกได้ ว่ามีความใกล้เคียง คล้าย หรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคไบโพลาร์หรือไม่ ดังนี้

    • อารมณ์แปรปรวนรุนแรง ผิดไปจากอารมณ์แปรปรวนตามปกติที่เคยเป็น
    • มีพฤติกรรมที่แสดงออกไปในเชิงก้าวร้าวหรือไม่เหมาะสม
    • มีลักษณะของการสูญเสียตัวตน เช่นมีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้ง หรือมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน ดื่มสุราหรือเสพยาเสพติด หรือการใช้จ่ายเงินอย่างบ้าคลั่ง ซึ่งในข้อนี้จะพบในเด็กที่โตแล้ว หรือเด็กวัยรุ่น
    • มีอาการนอนไม่หลับหรือความต้องการการนอนลดลง โดยถึงแม้ว่าจะนอนน้อยแต่ก็ไม่รู้สึกเพลีย
    • มีอารมณ์หดหู่ หรือหงุดหงิดง่ายเกือบทั้งวันและแทบทุกวัน โดยเฉพาะในช่วงที่มีอาการซึมเศร้า
    • มีความขี้อวด มองการณ์ไกล เริ่มทะนงความสามารถของตัวเอง
    • มีความคิดหรือพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น

    สาเหตุของอาการไบโพลาร์ในเด็ก

    อาการไบโพลาร์ในเด็กๆนั้นค่อนข้างมีความคลุมเครือ เพราะเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดมาจากที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือปัญหาชีวิตอื่นๆ เช่น

    พันธุกรรม อาจมาจากการที่สมาชิกในครอบครัวมีประวัติของโรคไบโพลาร์ ซึ่งในข้อนี้น่าจะเป็นความเสี่ยงเดียวที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

    สาเหตุทางระบบประสาท เกิดจากความแตกต่างในโครงสร้างทางสมอง หรือการทำงาน ซึ่งจะทำให้เด็กมีความเสี่ยงต่อโรคไบโพลาร์

    สภาพแวดล้อม เด็กๆหลายคนอาจอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคไบโพลาร์ โดยอาจจะมาจากสภาพแวดล้อมในครอบครัวที่มีความกดดัน จนทำให้เกิดความเครียดกับเด็ก

    เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด การมีเหตุการณ์ในวัยเด็กที่ไม่คาดคิดหลายครั้ง ก็ถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของโรคไบโพลาร์ด้วยเหมือนกันกัน เช่นการหย่าร้างในครอบครัว การล่วงละเมิดทางเพศ หรือการถูกกักบริเวณโดยผู้ปกครอง

    เด็กกับไบโพลาร์เป็นเรื่องที่ควรจะต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด คอยสังเกตอาการและสัญญาณต่างๆอย่างสม่ำเสมอเพื่อที่จะได้รับมือและแก้ไขได้ทันเวลา ถ้าหากปล่อยไว้และส่งผลไปจนถึงตอนโตอาจจะทำให้รักษาได้ยากขึ้น หรือนำไปสู่ความอันตรายอื่นๆ ที่ยากจะรับมือ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 18/03/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา