โรคติดเชื้อ

ร่างกายของเราเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เรามองไม่เห็น แม้ว่าโดยปกติสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจไม่เป็นอันตราย แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่โรคติดเชื้อที่คุกคามสุขภาพของคุณและคนรอบข้างได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อ ประเภทต่าง ๆ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดเชื้อ

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็มีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตัวเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบแอนติเจน หรือ ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) และการตรวจโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้ชุดตรวจแบบแอนติเจนหรือ ATK ทำให้การตรวจหาเชื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการตรวจแบบนี้ยังมีความสำคัญต่อการอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจแบบแอนติเจนจะกลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานออกมาวางจำหน่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR นั้นก็ยังเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อดีของชุดตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแบบ PCR จึงสามารถช่วยให้เลือกใช้การตรวจที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตัวเองได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] ชุดตรวจ ATK หรือ Rapid Antigen Test: ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง จากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการใช้ชุดตรวจ ATK […]

หมวดหมู่ โรคติดเชื้อ เพิ่มเติม

สำรวจ โรคติดเชื้อ

โรคไข้เลือดออก หรือไข้เลือดออกเดงกี

ไข้เลือดออก อาการ เป็นอย่างไร และวิธีการรักษา

ไข้เลือดออกเป็นโรคที่พบได้บ่อย แต่มักจะชุกชุมในช่วงที่ฝนตกหรือเข้าสู่ฤดูฝน โดยมียุงลายเป็นพานะนำโรค ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กและเด็กเล็ก จึงควรระมัดระวังสุขภาพของลูกหลาน และดูแลสภาพแวดล้อมโดยรอบตัวบ้านให้ดี ไข้เลือดออก อาการ ที่พบบ่อยคือ ไข้สูงเฉียบพลัน ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ปวดหัว หน้าแดง เบื่ออาหาร อาเจียน รวมถึงมีจุดสีแดงเล็ก ๆ ขึ้นตามผิว เนื่องจากเส้นเลือดเปราะแตกนั่นเอง [embed-health-tool-bmr] สาเหตุของโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัส มี 4 ชนิด แต่หากมีการติดเชื้อชนิดใดแล้ว จะส่งผลให้ร่างกายของผู้ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อชนิดนั้นไปตลอด ส่วนภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเดงกี่อีก 3 ชนิด จะเกิดขึ้นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ 6-12 เดือน ทำให้ผู้ที่เคยเป็นโรคไข้เลือดออกครั้งหนึ่งแล้ว สามารถเป็นโรคไข้เลือดออกได้อีก เพียงแต่ติดเชื้อไวรัสเดงกี่ชนิดอื่นที่ต่างจากชนิดแรก เรียกว่า การติดเชื้อซ้ำ ไข้เลือดออก อาการ เป็นอย่างไร อาการของโรคไข้เลือดออก หลังจากโดนยุงกัดแล้วจะผ่านระยะฟักตัวประมาณ 5-8 วัน โดยผู้ป่วยจะมีอาการ ดังนี้ เกิดไข้สูงเฉียบพลัน อุณหภูมิร่างกายจะอยู่ที่ประมาณ 38.5 – 40 องศาเซลเซียส อาการไข้สูงจะเกิดขึ้นประมาณ 2-7 วัน ร่วมกับอาการอื่น […]


ไวรัสโคโรนา

ติดโควิด ทํายังไง ต้องไปโรงพยาบาลหรือไม่ กักตัวกี่วัน

สถานการณ์โควิดในประเทศไทย ยังพบผู้ป่วยโควิดอย่างต่อเนื่อง จึงต้องเฝ้าระวังตนเอง หากพบว่ามีอาการน่าสงสัย ติดโควิด ทํายังไง ต้องไปโรงพยาบาลหรือไม่ [embed-health-tool-bmi] อาการเสี่ยงติดโควิด ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถสังเกตอาการ ความผิดปกติของร่างกาย จากนั้นให้ตรวจ ATK โดยอาการติดโควิด ที่พบบ่อย ได้แก่ ไอ  เจ็บคอ  มีไข้  ปวดกล้ามเนื้อ  มีน้ำมูก  ปวดศีรษะ  หายใจลำบาก  จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส สำหรับโควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 อาจพบอาการเพิ่มเติม เช่น เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ลักษณะคล้ายตาแดง มีผื่นคัน และหากมีอาการเข้าข่ายว่าจะติดโควิด-19 สามารถขอรับชุดตรวจ ATK ที่ร้านขายยาใกล้บ้านที่เข้าร่วมโครงการผ่านแอปเป๋าตัง หรือใช้บัตรประชาชนไปรับ ติดโควิด ทํายังไง เมื่อตรวจ ATK แล้วพบว่า ขึ้น 2 ขีด ผลเป็นบวกว่าติดโควิด กลุ่มที่มีอาการไม่มาก ให้ปฏิบัติตัว ดังนี้ กักตัว โดยแยกตัวเองออกมาเป็นเวลา 5 วัน  หากกักตัวครบ 5 วันแล้ว ยังมีอาการไข้ หรืออาการโดยรวมยังไม่ดีขึ้น ให้กักตัวเพิ่มอีก 5 […]


โรคติดเชื้อ

โรคแมว ภัยจากสัตว์เลี้ยงสู่คน ที่ทาสแมวควรระวัง

โรคแมว หรือโรคที่ติดต่อจากสัตว์เลี้ยงมาสู่คนนั้นมีอยู่หลายโรคด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นโรคพิษสุนัขบ้า โรคเชื้อราแมว โรคแมวข่วน โรคบาดทะยัก เป็นต้น นอกจากนี้ การติดเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ จากแมวยังอาจทำให้เกิดโรคแบคทีเรียติดเนื้อ การติดเชื้อในกระแสเลือด ได้อีกด้วย ทาสแมวทั้งหลายไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรพาแมวไปตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนเป็นประจำ นอกจากจะช่วยให้แมวมีสุขภาพที่แข็งแรงแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อมายังเจ้าของอีกด้วย [embed-health-tool-bmr] โรคแมว ที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน โรคติดต่อจากสัตว์เลี้ยงที่แพร่เชื้อมาสู่คนที่พบได้บ่อยมีดังนี้ โรคพิษสุนัขบ้า โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำเป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยส่วนใหญ่จะติดต่อผ่านการกัดและการข่วน เมื่อสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว ที่มีเชื้อไวรัสเรบีส์ (Rabies virus) แพร่เชื้อไปยังมนุษย์ผ่านทางน้ำลาย ซึ่งจะมีระยะฟักตัวตั้งแต่ 4 วันไปจนถึง 4 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้ป่วยไม่มีอาการใด ๆ หากได้รับการรักษาหรือฉีดวัคซีนตั้งแต่ตอนนี้ ผู้ติดเชื้อจะไม่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงระยะแสดงอาการ การฉีดวัคซีนจะไม่สามารถป้องกันโรคได้อีกต่อไป เพราะเชื้อเดินทางผ่านเซลล์ประสาทไปยังสมองและไขสันหลัง ทั้งยังสร้างความเสียหายที่ทำให้รักษาไม่ได้แล้ว ทั้งนี้ อาจแบ่งระยะของอาการออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดเป็นเวลา 2-10 วัน เพราะระบบภูมิคุ้มกันจะพยายามต่อสู้กับเชื้อ นอกจากนี้ จะมีอาการที่แตกต่างกันไปในแต่ละราย เช่น […]


ไวรัสโคโรนา

สัญญาณเตือน อาการลองโควิด มีอะไรบ้าง รักษาอย่างไร

อาการลองโควิด แตกต่างไปในแต่ละราย โดยอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ เหนื่อยล้าอย่างมาก เหนื่อยง่าย รู้สึกหายใจไม่ออก สูญเสียการได้กลิ่นหรือรับรู้รสชาติ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นผื่น หากรู้สึกว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้ ควรดูแลตนเองในเบื้องต้นด้วยการนอนหลับให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อบำรุงร่างกาย และไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาตามอาการ หรือประเมินสภาพร่างกายเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม อาจช่วยให้อาการลองโควิดหายไปได้ในที่สุด [embed-health-tool-bmi] อาการลองโควิด คืออะไร อาการลองโควิด (Long-term effects of COVID-19 หรือ Long COVID) เป็นอาการที่เกิดขึ้นหลังจากหายจากการติดเชื้อโควิดแล้ว โดยร่างกายจะมีอาการผิดปกติหลังจากได้รับเชื้อนานกว่า 4-12 สัปดาห์ขึ้นไป โดยทั่วไป ผู้ป่วยโควิด-19 ไม่ว่าจะมีอาการเล็กน้อยหรือรุนแรง ก็ล้วนมีความเสี่ยงที่จะเป็นลองโควิดหรืออาการป่วยบางอย่างในระยะยาวได้ แม้ว่าจะตรวจไม่พบเชื้อในร่างกายแล้วก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงอาการลองโควิด ผู้ที่มีความเสี่ยงต่ออาการลองโควิด ได้แก่ ผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรงจากโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือต้องการการดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์อย่างใกล้ชิดในฐานะผู้ป่วยหนัก ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหรือเป็นโรคเรื้อรังอยู่แล้วก่อนที่จะได้รับเชื้อโควิด-19 เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ไม่ได้เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 มีอาการของกลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็กหรือภาวะมิสซี (MIS- C) และกลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในผู้ใหญ่ หรือภาวะมิสเอ (MIS-A) ในช่วงที่เป็นโควิดหรือหลังหายจากโควิด ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้ยาก เกิดจากระบบต่าง ๆ ในร่างกายเกิดการอักเสบ และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิตได้ อาการลองโควิดเป็นอย่างไร โควิด-19 […]


ไวรัสโคโรนา

อาการโควิด ล่าสุด เป็นอย่างไรบ้าง ฉบับอัปเดตปี 2566

แม้ว่าโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในระยะหลังจะมีการกลายพันธุ์ของเชื้ออย่างต่อเนื่อง ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรงมาก อาการโควิด ล่าสุด อาจมีตั้งแต่เป็นไข้ ไอ เจ็บและระคายคอ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หากสังเกตว่ามีอาการดังกล่าว โดยเฉพาะหลังจากมีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ควรตรวจหาเชื้อเบื้องต้นด้วยตนเองทันที หากไม่แน่ใจ ควรเข้ารับการตรวจจากสถานพยาบาล เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลตัวเองให้หายโดยเร็ว [embed-health-tool-heart-rate] อาการโควิด ล่าสุด เป็นอย่างไร ในขณะนี้ โควิดสายพันธุ์หลักของประเทศไทยเป็นสายพันธุ์ย่อยชนิดหนึ่งของเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) ที่เรียกว่าสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ซึ่งมีการแยกย่อยของสายพันธุ์ไปอีกหลายชนิด เช่น BA.2, BA.2.75, BA.4/BA.5, XBB ลักษณะเด่นของโอมิครอนคือ แพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็วและติดได้ง่ายมากขึ้น ทั้งยังหลบภูมิคุ้มกันของร่างกายและวัคซีนได้ อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงของโรคในช่วงหลังลดลงกว่าการระบาดในช่วงปีแรก ๆ โดยอาการที่พบได้บ่อย เช่น เป็นไข้ มีน้ำมูก คัดจมูก คอแห้ง เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรู้รสชาติอาหาร ผู้สูงอายุและผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคอ้วน […]


ไวรัสโคโรนา

โควิดสายพันธุ์ xbb 1.16 คืออะไร และอาการเป็นอย่างไร

เชื้อโควิดสายพันธุ์ XBB 1.16 เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้มีการเฝ้าระวัง เนื่องจากเป็นเชื้อที่ติดต่อได้ง่าย แพร่กระจายได้รวดเร็ว และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้ดี แม้จะไม่อาจกล่าวได้ว่า โควิดสายพันธุ์ XBB 1.16 เป็นสายพันธุ์ใหม่หรืออันตรายมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ แต่ก็ถือเป็นสายพันธุ์ที่หลายประเทศรวมถึงประเทศไทยมีการเฝ้าระวังและติดตามอย่างใกล้ชิดว่าจะกลายเป็นเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 สายพันธุ์หลักหรือไม่ โดยในขณะนี้มีผู้ติดเชื้อในประเทศไทยแล้ว 27 ราย และเสียชีวิต 1 ราย (เมษายน พ.ศ. 2566) [embed-health-tool-bmi] โควิดสายพันธุ์ XBB 1.16 คืออะไร เชื้อโควิดสายพันธุ์ XBB 1.16 หรือที่เรียกว่าสายพันธุ์อาร์คทูรัส (Arcturus) เป็นเชื้อโควิด-19 โอมิครอนลูกผสมที่พบครั้งแรกในประเทศอินเดียเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 โดยเชื้อสามารถหลบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ดีขึ้น จึงทำให้ติดเชื้อได้ง่าย ทั้งยังเจริญเติบโตและแพร่กระจายไปยังบุคคลอื่นได้อย่างรวดเร็วมากกว่าเดิม โควิดสายพันธุ์ XBB 1.16 กลายพันธุ์มาจากโควิดสายพันธุ์ XBB.1.15 ที่มีลักษณะการแพร่เชื้อคล้ายคลึงกัน แต่ต่างกันตรงที่โควิดสายพันธุ์ XBB 1.16 มีการกลายพันธุ์เพิ่มขึ้นอีก 1 ตำแหน่งบนโปรตีนหนาม ทำให้ต่อต้านภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติและภูมิคุ้มกันจากวัคซีนในร่างกายมนุษย์ได้มากขึ้น ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโควิดและผู้ที่เคยเป็นโควิดมาก่อนสามารถติดเชื้อได้ซ้ำอีก แต่ความรุนแรงของโรคอาจไม่ได้เพิ่มขึ้น อาการของ […]


โรคติดเชื้อ

ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป 'LAAB' เสริมภูมิประชากรกลุ่มเสี่ยง ป้องกันได้ 83%

แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) ในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะคลี่คลายลง หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศผ่อนคลายมาตรการควบคุมและป้องกันโรค เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ณ  วันที่ 22 มกราคม 2566 พบว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ป่วยสะสม 2,593 คน เฉลี่ยวันละ 90 คน โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจจำนวน 178 คน จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่ายังคงมีประชากรที่จำเป็นจะต้องได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น (ในกลุ่มที่ร่างกายสามารถรับวัคซีนได้) และภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือ LAAB  สำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ตอบสนองต่อวัคซีนได้น้อยกว่าคนทั่วไป หรือไม่ตอบสนองต่อวัคซีนเพื่อช่วยลดความรุนแรงของการเจ็บป่วยและเสียชีวิต โดยที่ผ่านมายังมีประชาชนบางกลุ่มที่ไม่สามารถรับวัคซีนได้ตามปกติหรือไม่ตอบสนองต่อวัคซีน อีกทั้งยังมีกลุ่มที่ได้รับวัคซีนแล้วแต่ร่างกายไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้เพียงพอต่อการป้องกันโรค อย่างไรก็ตาม ล่าสุดทางกรมการแพทย์[2] ได้รณรงค์ให้ประชาชนกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค (กลุ่ม 607) ให้เข้ารับบริการการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นและภูมิคุ้มกันสําเร็จรูป LAAB ในโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ 35 แห่งทั่วประเทศ LAAB ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป ลดอาการป่วยรุนแรง Long-acting […]


โรคติดเชื้อ

ไข้หวัดนก (H5N1) โรคระบาดอันตรายที่ต้องเฝ้าระวัง!

ปัจจุบันในต่างประเทศมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ A (H5N1) ซึ่งเป็นสายพันธุ์เดิมที่สามารถก่อให้เกิดโรครุนแรงในคนได้ และอาจมีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ดังนั้นคนไทยจึงควรกลับมาทำความเข้าใจโรคไข้หวัดนกอีกครั้ง เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต [embed-health-tool-vaccination-tool] ทำความรู้จักกับไข้หวัดนก ไข้หวัดนก คือเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา สายพันธุ์ A(H5N1)  ที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์ปีกและคนจำนวนมาก ซึ่งไม่กี่ปีที่ผ่านมาเชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้ทำให้สัตว์ปีกและผู้คนเกิดอาการป่วยรุนแรง โดยสันนิษฐานว่าไวรัสอาจแพร่กระจายมาจากนกป่าและติดต่อสู่สัตว์ปีกในครัวเรือน จากนั้นจึงแพร่กระจายสู่คนผ่านการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับสัตว์ปีกหรือมูลสัตว์ เชื้อไวรัส H5N1 อาจสามารถกลายพันธุ์จนมีความรุนแรงขึ้นและสามารถแพร่จากคนสู่คนได้ง่ายขึ้น และอาจระบาดไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วเพราะน้อยคนที่จะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์นี้ รายงานจากรมควบคุมโรคปัจจุบันประเทศไทยได้มีการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก หลังมีข่าวที่ประเทศกัมพูชา พบเด็กหญิงอายุ 11 ปี ป่วยเป็นโรคไข้หวัดนกและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ขณะที่บิดาอาจติดเชื้อแต่ยังไม่แสดงอาการ และขณะนี้มีพบผู้ป่วยไข้หวัดนกเพิ่มขึ้นอีก 2 รายในกัมพูชา ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ที่ประเทศไทยมีการระบาดของไข้หวัดนก ขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่าพบผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดนกแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม กรมควบคุมโรคได้มีการยกระดับเพื่อเฝ้าระวังและควบคุมเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์เดิมที่กำลังกลับมา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดนก และทุกคนก็ไม่ควรนิ่งนอนใจกับเหตุการณ์นี้ ควรดูแลตัวเองและคนในครอบครัวเพื่อป้องกันไข้หวัดนกด้วยเช่นกัน ไข้หวัดนกสายพันธุ์เดิมกลับมาอีกครั้งอันตรายแค่ไหน ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 หน่วยงานกำกับดูแลด้านสุขภาพระหว่างประเทศของกัมพูชา (Cambodia International Health Regulations หรือ IHR) รายงานพบผู้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์  A (H5N1) ซึ่งเป็นเชื้อสายพันธุ์ย่อยชนิดเดิมที่สามารถก่อให้เกิดโรครุนแรงในคนได้ ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม […]


โรคติดเชื้อ

7 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย มีอะไรบ้าง

ภูมิคุ้มกัน หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการต้านเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย ทั้งนี้ เพื่อ เสริมภูมิคุ้มกัน ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย นอนหลับให้เพียงพอ เลิกสูบบุหรี่และจำกัดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ [embed-health-tool-heart-rate] ภูมิคุ้มกัน คืออะไร ภูมิคุ้มกัน หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการป้องกันจุลชีพหรือเชื้อโรคต่าง ๆ ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วนำไปสู่การติดเชื้อหรือการเจ็บป่วย โดยทั่วไป ภูมิคุ้มกันของมนุษย์จะแย่หรืออ่อนแอลงได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้ อายุที่มากขึ้น การสูบบุหรี่ หรือได้รับมลพิษทางอากาศ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากและต่อเนื่องเป็นเวลานาน น้ำหนักเกินเกณฑ์หรือเป็นโรคอ้วน การขาดสารอาหารที่ส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน การเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง มีภาวะเครียดอย่างต่อเนื่อง การนอนหลับหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ เสริมภูมิคุ้มกัน ทำได้อย่างไร การเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาหารบางชนิดมีคุณสมบัติเสริมภูมิคุ้มกัน เช่น ขมิ้น ซึ่งมีสารเคอร์คิวมิน (Curcumin) ช่วยลดการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ และทำให้ภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงยิ่งขึ้น งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเคอร์คิวมิน ต่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและต่อต้านการอักเสบ เผยแพร่ในวารสาร Journal of Cellular Physiology ปี พ.ศ. 2561 นักวิจัยระบุว่า จากผลการศึกษาหลาย ๆ ชิ้นซึ่งทำการวิจัยทั้งในมนุษย์และสัตว์ พบว่า เคอร์คิวมินสัมพันธ์กับการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ […]


การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรฉีดไหม เพราะอะไร

ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่แพร่ระบาดเป็นประจำในฤดูหนาว เมื่อเป็นแล้วมักมีอาการคล้ายโรคหวัดธรรมดา แต่บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม ไข้หวัดใหญ่อาจป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน หากถามว่า วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรฉีดไหม? คำตอบคือควร เพราะวัคซีนจะช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ รวมถึงความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตได้ด้วย [embed-health-tool-bmi] ไข้หวัดใหญ่ คืออะไร ไข้หวัดใหญ่ (Influenza หรือ Flu) เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) ซึ่งเมื่อเป็นแล้วจะมีอาการคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา เช่น ไอ คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม ไข้ขึ้น เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ แต่ในระดับที่รุนแรงกว่า ทั้งนี้ ไข้หวัดใหญ่จัดเป็นโรคที่พบได้ทั่วไป โดยเฉพาะในฤดูหนาว และมักหายเองได้ภายใน 7-14 วัน อย่างไรก็ตาม ไข้หวัดใหญ่อาจเป็นสาเหตุของภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น โรคปอดอักเสบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดสมอง วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรฉีดไหม วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นวัคซีนที่ควรฉีด เพราะช่วยป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ในอัตรา 40-60 เปอร์เซ็นต์ และยังช่วยลดความรุนแรงของอาการ รวมถึงโอกาสเสียชีวิตจากการเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ได้ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ควรฉีดทุกปี เพราะเชื้อไข้หวัดใหญ่นั้นมักมีการกลายพันธุ์ และการฉีดวัคซีนที่ผลิตใหม่ทุกปี จะช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในปีนั้น ๆ ได้ ทั้งนี้ ผู้ที่สามารถรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ควรมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน