backup og meta

แลนโซพราโซล (Lansoprazole)

แลนโซพราโซล (Lansoprazole)

ยา แลนโซพราโซล (Lansoprazole) ใช้เพื่อรักษาปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและหลอดอาหารบางประเภท

ข้อบ่งใช้

แลนโซพราโซล ใช้สำหรับ

แลนโซพราโซล (Lansoprazole) ใช้เพื่อรักษาปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและหลอดอาหารบางประเภท เช่นโรคกรดไหลย้อน (acid reflux) หรือมีแผลเปื่อย ยานี้ทำงานโดยการลดปริมาณของกรดที่กระเพาะอาหารผลิตขึ้น ช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก กลืนลำบาก และอาการไอเป็นประจำ ยานี้จะช่วยฟื้นฟูความเสียหายจากกรดในกระเพาะอาหารและหลอดลม ช่วยป้องกันการเกิดแผล และอาจช่วยป้องกันโรคมะเร็งหลอดอาหารได้ด้วย ยาแลนโซพราโซลจัดอยู่ในกลุ่มของยาโปรตอนปั๊มอินฮิบิเตอร์ (Proton Pump Inhibitors)

วิธีการใช้ยา แลนโซพราโซล

รับประทานยานี้ตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติคือวันละครั้งก่อนอาหาร ขนาดยาและระยะเวลาการรักษาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์และการตอบสนองต่อการรักษา

ใช้มือแห้งจับยานี้ วางยาบนลิ้นแล้วปล่อยให้ละลายโดยใช้เวลาน้อยกว่า 1 นาที กลืนยานี้พร้อมน้ำหรือกลืนยาอย่างเดียวก็ได้ อย่าบด เคี้ยว หรือหักเม็ดยา

หากคุณมีปัญหาในการกลืนยา อาจละลายลายยาในน้ำแล้วดื่มผ่านทางกระบอกฉีดยา วางเม็ดยาไว้ในกระบอกฉีดยาแล้วดูดน้ำขึ้นมาตามขนาดยาที่ถูกต้อง (4 มล. สำหรับยาขนาด 15 มก. หรือ 10 มล. สำหรับยาขนาด 30 มก.) เขย่ากระบอกยาเบาๆ จนยาแตกออกแล้วดื่มน้ำนั้นภายใน 15 นาที เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับยาครบ ควรเติมน้ำ (2 มล. สำหรับยาขนาด 15 มก. หรือ 5 มล. สำหรับยาขนาด 30 มก.) เข้าไปในกระบอกยา เขย่าและดื่มน้ำนั้นเข้าไปอีก อย่าเตรียมส่วนผสมไว้ล่วงหน้าเพราะจะเป็นการทำลายตัวยา

หากคุณรับยานี้ผ่านทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหาร โปรดสอบถามแพทย์สำหรับวิธีการผสมยาและให้ยาอย่างถูกต้อง

หากจำเป็น คุณอาจรับประทานยาลดกรดคู่กับยานี้ หากคุณต้องใช้ยาซูคราลเฟต (Sucralfate) ร่วมด้วย ควรใช้ยาแลนโซพราโซลอย่างน้อย 30 นาทีก่อนใช้ยาซูคราลเฟต

ใช้ยาเป็นประจำเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด เพื่อให้จำง่ายขึ้น ควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน และใช้ยาจนครบกำหนดการรักษาแม้ว่าคุณจะรู้สึกดีขึ้นแล้ว

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการของคุณไม่หายไปหรือแย่ลง ความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงนั้นจะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป โปรดสอบถามแพทย์ถึงระยะเวลาที่คุณควรใช้ยานี้

การเก็บรักษายาแลนโซพราโซล

ควรเก็บรักษายาแลนโซพราโซลที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาแลนโซพราโซลบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรทิ้งยาแลนโซพราโซลลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลวิธีกำจัดยาที่ถูกต้องได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา แลนโซพราโซล

ก่อนใช้ยาแลนโซพราโซล แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณแพ้ต่อยานี้ หรือยาที่คล้ายกัน เช่น ยาเดกซ์แลนโซพราโซล (dexlansoprazole) ยาโอเมพราโซล (omeprazole) หรือยาแพนโทพราโซล (pantoprazole) หรือหากคุณเป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีส่วนประกอบไม่ออกฤทธิ์ที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่น โปรดปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะโรคตับ โรคลูปัส (lupus)

อาการบางอย่างอาจจะเป็นสัญญาณของสภาวะที่รุนแรงกว่าได้ ควรเข้ารับการรักษาในทันทีหากคุณมีอาการแสบร้อนกลางอกพร้อมกับอาการหน้ามืด เหงื่อออก หรือวิงเวียน อาการปวดหน้าอก กราม แขน หรือไหล่ (โดยเฉพาะหากมีอาการหายใจติดขัดหรือเหงื่อออกผิดปกติร่วมด้วย) น้ำหนักลดผิดปกติ

ยานี้อาจมีส่วนผสมของน้ำตาลเทียม (aspartame) หากคุณเป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรีย (phenylketonuria) หรือสภาวะอื่นๆ ที่จะต้องจำกัดการบริโภคน้ำตาลเทียมหรือสารฟีนิลอะลานีน (phenylalanine) อย่างเข้มงวด โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับการใช้ยานี้อย่างปลอดภัย

ยาโปรตอนปั๊มอินฮิบิเตอร์ เช่น ยาแลนโซพราโซล อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกหักได้ โดยเฉพาะหากใช้เป็นเวลานาน และหากใช้ในผู้สูงอายุ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับวิธีการป้องกันการสูญเสียกระดูกหรือกระดูกหัก เช่น บริโภคแคลเซียม อย่างแคลเซียมซิเตรท (calcium citrate) และอาหารเสริมวิตามินดี

ก่อนการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ ทั้งยาตามใบสั่งยา ยาที่หาซื้อเอง และสมุนไพรต่างๆ

ในช่วงขณะการตั้งครรภ์ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น โปรดปรึกษาความเสี่ยงและประโยชน์กับแพทย์

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ายานี้สามารถส่งผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่ได้หรือไม่ แต่ยาที่คล้ายกันนั้นสามารถผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่ได้ ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงผลที่เกิดต่อทารก โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาคีโตโปรเฟนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจจะมีความเสี่ยง
  • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา แลนโซพราโซล

อาจเกิดอาการท้องร่วง ปวดท้อง หรือปวดศีรษะ หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้นโปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที

โปรดจำไว้ว่าการที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้เนื่องจากคำนวณแล้วว่ายามีประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงร้ายแรงใดๆ

แจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงดังต่อไปนี้

  • อาการของภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ เช่น หัวใจเต้นเร็ว ช้า หรือผิดปกติ กล้ามเนื้อกระตุกบ่อยครั้ง ชัก
  • สัญญาณของโรคลูปัส เช่น ผดผื่นที่จมูกและแก้ม อาการปวดข้อต่อใหม่หรือแย่ลง

ในนานๆ ครั้งยานี้อาจทำให้เกิดสภาวะลำไส้ที่รุนแรง เช่น อาการท้องร่วงที่เกี่ยวข้องกับคลอสทริเดียม ดิฟิซายล์ (Clostridium difficile-associated diarrhea) เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยาบางอย่าง สภาวะนี้สามารถเกิดได้ระหว่างการรักษาหรือเป็นสัปดาห์จนถึงเดือนหลังจากหยุดการรักษา หากเกิดอาการดังกล่าว อย่าใช้ยาแก้ท้องเสียหรือยาแก้ปวดแบบเสพติด (narcotic pain medications) เพราะอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น แจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ ท้องร่วงบ่อยครั้ง ปวดท้อง มีเลือดหรือเสมหะในอุจจาระ

ในนานๆ ครั้งยาโปรตอนปั๊มอินฮิบิเตอร์ อย่าง ยาแลนโซพราโซลอาจทำให้เกิดภาวะขาดวิตามินบี 12 ความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นหากคุณใช้ยานี้ทุกวันเป็นเวลานาน (3 ปีขึ้นไป) โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากคุณมีอาการขาดวิตามินบี 12 เช่น เหนื่อยล้าผิดปกติ มีแผลที่ลิ้น หรือมีอาการเหน็บชาที่มือหรือเท้า

การแพ้ยาที่รุนแรงต่อยานี้ ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรงมีดังนี้

  • ผดผื่น
  • คันหรือบวม โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ
  • วิงเวียนขั้นรุนแรง
  • หายใจติดขัด

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาแลนโซพราโซลอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่

  • ยาเมโธเทรกเซท (methotrexate) โดยเฉพาะหากใช้ยาในขนาดสูง

ยาบางชนิดอาจจต้องใช้กรดในกระเพาะอาหารเพื่อช่วยในการดูดซึมเข้าส่ร่างกายอย่างถูกต้อง ยาแลนโซพราโซลจะลดปริมาณของกรดในกระเพาะอาหารและอาจจะเปลี่ยนการทำงานของยาเหล่านี้ได้ ยาที่อาจจะได้รับผลกระทบ ได้แก่

  • ยาแอมพิซิลลิน (ampicillin)
  • ยาอะทาซานาเวียร์ (atazanavir)
  • ยาเออร์โลทินิบ (erlotinib)
  • ยาเนวฟินนาเวียร์ (nelfinavir)
  • ยาพาโซพานิบ (pazopanib)
  • ยาริลพิไวรีน (rilpivirine)
  • ยาต้านเชื้อรากลุ่มเอโซลบางชนิด (azole antifungals) เช่น ยาไอทราโคนาโซล (itraconazole) ยาคีโตโคนาโซล (ketoconazole) ยาโพซาโคนาโซล (posaconazole)

ยาแลนโซพราโซลนั้นคล้ายกับยาเดกซ์แลนโซพราโซลอย่างมาก อย่าใช้ยาที่มียาเดกซ์แลนโซพราโซลขณะที่กำลังใช้ยาแลนโซพราโซล

ยานี้อาจส่งผลกระทบต่อผลการตรวจในห้องแล็บบางชนิดและอาจทำให้ผลตรวจเป็นเท็จได้ โปรดแจ้งบุคลากรในห้องแล็บและแพทย์ของคุณทุกคนให้ทราบว่าคุณกำลังใช้ยานี้

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาแลนโซพราโซลอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาแลนโซพราโซลอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาแลนโซพราโซลสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะหลอดอาหารอักเสบมีแผล (Erosive Esophagitis)

การรักษา

  • 30 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ระยะเวลารักษา สูงสุดที่ 8 สัปดาห์
  • การรักษาระดับการรักษา 15 มก. รับประทานวันละครั้ง

คำแนะนำ

  • การวิจัยแบบควบคุมนั้นนานไม่เกิน 12 เดือน
  • หากผู้ป่วยไม่ดีขึ้นหลังจากผ่านไป 8 สัปดาห์หรืออาการกำเริบอีกครั้ง อาจพิจารณารักษาเพิ่มอีก 8 สัปดาห์

การใช้งาน

  • เพื่อเป็นการรักษาระยะสั้นสำหรับการฟื้นฟูและบรรเทาอาการของภาวะหลอดอาหารอักเสบมีแผลทุกระดับ
  • รักษาระดับการฟื้นฟูภาวะหลอดอาหารอักเสบมีแผล

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenal Ulcer)

การรักษา

  • 15 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ระยะเวลารักษา สูงสุดที่ 4 สัปดาห์

คำแนะนำ

การวิจัยแบบควบคุมนั้นนานไม่เกิน 12 เดือน

การใช้งาน

  • เพื่อเป็นการรักษาระยะสั้นสำหรับการฟื้นฟูและบรรเทาอาการของภาวะแผลในลำไส้เล็กส่วนต้นที่มีอาการ
  • เพื่อรักษาระดับการรักษาภาวะแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันภาวะแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น

การรักษา

  • 15 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ระยะเวลารักษา สูงสุดที่ 4 สัปดาห์

คำแนะนำ

การวิจัยแบบควบคุมนั้นนานไม่เกิน 12 เดือน

การใช้งาน

  • เพื่อเป็นการรักษาระยะสั้นสำหรับการฟื้นฟูและบรรเทาอาการของภาวะแผลในลำไส้เล็กส่วนต้นที่มีอาการ
  • เพื่อรักษาระดับการรักษาภาวะแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อการรักษาระดับการรักษาภาวะแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น

การรักษา

  • 15 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ระยะเวลารักษา สูงสุดที่ 4 สัปดาห์

คำแนะนำ

การวิจัยแบบควบคุมนั้นนานไม่เกิน 12 เดือน

การใช้งาน

  • เพื่อเป็นการรักษาระยะสั้นสำหรับการฟื้นฟูและบรรเทาอาการของภาวะแผลในลำไส้เล็กส่วนต้นที่มีอาการ
  • เพื่อรักษาระดับการรักษาภาวะแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อน

การรักษา

  • 15 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ระยะเวลารักษา สูงสุดที่ 8 สัปดาห์

การใช้งาน

เพื่อเป็นการรักษาระยะสั้นสำหรับอาการแสบร้อนกลางอกและอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคกรดไหลย้อน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

การรักษา

  • 30 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ระยะเวลารักษา สูงสุดที่ 8 สัปดาห์

การใช้งาน

เพื่อเป็นการรักษาระยะสั้นสำหรับการฟื้นฟูและบรรเทาอาการของภาวะแผลในกระเพาะอาหารที่มีอาการ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาเนื้องอกต่อมไร้ท่อหลายต่อม (Multiple Endocrine Adenomas)

การรักษา

  • ขนาดยาเริ่มต้น 60 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาปกติ 60 ถึง 180 มก./วัน

คำแนะนำ

  • ควรแบ่งให้ยาหากขนาดยาต่อวันสูงกว่า 120 มก.
  • ขนาดยานั้นควรเฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ป่วยและควรใช้ยาต่อไปตราบเท่าที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาทางการแพทย์ ผู้ป่วยบางรายที่มีกลุ่มอาการโซลลิงเจอร์–เอลลิสันเคยได้รับการรักษานานเกินกว่า 4 ปี

การใช้งาน

เพื่อการรักษาในระยะยาวสำหรับสภาวะการหลั่งน้ำย่อยมากเกินไปทางพยาธิวิทยา (pathological hypersecretory conditions) รวมถึงกลุ่มอาการโซลลิงเจอร์–เอลลิสัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อภาวะซิสเทมิค แมสโทไซโทซิส (Systemic Mastocytosis)

การรักษา

  • ขนาดยาเริ่มต้น 60 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาปกติ 60 ถึง 180 มก./วัน

คำแนะนำ

  • ควรแบ่งให้ยาหากขนาดยาต่อวันสูงกว่า 120 มก.
  • ขนาดยานั้นควรเฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ป่วยและควรใช้ยาต่อไปตราบเท่าที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาทางการแพทย์ ผู้ป่วยบางรายที่มีกลุ่มอาการโซลลิงเจอร์–เอลลิสันเคยได้รับการรักษานานเกินกว่า 4 ปี

การใช้งาน

เพื่อการรักษาในระยะยาวสำหรับสภาวะการหลั่งน้ำย่อยมากเกินไปทางพยาธิวิทยา รวมถึงกลุ่มอาการโซลลิงเจอร์–เอลลิสัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษากลุ่มอาการโซลลิงเจอร์–เอลลิสัน (Zollinger-Ellison Syndrome)

การรักษา

  • ขนาดยาเริ่มต้น 60 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาปกติ 60 ถึง 180 มก./วัน

คำแนะนำ

  • ควรแบ่งให้ยาหากขนาดยาต่อวันสูงกว่า 120 มก.
  • ขนาดยานั้นควรเฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ป่วยและควรใช้ยาต่อไปตราบเท่าที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาทางการแพทย์ ผู้ป่วยบางรายที่มีกลุ่มอาการโซลลิงเจอร์–เอลลิสันเคยได้รับการรักษานานเกินกว่า 4 ปี

การใช้งาน

เพื่อการรักษาในระยะยาวสำหรับสภาวะการหลั่งน้ำย่อยมากเกินไปทางพยาธิวิทยา รวมถึงกลุ่มอาการโซลลิงเจอร์–เอลลิสัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori)

การรักษา

  • การรักษาด้วยยาสามชนิด 30 มก.
    • รับประทานวันละ 2 ครั้ง ใช้ร่วมกับยาอะม็อกซีซิลลิน (amoxicillin) และยาคลาริโทรมัยซิน (clarithromycin)
    • ระยะเวลาการรักษา 10-14 วัน
  • การรักษาด้วยยาสองชนิด 30 มก.
    • รับประทานวันละสามครั้ง ใช้ร่วมกับยาอะม็อกซีซิลลิน
    • ระยะเวลาการรักษา 14 วัน

คำแนะนำ

  • สำหรับขนาดยาของยาอะม็อกซีซิลลินและยาคลาริโทรมัยซินโปรดอ้างอิงกับข้อมูลของยาจากผู้ผลิต
  • การกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรนั้นแสดงให้เห็นถึงการลดการกำเริบของแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น และยังอาจส่งผลให้มีการฟื้นฟูแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นโดยไม่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง

การใช้งาน

  • การรักษาด้วยยาสามชนิด เพื่อรักษาผู้ติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรและโรคแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น (มีอาการหรือเคยมีแผลในลำไส้เล็กส่วนต้นภายใน 1 ปี) เพื่อกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร
  • การรักษาด้วยยาสองชนิด เพื่อรักษาผู้ติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรและโรคแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น (มีอาการหรือเคยมีแผลในลำไส้เล็กส่วนต้นภายใน 1 ปี) ผู้ที่แพ้ต่อยาคลาริโทรมัยซิน หรือผู้ที่มีอาการหรือคาดว่าจะดื้อต่อยาคลาริโทรมัยซิน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหารเนื่องจากยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID-Induced Gastric Ulcer)

การรักษา

  • 30 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ระยะเวลาการรักษา สุงสุดที่ 8 สัปดาห์

คำแนะนำ

ยังไม่มีวิจัยนานไม่เกิน 8 สัปดาห์

การใช้งาน

เพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหารเนื่องจากยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ต่อ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันแผลในกระเพาะอาหารเนื่องจากยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์

การรักษา

  • 15 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ระยะเวลาการรักษา สุงสุดที่ 12 สัปดาห์

คำแนะนำ

ยังไม่มีวิจัยนานไม่เกิน 12 สัปดาห์

การใช้งาน

เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดแผลในกระเพาะอาหารเนื่องจากยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ในผู้ป่วยที่เคยมีแผลในกระเพาะอาหารที่ที่ต้องใช้ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ต่อ

การปรับขนาดยาสำหรับไต

ไม่มีการปรับขนาดยาที่แนะนำ

การปรับขนาดยาสำหรับตับ

ตับบกพร่องระดับเบาหรือปานกลาง ไม่มีการปรับขนาดยาที่แนะนำ

ตับบกพร่องระดับรุนแรง อาจต้องปรับขนาดยา แต่ยังไม่มีแนวทางเฉพาะที่แนะนำ ควรใช้ยาด้วยความระมัดระวัง

การปรับขนาดยา

ขนาดยาที่มากกว่า 120 มก. ควรแบ่งให้ยาสองครั้งในขนาดที่เท่ากัน

ผู้ป่วยที่ใช้ยาเมโธเทรกเซทในขนาดสูง ควรพิจารณาระงับการรักษาชั่วคราว

คำแนะนำอื่นๆ

คำแนะนำการใช้ยา

  • ควรรับประทานยาก่อนอาหารและไม่ควรบดหรือเคี้ยวยา ควรรับประทานยาในตอนเช้า 30 นาทีก่อนมื้อเช้า
  • วางยาเม็ดแตกตัวไว้บนลิ้นแล้วปล่อยให้ยาละลาย
  • คุณสามารถแกะยาแคปซูลแบบออกฤทธิ์ช้าแล้วโรยผงยาใส่ซอสแอปเปิ้ล พุดดิ้ง คอทเทจชีส โยเกิร์ต หรือลูกแพรเชื่อมขนาด 1 ช้อนชา แล้วกลืนทันที อย่าเคี้ยวหรือบดยาแกรนูล อีกทางเลือกหนึ่งคืออาจจะละลายยาในน้ำแอปเปิ้ล น้ำส้ม หรือน้ำมะเขือเทศปริมาณเล็กน้อย (60 มล.) แล้วดื่มทันที เติมน้ำผลไม้ลงไปเพื่อล้างแก้วนั้นแล้วดื่มอีกรอบ
  • คุณอาจผสมยากับน้ำแอปเปิ้ลแล้วให้ยาผ่านทางสายยางให้อาหารเข้าสู่กระเพาะ

การเก็บรักษา

  • ควรศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิต

เทคนิคการคืนรูปยาหรือการเตรียมยา

  • ควรศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิต

ทั่วไป

  • การรักษาโรคกรดไหลย้อนในเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปีนั้นไม่แสดงให้เห็นถึงผลใดๆ
  • อัตราการกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรจะอยู่ที่ 90% เมื่อใช้ยานี้ร่วมกับยาคลาริโทรมัยซินและยาอะม็อกซีซิลลินหรือยาเมโทรนิดาโซล (metronidazole) อัตราการกำจัดเชื้อจะต่ำกว่าเมื่อใช้ยานี้ร่วมกับยาคลาริโทรมัยซินและยาอะม็อกซีซิลลินและยาเมโทรนิดาโซล
  • ควรใช้ยาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนยาซูคราลเฟตหรือยาลดกรด
  • ยาหนึ่งครั้งขนาด 30 มก.จะยับยั้งการกระตุ้นการหลั่งน้ำกรดได้ 30% หลั่งจากให้ยานานกว่า 7 วัน จะสามารถยับยั้งการกระตุ้นการหลั่งน้ำกรดได้ 90%

การเฝ้าระวัง

  • ระดับของแมกนีเซียม โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ใช้ยาอื่นที่อาจจะทำให้เกิดภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำหรือผู้ที่ใช้ยาเป็นเวลานาน
  • ระดับของวิตามินบี 12 โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ใช้ยาเป็นเวลานาน
  • อาการกระดูกหัก โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเกิดอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคกระดูกพรุนสูง

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

  • หากคุณใช้ยาเพื่อรักษาการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ผู้ป่วยควรใช้ยาจนครบกำหนดการรักษา
  • ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีสัญญาณหรืออาการของภาวะภูมิไวเกิน (hypersensitivity) ภาวะคลอสทริเดียม ดิฟิซายล์ หรือโรคเอสแอลอี (systemic cutaneous lupus erythematosus)
  • ผู้ป่วยควรทราบว่าการใช้ยานี้อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม วิงเวียน บ้านหมุน หรือ การมองเห็นบกพร่อง ควรหลีกเลี่ยงการขับรถหรือใช้เครื่องจักรจนกว่าจะทราบผลของยาทั้งหมด
  • ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์หากเกิดการตั้งครรภ์ มีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร

ขนาดยาแลนโซพราโซลสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาภาวะหลอดอาหารอักเสบมีแผล

อายุ 1-11 ปี

  • น้ำหนักน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 กก. 15 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • น้ำหนักมากกว่า 30 กก. 30 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ระยะเวลาการรักษา สูงสุดที่ 12 สัปดาห์

อายุ 12-17 ปี

  • 30 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ระยะเวลาการรักษา สูงสุดที่ 8 สัปดาห์

อายุ 17 ปีขึ้นไป

  • ดูขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่

คำแนะนำ

เคยมีการเพิ่มขนาดยา (จนถึง 30 มก. วันละ 2 ครั้ง) สำหรับผู้ป่วยบางรายที่ยังคงมีอาการอยู่หลังจากรักษาไปแล้วอย่างน้อย 2 สัปดาห์

การใช้งาน

เพื่อเป็นการรักษาระยะสั้นสำหรับการฟื้นฟูและบรรเทาอาการของภาวะหลอดอาหารอักเสบมีแผลทุกระดับ

ข้อควรระวัง

ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพสำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี

รูปแบบของยา

ขนาดและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาแคปซูลแบบออกฤทธิ์ช้าสำหรับรับประทาน
  • ยาเม็ดแตกตัวสำหรับรับประทาน
  • ยาผงสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
  • ยาแกรนูลคืนรูป
  • ยาผงผสม
  • ยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน

กรณีฉุกเฉินหรือการใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติ ไม่ควรเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Lansoprazole Dosage. https://www.drugs.com/dosage/lansoprazole.html. Accessed March 5, 2018.

Lansoprazole Tablet,Disintegrating,Delayed Release. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-11450-3250/lansoprazole-oral/lansoprazole-delayed-release-disintegrating-tablet-oral/details. Accessed March 5, 2018.

Lansoprazole, Oral Capsule. https://www.healthline.com/health/lansoprazole-oral-capsule-sprinkles. Accessed November 26, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/04/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาแก้เจ็บคอ ควรใช้เมื่อไหร่ดี มีข้อควรระวังอย่างไร

ทารกท้องอืด แก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ รับมือได้อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 23/04/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา