backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

กล่องเสียงอักเสบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 30/10/2021

กล่องเสียงอักเสบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

กล่องเสียงอักเสบ หมายถึงการอักเสบของกล่องเสียงและเส้นเสียงในลำคอ สามารถแบ่งออกได้เป็นอาการกล่องเสียงเฉียบพลัน ซึ่งเกิดแค่ชั่วคราว และอาการกล่องเสียงเรื้อรัง อาจเกิดขึ้นจากการใช้เสียงมากเกินไป การติดเชื้อ สารระคายเคือง หรืออาจเป็นอาการจากโรคอื่น เช่น ไซนัสอักเสบ การรักาษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดกล่องเสียงอักเสบ

คำจำกัดความ

กล่องเสียงอักเสบ คืออะไร

กล่องเสียงอักเสบ หมายถึงอาการอักเสบของกล่องเสียง ที่อาจเกิดขึ้นจากการระคายเคือง การติดเชื้อ หรือการใช้เสียงมากเกินไป ทำให้มีอาการอักเสบ อาการบวม และอาจทำให้เสียงแหบแห้ง

ภายในกล่องเสียงจะประกอบด้วยเส้นเสียง เยื่อเมือก 2 ชั้นที่ทำหน้าที่ปกคลุมกล้ามเนื้อ และกระดูกอ่อน โดยปกติแล้ว เส้นเสียงจะเปิดและปิดอย่างราบรื่น ทำให้สามารถสร้างเสียงจากการเคลื่อนไหวและการสั่นสะเทือนของเส้นเสียงที่อยู่ในกล่องเสียงได้ แต่อาการอักเสบของกล่องเสียงจะทำให้อากาศไหลผ่านยากขึ้น จนทำให้เสียงที่เปร่งออกมาผิดเพี้ยนได้

โรคกล่องเสียงอักเสบมีทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง โดยปกติอาการกล่องเสียงอักเสบที่พบได้บ่อยจะเป็นเพียงแค่อาการชั่วคราว ไม่ร้ายแรงเท่าไหร่นัก แต่หากมีอาการกล่องเสียงอักเสบเกิดขึ้นบ่อยครั้ง หรือไม่หายไป ก็อาจเป็นสัญญาณที่ร้ายแรงได้เช่นกัน

อาการ

อาการของกล่องเสียงอักเสบ

ในกรณีส่วนใหญ่อาการของกล่องเสียงอักเสบ อาจมีดังนี้

สาเหตุ

สาเหตุของกล่องเสียงอักเสบ

โรคกล่องเสียงอักเสบนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อไวรัส เช่น หวัด และไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคกล่องเสียงอักเสบเรื้อรัง นอกจากนั้นการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราก็สามารถทำให้เกิดโรคกล่องเสียงอักเสบเฉียบพลันได้เช่นกัน ส่วนสาเหตุของโรคกล่องเสียงอักเสบเรื้อรังอาจรวมถึงสาเหตุต่างๆ เหล่านี้

  • กรดไหลย้อน
  • ไซนัสอักเสบเรื้อรัง
  • วัณโรค
  • การใช้เสียงมากเกินไป เช่น นักร้อง หรือนักแสดง
  • การติดเชื้อ
  • การสูบบุหรี่
  • การใช้ยาสูดพ่นที่มีสเตียรอยด์
  • การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • การสัมผัสกับสารเคมีและฝุ่น ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคือง

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของกล่องเสียงอักเสบ

ปัจจัยดังต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกล่องเสียงอักเสบ

  • การติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัด โรคหลอดลมอักเสบ
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การใช้เสียงมากเกินไป

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยกล่องเสียงอักเสบ

แพทย์สามารถวินิจฉัยกล่องเสียงอักเสบได้ด้วยการตรวจดูอาการ โดยปกติแล้วอาการเสียงแสบมักจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเป็นโรคกล่องเสียงอักเสบ นอกจากนี้ แพทย์ก็อาจทำการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม ดังนี้

  • การส่องกล้องตรวจกล่องเสียง โดยใช้กล้องขนาดเล็กสอดเข้าไปในคอ เพื่อดูลักษณะการเคลื่อนไหวของเส้นเสียง และดูว่ามีอาการอักเสบหรือไม่
  • การตรวจชิ้นเนื้อ แพทย์อาจนำตัวอย่างชิ้นเนื้อบริเวณที่คาดว่ามีอาการไปตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุของการอักเสบของกล่องเสียง

การรักษากล่องเสียงอักเสบ

การจัดการกับกล่องเสียงอักเสบ มักจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอักเสบ ดังนี้

  • หยุดพักการใช้เสียง ควรหยุดใช้เสียงจนกว่าการอักเสบจะดีขึ้น นอกจากนี้ เมื่อหายแล้วก็ควรจะระวังเรื่องของการใช้เสียง เพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นโรคกล่องเสียงอักเสบอีก
  • ใช้เครื่องทำความชื้น แพทย์อาจจะแนะนำให้ใช้เครื่องทำความชื้น เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับสภาพแวดล้อม และช่วยให้คอรู้สึกชุ่มชื้นขึ้น
  • ดื่มน้ำ การดื่มน้ำมากๆ อาจช่วยให้คอคงความชุ่มชื้นได้
  • ยา หากกล่องเสียงอักเสบเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แพทย์อาจให้ใช้ยาต้านไวรัส แต่หากเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือโรคภูมิแพ้ ก็อาจให้ใช้ยาต้านฮิสตามิน เพื่อช่วยลดอาการอักเสบและอาการระคายเคือง
  • ศัลยกรรม ในกรณีเส้นเสียงหลวมหรือเป็นอัมพาต ก็อาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัดเพื่อรักษาความผิดปกติของเส้นเสียง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อจัดการกับกล่องเสียงอักเสบ

  • หลีกเลี่ยงการพูดคุย ร้องเพลง หรือใช้เสียงโดยไม่จำเป็น
  • ดื่มน้ำมากๆ
  • ลดปริมาณการดื่มคาเฟอีนหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • เลิกสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการทำให้คอเกิดการระคายเคือง เช่น ควัน ฝุ่น และสารเคมี
  • ล้างคอด้วยน้ำเกลือ หรือน้ำยาบ้วนปาก ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 30/10/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา