backup og meta

วัยรุ่นกับโรคซึมเศร้า ความเสี่ยงที่เกิดได้ง่ายกว่าที่คุณคิด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    วัยรุ่นกับโรคซึมเศร้า ความเสี่ยงที่เกิดได้ง่ายกว่าที่คุณคิด

    วัยรุ่นกับโรคซึมเศร้า อาจเป็นปัญหาที่หลายคนอาจนึกไม่ถึง แต่เมื่อเข้าสู่วัยแตกเนื้อหนุ่มสาว วัยรุ่นต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ และภาวะซึมเศร้าจึงเป็นปัญหารุนแรง ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดคิดในช่วงนี้ เพื่อเป็นการรับมือกับภาวะสุขภาพดังกล่าวนี้ การช่วยเหลือของพ่อแม่เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

    วัยรุ่นกับโรคซึมเศร้า มีความเสี่ยงจากอะไรบ้าง

    การใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ (เช่น สมาร์ทโฟน) อาจส่งผลต่อโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น

    การใช้เวลาหน้าจอ สามารถมีผลต่อคุณภาพการนอน และยังดึงเอาเวลาไปจากกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตจริงอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น โซเชียลเน็ตเวิร์คและการใช้งานอินเตอร์เน็ต ยังทำให้ลูกของคุณอาจโดนกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ได้มากขึ้น

    นอกจากนี้ การสัมผัสกับตัวละครในเชิงอุดมคติจากในละครหรือภาพยนตร์มากเกินไป อาจทำให้พวกเขารู้สึกผิดหวังกับโลกแห่งความเป็นจริง เนื้อหาออนไลน์ที่รุนแรงหรือเป็นในทางลบ ก็ถือเป็นความเสี่ยงด้วยเช่นกัน เพราะมันอาจเป็นได้ทั้งต้นแบบที่ไม่ดีสำหรับลูกของคุณ หรืออาจนำมาซึ่งความหวาดกลัวต่อสภาพสังคมที่เลวร้าย ให้เกิดขึ้นภายในจิตใจของพวกเขาก็ได้ ปัจจัยเหล่านั้นทั้งหมด สามารถก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นได้

    เรื่องความสัมพันธ์ สำคัญกับวัยรุ่น

    มิตรภาพหรือความช่วยเหลือทางสังคมอื่นๆ เป็นส่วนสำคัญในการป้องกัน และจัดการกับภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น ปล่อยให้ลูกของคุณได้ใช้เวลากับเพื่อนที่ดี เข้าร่วมชมรมต่างๆ เข้าร่วมทีมแข่งขันกีฬา หรือให้บริการชุมชน กิจกรรมเหล่านี้สามารถเสริมสร้างความมั่นใจ และฝึกฝนทักษะด้านอารมณ์ของพวกเขาได้ ส่วนในเรื่องความรักนั้น ให้คุณให้คำแนะนำ และชี้แนะแนวทางแก่พวกเขา เนื่องจากความเครียดจากปัญหาในเรื่องความรัก สามารถเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นได้

    พ่อแม่จะมีส่วนช่วยป้องกันได้อย่างไร

    สร้างรูปแบบการนอนที่ดีต่อสุขภาพ

    หลังจากเรียนมาตลอดทั้งวัน การนอนหลับที่เพียงพอและเหมาะสมในตอนกลางคืน ช่วยคนเราในการฟื้นฟูทั้งทางร่างกายและจิตใจ การอดนอนเพิ่มความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้า การศึกษาเผยให้เห็นว่า วัยรุ่นที่ถูกบังคับให้เข้านอนเร็ว มีโอกาสที่จะเกิดปัญหาภาวะซึมเศร้าได้น้อยกว่า

    ชักจูงวัยรุ่นให้ออกกำลังกาย

    มีการศึกษาว่ากิจกรรมการออกกำลังกาย ให้ผลในการลดความวิตกกังวล และความซึมเศร้าได้ การออกกำลังกายหนึ่งชั่วโมงต่อวัน เป็นสิ่งที่แนะนำเป็นอย่างยิ่ง กิจกรรมทุกประเภท นับตั้งแต่เกิจกรรมแบบเบา เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆ การกระโดดเชือก ไปจนถึงกิจกรรมหนัก เช่น การปีนเขาหรือการยกน้ำหนัก ล้วนได้ผลทั้งสิ้น

    ความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งระหว่างพ่อแม่และลูก

    ความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับพ่อแม่ สามารถช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นได้ ดังนั้น สิ่งที่พ่อแม่สามารถทำได้ก็คือ

    •    มีการสื่อสารกับลูกในทุกๆ วัน
    •    แชร์ความรู้สึก และแม้กระทั่งความลับกับลูก
    •    ให้กำลังใจและคำชมเชยแก่ลูก
    •    ให้ความคิดเห็นต่อพฤติกรรมที่ไม่ดีของลูกในเชิงสร้างสรรค์

    เข้ารับการรักษาอย่างทันเวลาและเหมาะสม

    หากลูกของคุณแสดงอาการซึมเศร้าใดๆ แม้กระทั่งอาการที่เล็กน้อยที่สุด ให้ติดต่อแพทย์ทันที หลังจากเข้ารับการรักษาทางการแพทย์แล้ว หากอาการดูเหมือนจะทุเลาลง ควรให้เข้ารับการรักษาต่อด้วยการบำบัด การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม เป็นการบำบัดในขั้นพื้นฐานของครอบครัว ที่ให้ผลดีที่สุดสำหรับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าที่มีความเชื่อมโยงกับประวัติครอบครัว

    ในระหว่างการบำบัดนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชจะให้ข้อมูลแก่คุณดังต่อไปนี้

    • ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าโดยละเอียด
    • ทำความรู้จักกับผลกระทบของความเครียด และภาวะซึมเศร้าต่อชีวิตในด้านต่างๆ
    • การกำจัดความเครียดในวิธีที่ได้ผลที่สุด
    • การสื่อสาร หรือแชร์ความรู้สึกกับผู้อื่น

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา