backup og meta

ไข้เลือดออก อาการ เป็นอย่างไร และวิธีการรักษา

ไข้เลือดออก อาการ เป็นอย่างไร และวิธีการรักษา

ไข้เลือดออกเป็นโรคที่พบได้บ่อย แต่มักจะชุกชุมในช่วงที่ฝนตกหรือเข้าสู่ฤดูฝน โดยมียุงลายเป็นพานะนำโรค ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กและเด็กเล็ก จึงควรระมัดระวังสุขภาพของลูกหลาน และดูแลสภาพแวดล้อมโดยรอบตัวบ้านให้ดี ไข้เลือดออก อาการ ที่พบบ่อยคือ ไข้สูงเฉียบพลัน ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ปวดหัว หน้าแดง เบื่ออาหาร อาเจียน รวมถึงมีจุดสีแดงเล็ก ๆ ขึ้นตามผิว เนื่องจากเส้นเลือดเปราะแตกนั่นเอง

[embed-health-tool-bmr]

สาเหตุของโรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัส มี 4 ชนิด แต่หากมีการติดเชื้อชนิดใดแล้ว จะส่งผลให้ร่างกายของผู้ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อชนิดนั้นไปตลอด ส่วนภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเดงกี่อีก 3 ชนิด จะเกิดขึ้นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ 6-12 เดือน ทำให้ผู้ที่เคยเป็นโรคไข้เลือดออกครั้งหนึ่งแล้ว สามารถเป็นโรคไข้เลือดออกได้อีก เพียงแต่ติดเชื้อไวรัสเดงกี่ชนิดอื่นที่ต่างจากชนิดแรก เรียกว่า การติดเชื้อซ้ำ

ไข้เลือดออก อาการ เป็นอย่างไร

อาการของโรคไข้เลือดออก หลังจากโดนยุงกัดแล้วจะผ่านระยะฟักตัวประมาณ 5-8 วัน โดยผู้ป่วยจะมีอาการ ดังนี้

  1. เกิดไข้สูงเฉียบพลัน อุณหภูมิร่างกายจะอยู่ที่ประมาณ 38.5 – 40 องศาเซลเซียส อาการไข้สูงจะเกิดขึ้นประมาณ 2-7 วัน ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น หน้าแดง ปวดกระบอกตา เบื่ออาหาร อาเจียน ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่จะไม่มีน้ำมูก ไม่มีอาการไอ
  2. ลักษณะสำคัญของอาการโรคไข้เลือดออก คือ มีอาการเลือดออก เส้นเลือดเปราะ แตกง่าย มีจุดเลือดออกเล็ก ๆ ตามร่างกาย เช่น แขน ขา ลำตัว รักแร้ มีเลือดกำเดาออก พบเลือดออกตามไรฟัน ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาเจียนและอุจจาระเป็นสีดำได้
  3. พบอาการปวดท้อง ในผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจะคลำพบตับโตได้ นับเป็นวันที่ 3-4 ตั้งแต่เริ่มป่วย
  4. อาการที่ต้องระวังของโรคไข้เลือดออก อาจพบภาวะช็อค โดยพบผู้ป่วยอาการรุนแรงได้ประมาณ 1 ใน 3 อาการช็อคเกิดจากมีการรั่วของเลือด ออกไปยังช่องปอดและช่องท้อง เกิดขึ้นได้พร้อมกับอาการไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาการดังกล่าวจะเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรค 

อาการช็อคของโรคไข้เลือดออก

  • กระสับกระส่าย 
  • มือเท้าเย็น 
  • ชีพจรเบาและเร็ว  
  • มีความดันโลหิตผิดปกติ
  • กระหายน้ำ 
  • อาจมีอาการปวดท้องกะทันหันก่อนเข้าสู่ภาวะช็อก

ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่มีอาการรุนแรง เข้าสู่ภาวะช็อค ส่วนใหญ่แล้วจะรู้สติ ยังพูดรู้เรื่อง แต่หากรักษาไม่ทันเวลา จะมีอาการปากเขียว ผิวสีม่วง ๆ ตัวเย็นชืด จับชีพจรและวัดความดันไม่ได้ กลายเป็นว่า ความรู้สติเปลี่ยนไป ในผู้ป่วยรายที่ไม่รุนแรงให้การรักษาในช่วงระยะสั้น ๆ อาการจะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

หากพบความเสี่ยงของการเป็นโรคไข้เลือดออก โดยมีอาการไข้สูง 2 วันแล้วไม่ดีขึ้น อ่อนเพลีย ซึมลง และมีปัสสาวะสีเข้ม ให้รีบนําผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพราะผู้ป่วยที่เกิดภาวะช็อคหรืออยู่ในระยะวิกฤต จะเกิดในช่วงที่ไข้เริ่มลดลงหรือไข้ต่ำกว่าเดิม  

การรักษาโรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกไม่มีการรักษาที่เฉพาะ และยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก แพทย์อาจพิจารณารักษาตามอาการ แบบประคับประคอง โดยใช้ยาลดไข้ ประกอบกับการให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้เพียงพอ และพักผ่อนมาก ๆ 

เมื่อแพทย์ให้ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกกลับมาพักฟื้นที่บ้าน ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยสามารถเช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำธรรมดา ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อน ๆ ดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำเกลือแร่บ่อย ๆ และกินยาตามแพทย์สั่ง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ความรู้ทั่วไปโรคไข้เลือดออก

http://odpc5.ddc.moph.go.th/groups/vbdc53/index.php/2017-07-11-12-55-58 

accessed June 24, 2023

ไข้เด็งกี่ (Dengue)

https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=44 

accessed June 24, 2023

ไข้เลือดออกต่างกับโควิด 19 อย่างไร

https://www.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=32543 

accessed June 24, 2023

ไข้เลือดออก .. ภัยร้ายใกล้ตัว

https://www.rama.mahidol.ac.th/th/knowledge_awareness_health/30apr2020-1648 

accessed June 24, 2023

 

โรคไข้เลือดออก”อันตรายจากยุงลาย วายร้ายตัวจิ๋ว

https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1347 

accessed June 24, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/05/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อไข้เลือดออก

ชุดทดสอบไข้เลือดออกแบบทราบผลอย่างรวดเร็ว เปลี่ยนแปลงการวินิจฉัยโรคแบบเดิมอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 27/05/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา