โรคไข้เลือดออก หรือไข้เลือดออกเดงกี

จากข้อมูลของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานว่า เมื่อปีพ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา มีผู้ป่วย โรคไข้เลือดออก หรือไข้เลือดออกเดงกี สะสมมากกว่า 1 หมื่นราย และสามารถพบผู้ป่วยได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย จึงนับได้ว่าเป็นหนึ่งในโรคติดเชื้อที่ส่งผลกระทบต่อคนไทยเป็นอย่างมาก เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคไข้เลือดออก หรือไข้เลือดออกเดงกี ตั้งแต่สาเหตุ อาการ สัญญาณเตือน การรักษา และการป้องกัน เพื่อช่วยปกป้องตัวคุณและคนที่คุณรักให้ห่างไกลจากโรคไข้เลือดออก หรือไข้เลือดออกเดงกีนี้

เรื่องเด่นประจำหมวด

สำรวจ โรคไข้เลือดออก หรือไข้เลือดออกเดงกี

โรคไข้เลือดออก หรือไข้เลือดออกเดงกี

ไข้เดงกี (Dengue Fever)

คำจำกัดความไข้เดงกี คืออะไร ไข้เดงกี (Dengue fever) เป็นโรคติดต่อที่มาจากยุง และมีสาเหตุมาจากไวรัสเดงกีชนิดใดชนิดหนึ่งจากสี่ชนิด คือ DEN-1 DEN-2 DEN-3 และ DEN-4 โรคนี้เคยถูกเรียกว่า “ไข้กระดูกแตก” เพราะบางครั้งก่อให้เกิดอาการเจ็บกระดูกข้อต่อและกล้ามเนื้อ จนทำให้รู้สึกเหมือนกระดูกกำลังจะแตก จึงได้ชื่อเช่นนั้น ไข้เดงกีระดับเบา ก่อให้เกิดไข้สูง ผื่น และเจ็บตามกล้ามเนื้อ และกระดูกข้อต่อ ไข้เดงกีขั้นรุนแรง หรือที่เรียกว่าไข้เลือดออกเดงกี (dengue hemorrhagic fever) สามารถก่อให้เกิดเลือดออกขั้นรุนแรง ความดันโลหิตลดลงฉับพลัน และเสียชีวิต ไข้เดงกีพบบ่อยแค่ไหน ในแต่ละปี มีประชากรที่ติดเชื้อเดงกีหลายล้านคนทั่วโลก โรคนี้สามารถส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในทุกช่วงอายุ ไข้เดงกีพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝนและหลังผ่านฤดูฝนมาไม่นาน ในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ได้แก่ แอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แคริบเบียน อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ออสเตรเลีย แปซิฟิกกลาง และแปซิฟิกใต้ อย่างไรก็ดี ไข้เดงกีสามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของไข้เดงกี ไข้เดงกีมี 3 ประเภท ได้แก่ ไข้เดงกี ไข้เลือดออกเดงกี และไข้เลือดออกเดงกีที่มีภาวะช็อกร่วมด้วย ไข้เดงกี (Dengue fever หรือ DF)  อาการของไข้เดงกี มักเริ่มจากอาการไข้ใน 4 ถึง 7 […]


โรคไข้เลือดออก หรือไข้เลือดออกเดงกี

ไข้เลือดออก รอบสอง เป็นแล้วก็เป็นได้อีก แถมยังรุนแรงขึ้นด้วย!

รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้ว คุณสามารถติดเชื้อไข้เลือดออกได้ ไม่ใช่แค่ครั้งเดียว หรือสองครั้ง แต่อาจหลายครั้ง และเมื่อคุณป่วยเป็น ไข้เลือดออก รอบสอง หรือรอบต่อ ๆ มา ก็มักมีอาการหนักและรุนแรงกว่าครั้งก่อนหน้าเสมอ มาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้จากบทความนี้ของ Hello คุณหมอ กันเลย ใช่แล้ว ไข้เลือดออกโจมตีเราได้ครั้งแล้วครั้งเล่า จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) โรคไข้เลือดออกมีการแพร่ระบาดในกว่าหนึ่งร้อยประเทศทั่วโลก และประมาณการว่ามีผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคนี้ถึงสามพันล้านคน หรือราวครึ่งหนึ่งของประชากรโลกเลยทีเดียว สำหรับสถิติในประเทศไทยนั้น มีผู้ป่วยไข้เลือดออก เป็นอันดับที่ 2 รองจากประเทศฟิลิปปินส์ โดยกลุ่มอายุที่เป็นไข้เลือดออกมากที่สุด คืออายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ 5-9 ปี 15-24 ปี และ 25-34 ปีตามลำดับ เรียกได้ว่า โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง ถ้าหากมีผู้ป่วย 1,000 ราย จะเสียชีวิต 1 ราย โดยสองสาเหตุหลักของการเสียชีวิตก็คือ ภาวะเลือดออกมาก และเลือดรั่วจากเส้นเลือดจนเกิดภาวะช็อคและเสียชีวิต ไวรัสเด็งกี่ (Dengue) ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออก […]


โรคไข้เลือดออก หรือไข้เลือดออกเดงกี

เคล็ดลับเลือกสารกันยุง ปกป้องตัวเองจาก ไข้เลือดออก

ยุงไม่เพียงแต่นำความรำคาญมาให้ แต่ยังนำโรคร้ายมาให้ด้วย โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกระบาดที่พบกันมากในช่วงหน้าฝนแบบนี้ และขั้นตอนสำคัญอย่างแรกของ ป้องกันไข้เลือดออก ก็คือการปกป้องตัวเองจากการโดนยุงกัด การใช้ยากันยุงสามารถช่วยคุณได้จริง ถ้ารู้จัก เลือกสารกันยุง ให้เหมาะสม ไข้เลือดออก มาตามนัดทุกหน้าฝน ไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นของไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเชียงใต้ ซึ่งมักจะเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดเป็นประจำในช่วงหน้าฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤษภาคม สำหรับในปี 2561 นี้ ไข้เลือดออกก็ “มาตามนัด” อีกเช่นกัน โดยจากข้อมูลของ กรมควบคุมโรค ณ วันที่ 30พฤษภาคม 2561 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกทั่วประเทศแล้ว 13,164 คน และผู้เสียชีวิตมีทั้งหมด 19 คน การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกพบว่าระบาดมากที่สุดในภาคกลาง มีผู้ติดเชื้อกว่า 6,000 คน รองลงมาคือ ภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมักพบในกลุ่มอายุ 10-14 ปี รองลงมาได้แก่ กลุ่มอายุ 5-9 ปี ในการปกป้องตัวเองจากไข้เลือดออก ด่านสำคัญด่านแรกก็คือการป้องกันยุงนั่นเอง โดยเฉพาะยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกนั้น ยุงลายหนึ่งตัวสามารถออกลูกได้ถึง 500 ตัว เพราะฉะนั้นการกำจัดการขยายพันธุ์ของยุงลายจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันการระบาดของไข้เลือดออก และในขณะเดียวกันก็ต้องหาวิธีในการป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกยุงกัดด้วย ทำไมยุงถึงกัดเราได้นะ คุณเคยรู้สึกหรือเปล่าว่า บางทีก็ดูเหมือนว่ายุงจะพุ่งเป้าจู่โจมเฉพาะที่คนบางคนมากกว่าอีกคน สำหรับคนที่ดูเหมือนจะถูกยุงกัดมากกว่าคนอื่น อาจจะรีบตอบว่าจริง […]


โรคไข้เลือดออก หรือไข้เลือดออกเดงกี

5 คำถามคาใจที่ใครๆ ควรรู้เกี่ยวกับ ไข้เลือดออก

ไข้เด็งกี่ (Dengue) หรือ ไข้เลือดออก (Dengue Herrmohagic fever) เป็นเชื้อโรคอันตรายที่อาจเกิดได้เมื่อคนเราถูกยุงกัด เนื่องจากทุกคนสามารถเป็นไข้เลือดออกได้ การรู้จักเกี่ยวกับโรคนี้มากขึ้นจึงอาจช่วยปกป้องตัวเองได้ดีขึ้น ไข้เลือดออก คืออะไร ไข้เด็งกี่ หรือไข้เลือดออก เป็นโรคร้ายที่มีแมลง (ยุงลาย) เป็นพาหะนำพาเอาเชื้อไวรัสเด็งกี่มาสู่ร่างกายคนเรา โดยยุงไวรัสเด็งกี่มีด้วยกัน 4 ชนิด คือ DEN-1, DEN-2, DEN-3 และ DEN-4 และไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่มีปัญหาเรื่องไข้เลือดออกหรือไข้เด็งกี่ แต่โรคนี้พบได้ทั่วไปในเขตเส้นศูนย์สูตรและเขตร้อนชื้น อย่างเช่นประเทศในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตก แอฟริกา และแคริบเบียน อาการของไข้เลือดออกเป็นอย่างไร คนไข้ส่วนใหญ่ที่เป็นไข้เลือดออกแบบไม่รุนแรงจะไม่มีอาการใดๆ อย่างไรก็ตาม ถ้าอาการปรากฏขึ้น ปกติมักจะเป็นในช่วง 4-10 วันหลังจาที่มีการติดเชื้อแล้ว อาการของไข้เลือดออกจะมีเป็นดังนี้คือ มีไข้สูง (40ºC) ปวดหัวรุนแรง ปวดตามข้อ ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก มีผื่นแดงขึ้นกระจายตามลำตัว คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง มีเลือดออก (อย่างเช่นในจมูก เหงือก เกิดรอยช้ำตามลำตัว) เด็กเล็กและคนที่เป็นไข้เด็งกี่ครั้งแรกมักจะมีอาการของโรคไม่รุนแรงมากนัก แต่ถ้าติดเชื้อครั้งที่สอง โดยที่เชื้อต่างสายพันธ์ุกับครั้งแรก อาการมักรุนแรงถึงขั้นเลือดออกหรือเสียชีวิต หรือเมื่อกลายเป็นไข้เลือดออกชนิดรุนแรง (Dengue Herrmohagic fever) ในภาวะที่วิฤกตที่สุดจะกินเวลา 3-7 วัน หลังจากที่สังเกตเห็นสัญญาณแรกของโรค ต่อมน้ำเหลืองและหลอดเลือดอาจเสียหายได้ ทำให้เกิดอาการรุนแรงอันได้แก่ มีเลือดออกจากจมูกและเหงือก อาเจียนออกมาเป็นเลือด อ่อนล้าหมดแรง หายใจหอบถี่ มีอาหารปวดท้องรุนแรง เลือดออกภายใต้ผิว ซึ่งทำให้ดูเหมือนเกิดรอยฟกช้ำ ตับโต มีปัญหากับระบบไหลเวียนโลหิต อาการเหล่านี้อาจรุนแรงขึ้นจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ถ้าสงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออกจะทำอย่างไร ถ้าคุณสงสัยว่าคุณอาจเป็นไข้เด็งกี่ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม