backup og meta

ชุดทดสอบไข้เลือดออกแบบทราบผลอย่างรวดเร็ว เปลี่ยนแปลงการวินิจฉัยโรคแบบเดิมอย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 23/12/2022

    ชุดทดสอบไข้เลือดออกแบบทราบผลอย่างรวดเร็ว เปลี่ยนแปลงการวินิจฉัยโรคแบบเดิมอย่างไร

    แม้ว่าโควิด 19 จะเป็นความท้าทายด้านสุขภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2020 แต่สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกก็ยังคงน่าเป็นห่วง1 ถึงแม้วิธีการรับมือกับโรคไข้เลือดออกนั้นไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่วิธีการตรวจหาเชื้อนั้นได้รับการพัฒนาไปจนทำให้เกิด ชุดทดสอบไข้เลือดออกแบบทราบผลอย่างรวดเร็ว ชุดตรวจชนิดนี้เป็นประโยชน์อย่างมาก และสามารถช่วยวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น

    ภาพรวมของโรคไข้เลือดออก

    โรคไข้เลือดออก คือ การติดเชื้อไวรัสที่พบได้ทั่วไปในประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนชื้น มียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรค ไวรัสจะเข้าสู่ยุงก็ต่อเมื่อยุงกัดผู้ที่ติดเชื้ออยู่ก่อนแล้ว หากยุงที่ได้รับเชื้อนี้ไปกัดบุคคลใด บุคคลนั้นก็จะได้รับเชื้อไข้เลือดออกไปด้วย หลังจากโดนยุงที่มีเชื้อกัด เชื้อจะใช้เวลาฟักตัว 4-10 วัน หลังจากนั้นจึงจะแสดงอาการของโรค

    ผู้ติดเชื้อบางคนอาจไม่แสดงอาการเลย ในขณะที่บางคนอาจมีอาการคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่หรือโรคโควิด 19 โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แบ่งโรคไข้เลือดออกตามระดับความรุนแรงของโรคออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ โรคไข้เลือดออกธรรมดา (ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง) และโรคไข้เลือดออกรุนแรง (แสดงอาการรุนแรง)2,3

    โรคไข้เลือดออกยังไม่มียารักษาเฉพาะ แต่องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า การพักผ่อนและดื่มน้ำให้เพียงพอเป็นวิธีการดูแลรักษาผู้ที่ติดเชื้อไข้เลือดออกที่ดีที่สุด4

    การทดสอบเพื่อหาเชื้อไข้เลือดออกแบบทั่วไป

    ข้อมูลขององค์การอนามัยโลกเผยว่า การทดสอบเพื่อหาเชื้อไข้เลือดออกโดยทั่วไปนั้นมีอยู่หลายวิธี4

    • การแยกไวรัสออกจากเลือด

    หลังจากได้รับเชื้อในช่วงแรก เลือดของผู้ติดเชื้อจะถูกนำมาทดสอบโดยการแยกไวรัสออกจากเลือด การทดสอบนี้ทำได้โดยใช้วิธีการหลายรูปแบบเรียกว่า การทดสอบปฏิกิริยาลูกโซ่ โพลีเมอเรสแบบย้อนกลับ (RT–PCR) ถือเป็นวิธีทดสอบที่ได้มาตรฐานและได้รับการยอมรับมากที่สุด และต้องดำเนินการทดสอบโดยเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมเท่านั้น ทั้งยังต้องใช้อุปกรณ์และห้องปฏิบัติการเฉพาะทางอีกด้วย

    • การตรวจหาแอนติบอดีที่ต่อต้านเชื้อไข้เลือดออก

    วิธีการตรวจสอบบางวิธีสามารถตรวจหาแอนติบอดีต้านเชื้อไข้เลือดออกในเลือดที่รู้จักกันในชื่อ IgM และ IgG ได้ โดยแอนติบอดี IgM สามารถตรวจพบได้ 1 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อ และจะอยู่ในร่างกายต่อไปอีกประมาณ 3 เดือน ในขณะที่แอนติบอดี IgG ใช้เวลาในการพัฒนาตัวเองนานกว่า และสามารถอยู่ในร่างกายต่อไปได้อีกหลายปี

    หลังจากได้รับการตรวจหาเชื้อแล้วจะต้องใช้เวลา 2-3 วัน จึงจะทราบผลการตรวจ

    การตรวจด้วย ชุดทดสอบไข้เลือดออกแบบทราบผลอย่างรวดเร็ว

    ชุดทดสอบไข้เลือดออกแบบทราบผลอย่างรวดเร็วหลายชนิดจะใช้วิธีการตรวจหาโปรตีนในเลือดที่สร้างขึ้นโดยไวรัสไข้เลือดออก4 แต่ชุดตรวจไข้เลือดออกแบบทราบผลอย่างรวดเร็วที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้าไม่เพียงตรวจหาโปรตีนในเลือดเหล่านี้ แต่ยังสามารถตรวจหาแอนติบอดี IgM และ IgG ในเลือดของมนุษย์ได้อีกด้วย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของชุดทดสอบไข้เลือดออกแบบทราบผลอย่างรวดเร็วเหล่านี้ส่งผลให้ผลของการตรวจหาเชื้อด้วยชุดตรวจดังกล่าวมีความแม่นยำสูง5

    สิ่งที่มีประโยชน์มากที่สุดของชุดทดสอบไข้เลือดออกแบบทราบผลอย่างรวดเร็ว คือ สามารถทราบผลได้ทันที ใช้เวลาเพียง 15-20 นาที ก็สามารถทราบผลการตรวจหาเชื้อได้ ช่วยลดเวลาในการอยู่ที่โรงพยาบาลหรือคลินิก

    การตรวจหาเชื้อไข้เลือดออกด้วยวิธีอื่น ๆ จะทำการตรวจหาเชื้อโดยใช้การเก็บตัวอย่างจากลำคอหรือโพรงจมูก ในขณะที่ชุดทดสอบไข้เลือดออกแบบทราบผลอย่างรวดเร็วจะใช้การเจาะเลือดเพื่อตรวจหาเชื้อ ดังนั้นการใช้ชุดทดสอบไข้เลือดออกแบบทราบผลอย่างรวดเร็วจึงต้องดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์เท่านั้น ไม่สามารถใช้ตรวจด้วยตัวเองที่บ้านได้

    หากมีอาการป่วยในช่วงที่ไข้เลือดออกระบาด การตรวจหาเชื้อนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

    การตรวจหาเชื้อไข้เลือดออกนั้นมีความจำเป็นอย่างมากหากคุณหรือคนที่คุณรักมีอาการของโรคไข้เลือดออก การวินิจฉัยโรคที่แม่นยำและรวดเร็วโดยใช้ชุดทดสอบไข้เลือดออกแบบทราบผลอย่างรวดเร็วจะส่งผลให้ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์สามารถรักษาโรคและจัดการกับการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที หากมีการติดเชื้อซ้ำก็จะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ การรับมืออย่างถูกต้องนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการป้องกันการพัฒนาของโรคไปสู่ภาวะไข้เลือดออกที่รุนแรง4

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 23/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา