backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

แคลเซียม (Calcium)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 18/08/2020

แคลเซียม (Calcium)

แคลเซียม (Calcium) คือแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อกระดูกและฟัน หัวใจ เส้นประสาท และระบบการแข็งตัวของเลือด ก็ยังจำเป็นต้องใช้แคลเซียมในการทำงานเช่นกัน ใช้เพื่อรักษาอาการต่างๆ

ข้อบ่งใช้

แคลเซียม ใช้ทำอะไร

แคลเซียม (Calcium) คือแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อกระดูกและฟัน หัวใจ เส้นประสาท และระบบการแข็งตัวของเลือด ก็ยังจำเป็นต้องใช้แคลเซียมในการทำงานเช่นกัน ใช้เพื่อรักษาอาการต่างๆ เช่น

  • การรักษาและป้องกันระดับแคลเซียมต่ำ ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets) โรคกระดูกอ่อน (Osteomalacia)
  • กลุ่มอาการก่อนมีประเดือน (PMS)
  • ตะคริวที่ขาขณะตั้งครรภ์
  • ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (ภาวะครรภ์เป็นพิษ)
  • ความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
  • อาการแทรกซ้อนที่เกิดจากการผ่าตัดบายพาสลำไส้ ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง โรคลายม์ (Lyme Disease)
  • ระดับฟลูออไรด์สูงในเด็ก
  • ระดับตะกั่วสูง

การทำงานของแคลเซียม

ยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของแคลเซียมมากพอ โปรดปรึกษากับแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบว่า

  • กระดูกและฟันมีส่วนประกอบของแคลเซียมมากกว่า 99 % ของร่างกายมนุษย์ แคลเซียมยังพบได้ในเลือด กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่ออื่นๆ แคลเซียมในกระดูกจะใช้เป็นแหล่งสะสม ที่สามารถปล่อยเข้าสู่ร่างกายได้เมื่อจำเป็น
  • ความเข้มข้นของแคลเซียมในร่างกายมักจะลดลงไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมันถูกปล่อยออกจากร่างกายผ่านทางเหงื่อ เซลล์ผิว และของเสีย นอกจากนี้เมื่อผู้หญิงมีอายุมากขึ้น การดูดซึมแคลเซียมก็จะลดลง เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง การดูดซึมแคลเซียมอาจแตกต่างไปตามเชื้อชาติ เพศ และอายุ
  • กระดูกจะถูกย่อยสลายและสร้างขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา ซึ่งจำเป็นต้องใช้แคลเซียมในกระบวนการนั้น การรับประทานแคลเซียมเพิ่มขึ้นจะช่วยให้การสร้างกระดูกใหม่ได้อย่างเหมาะสม และแข็งแรง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ แคลเซียม

ปรึกษาแพทย์หรึอเภสัชกร หาก

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่

  • คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากขณะที่คุณตั้งใจว่าจะให้นมบุตรหรือกำลังให้นมบุตร คุณควรจะใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมไปถึงยาที่คุณกำลังใช้อยู่ซึ่งสามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
  • หากคุณมีอาการแพ้กับสารแคลเซียม ยาอื่นๆ หรือสมุนไพรอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการเจ็บป่วยอื่น มีความผิดปกติ หรือมีอาการโรคใดๆ
  • หากคุณมีอาการภูมิแพ้อื่นๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีย้อม แพ้สารกันบูด หรือแพ้สัตว์

กฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายารักษาโรค คุณจึงควรศึกษาข้อมูลให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ และการบริโภคอาหารเสริมแคลเซียม ควรมีคุณประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

ผู้ใหญ่และเด็ก

  • แคลเซียมนั้นถือว่าปลอดภัย หากรับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำอย่างเหมาะสมและถูกต้อง แคลเซียมอาจจะไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก หากรับประทานมากเกินไป หลีกเลี่ยงแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไป สถาบันทางการแพทย์ได้กำหนดปริมาณสารอาหารสูงสุดที่สามารถบริโภคได้ในแต่ละวัน (UL) สำหรับแคลเซียม โดยยึดหลักของอายุดังนี้
  • อายุ 0-6 เดือน 1000 มก.
  • 6-12 เดือน 1500 มก.
  • 1-8 ปี 2500 มก.
  • 9-18 ปี 3000 มก.
  • 19-50 ปี 2500 มก.
  • 51+ ปี 2000 มก.

ควรพิจารณาปริมาณการบริโภคแคลเซียมทั้งหมด ทั้งจากอาหารและอาหารเสริม และพยายามอย่าบริโภคแคลเซียมเกิน 1000-1300 มก. ต่อวัน การคำนวณค่าแคลเซียมในอาหาร ให้นับ 300 มก./วัน จากอาหารที่ไม่ใช่นม บวกกับ 300 มก./นมหนึ่งแก้ว หรือน้ำส้มคั้นเสริมแคลเซียม

ข้อควรระวังเป็นพิเศษและคำเตือน

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร

  • แคลเซียมนั้นจะปลอดภัยเมื่อรับประทานในปริมาณที่แนะนำขณะตั้งครรภ์และให้นมบุตร ยังไม่มีข้อมูลมากพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการฉีดแคลเซียมเข้าหลอดเลือดขณะตั้งครรภ์และให้นมบุตร

ภาวะระดับของกรดในกระเพาะอาหารต่ำ หรือภาวะขาดกรดในกระเพาะ (Achlorhydria)

  • คนที่มีระดับของกรดในกระเพาะต่ำจะดูดซึมแคลเซียมได้น้อยกว่า หากรับประทานแคลเซียมขณะท้องว่าง อย่างไรก็ตาม ระดับของกรดในกระเพาะที่ต่ำ ดูเหมือนจะไม่ได้ลดระดับของการดูดซึมแคลเซียมที่มาพร้อมกับอาหาร จึงแนะนำให้ผู้มีภาวะขาดกรดในกระเพาะรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมพร้อมกับอาหาร

ระดับของฟอสเฟตในเลือดสูง (hyperphosphatemia) หรือมีระดับของฟอสเฟตในเลือดต่ำ (hypophosphatemia)

  • แคลเซียมและฟอสเฟตในร่างกายนั้นควรจะสมดุลกัน การรับประทานแคลเซียมมากเกินไป สามารถทำลายความสมดุลนี้ และทำให้เกิดอันตรายได้ อย่ารับประทานแคลเซียมเพิ่มเติมโดยไม่มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาดูแลสุขภาพ

ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ (hypothyroidism)

  • แคลเซียมสามารถส่งผลกับการบำบัดภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนได้ (Thyroid hormone replacement treatment) ควรเว้นระยะห่างระหว่างการรับประทานแคลเซียมและยาฮอร์โมนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง

การมีแคลเซียมในเลือดมากเกินไป

  • เช่นในภาวะความผิดปกติของต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland disorders) และโรคซาร์คอยโดซิส (Sarcoidosis) ควรหลีกเลี่ยงแคลเซียมหากเป็นโรคใดโรคหนึ่งนี้
  • การทำงานของไตไม่ดี

    • อาหารเสริมแคลเซียมอาจเพิ่มความเสี่ยง ในการทำให้มีแคลเซียมในเลือดมากเกินไป สำหรับผู้ที่มีภาวะไตทำงานไม่ดี

    การสูบบุหรี่

    • ผู้ที่สูบบุหรี่จะดูดซึมแคลเซียมในกระเพาะอาหารได้น้อยกว่าปกติ

    ผลข้างเคียง

    ผลข้างเคียงของการใช้ แคลเซียม

    ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้แคลเซียมได้แก่

    • แคลเซียมสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงเล็กน้อยได้ เช่น เรอ หรือมีแก๊ส

    อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

    ปฏิกิริยาต่อยา

    ปฏิกิริยากับยาอื่น

    แคลเซียมอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง หรือสมุนไพร

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณกำลังใช้ยาเหล่านี้

    • เซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) การฉีดยาเซฟไตรอะโซนและแคลเซียมเข้าเส้นเลือดดำ สามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ปอดและไตอย่างรุนแรง ที่อาจเป็นอันตายถึงชีวิต ไม่ควรฉีดแคลเซียมเข้าเส้นเลือดภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากรับยาเซฟไตรอะโซน
    • ยาปฏิชีวนะ แคลเซียมอาจจะลดปริมาณการดูดซึมยาปฏิชีวนะของร่างกาย การใช้แคลเซียมคู่กับยาปฏิชีวนะบางชนิด อาจจะลดประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะนั้นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยานี้ ควรรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมหลังจากรับยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
    • ยาปฏิชีวนะกลุ่มเตตราไซคลีน แคลเซียมสามารถไปเกาะจับกับยาปฏิชีวนะบางชนิด ที่เรียกว่า เตตราไซคลีน (Tetracyclines) ในกระเพาะอาหาร ทำให้ลดปริมาณการดูดซึมยาเตตราไซคลีน การใช้แคลเซียมคู่กับยาเตตราไซคลีนอาจลดประสิทธิภาพของยาเตตราไซคลีนได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยานี้ควรรับประทานแคลเซียม 2 ชั่วโมงก่อน หรือ 4 ชั่วโมงหลังใช้ยาเตตราไซคลีน
    • ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตส์ (Bisphosphonates)แคลเซียมสามารถลดการดูดซึมยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตส์ได้ การใช้แคลเซียมคู่กับยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตส์ สามารถลดประสิทธิภาพของยากลุ่มนี้ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยานี้ ใช้ยากลุ่มไบฟอสโฟเนตส์ อย่างน้อย 30 นาทีก่อนแคลเซียม หรือใช้หลังจากนั้น
    • ยากลุ่มคาลซิโพไทรอิน (Calcipotriene) ยาซิโพไทรอิน อย่างเช่น โดโวเนกซ์ (Dovonex) คือยาที่คล้ายกับวิตามินดี วิตามินดีช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียม การรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมคู่กับยาคาลซิโพไทรอิน อาจทำให้ได้รับแคเซียมมากเกินไป
    • ยากลุ่มไดจอกซิน (Digoxin) แคลเซียมสามารถส่งผลกระทบต่อหัวใจของคุณได้ ยาไดจอกซิน อย่างเช่น ลาโนซิน (Lanoxin) ใช้เพื่อช่วยให้หัวใจของคุณเต้นแรงขึ้น การใช้แคลเซียมคู่กับยาไดจอกซิน อาจเพิ่มประสิทธิภาพของยาไดจอกซินแล้วทำให้หัวใจเต้นผิดปกติได้ หากคุณกำลังใช้ยาไดจอกซินควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้อาหารเสริมแคลเซียม
    • ยากลุ่มดิลไทอะเซม (Diltiazem) แคลเซียมสามารถส่งผลกระทบต่อหัวใจของคุณได้ ยาดิลไทอะเซม อย่างคาร์ดิเซม (Cardizem) หรือดิลาคอร์ (Dilacor) หรือทิอาแซค (Tiazac) ก็ส่งผลกระทบต่อหัวใจของคุณได้เช่นกัน การรับประทานแคลเซียมจำนวนมาก คู่กับยาดิลไทอะเซม อาจลดประสิทธิภาพของยาดิลไทอะเซมได้
    • ยากลุ่มเลโวไทรอกซีน (Levothyroxine) ยาเลโวไทรอกซีนใช้เพื่อลดการทำงานของไทรอยด์ แคลเซียมสามารถลดการดูดซึมยาเลโวไทรอกซีนได้ การใช้แคลเซียมคู่กับเลโวไทรอกซีนอาจลดประสิทธิภาพของยาเลโวไทรอกซีน ควรรับประทานยาเลโวไทรอกซีนและแคลเซียมห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
    • ยากลุ่มโซทาลอล (Sotalol) การใช้แคลเซียลคู่กับยาโซทาลอล อย่างเช่น เบตาเพส (Betapace) สามารถลดการดูดซึมยาโซทาลอลได้ การใช้แคลเซียมคู่กับยาโซทาลอลอาจลดประสิทธิภาพของยาโซทาลอลได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยานี้ ควรรับประทานแคลเซียลอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อน หรือ 4 ชั่วโมง หลังใช้ยาโซทาลอล
    • ยาขับปัสสาวะ (Water pills) ยาขับปัสสาวะบางชนิดอาจจะเพิ่มปริมาณแคลเซียมในร่างกายได้ การรับระทานแคลเซียมจำนวนมากคู่กับยาขับปัสสาวะ อาจทำให้มีแคลเซียมในร่างกายมากเกินไป และอาจส่งผลข้างเคียงที่รุนแรง รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับไตอีกด้วย
    • เอสโตรเจน (Estrogens) เอสโตรเจนช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ การรับประทานยาเอสโตรเจนคู่กับแคลเซียมในปริมาณมาก อาจเพิ่มปริมาณแคลเซียมในร่างกายมากเกินไป
    เพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

    ขนาดการใช้

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    ขนาดการใช้แคลเซียม

    ปริมาณในการใช้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้คาโมมายล์ในรูปแบบอาหารเสริมอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษาเรื่องปริมาณที่เหมาะสม และวิธีการใช้งานอย่างปลอดภัยจากแพทย์หรือเภสัชกรเสมอ

    รับประทาน

    • เพื่อป้องกันระดับแคลเซียมต่ำ มักใช้ 1 กรัม ธาตุแคลเซียม ทุกวัน
    • สำหรับอาการแสบร้อนกลางอก ใช้แคลเซียมคาร์บอเนตเป็นยาลดกรด ปกติคือ 0.5-1.5กรัม ตามที่จำเป็น
    • เพื่อลดปริมาณฟอสเฟตในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับแคลเซียมอะซิเตต คือ 1.334 กรัม (338 มก. ธาตุแคลเซียม) พร้อมกับอาหารในแต่ละครั้ง เพิ่มถึง 2-2.67 กรัม (500-680 มก. ธาตุแคลเซียม) พร้อมกับอาหารในแต่ละครั้ง ตามที่จำเป็น
    • เพื่อป้องกันกระดูกอ่อนแอ (โรคกระดูกพรุน) ขนาดยา 1-1.6 กรัม ธาตุแคลเซียม ทุกวัน รับจากอาหารและอาหารเสริม แนวทางการรักษาโรคกระดูกพรุนในอเมริกาเหนือ แนะนำให้ใช้แคลเซียม 1200 มก. ต่อวัน
    • สำหรับการป้องกันการสูญเสียกระดูก ในสตรีวัยก่อนหมดประจำเดือนที่มีอายุเกิน 40 ขนาดยา 1 กรัม
    • สำหรับผู้ตั้งครรภ์ที่บริโภคแคลเซียมในปริมาณที่ต่ำ ขนาดยาสำหรับการเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก มีตั้งแต่ 300-1300 มก./วัน เริ่มตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 20-22
    • สำหรับกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน: 1-1.2 กรัม แคลเซียม ต่อวันเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต
    • เพื่อลดระดับฮอร์โมนไทรอยด์สำหรับผู้ที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง: แคลเซียมคาร์บอเนต 2-21 กรัม
    • เพื่อป้องกันการสูญเสียกระดูกสำหรับผู้ที่ที่ใช้ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์: แบ่งยาวันละ 1 กรัม ธาตุแคลเซียมต่อวัน
    • เพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูง 1-1.5 กรัมแคลเซียม ต่อวัน
    • เพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (ก่อนคลอด) ใช้แคลเซียมคาร์บอเนต 1-2 กรัม ต่อวัน
    • เพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และเนื้องอกลำไส้ใหญ่กำเริบ (adenomas): แคลเซียม 1200-1600 มก./วัน
    • สำหรับภาวะคอเลสเตอรอลสูง มีการใช้แคลเซียม 1200 มก. ต่อวัน รับประทานคู่หรือแยกต่างหากกับวิตามินดี 400 IU ต่อวัน ร่วมกับอาหารที่มีไขมันต่ำหรือจำกัดแคลอรี่
    • เพื่อป้องกันการเป็นพิษของฟลูออไรด์ในเด็ก แคลเซียม 125 มก. วันละสองครั้ง คู่กับกรดแอสคอร์บิก (ascorbic acid) และวิตามินดี
    • สำหรับการลดน้ำหนัก เพิ่มปริมาณการบริโภคแคลเซียมที่มาจากผลิตภัณฑ์นม ให้ได้ประมาณ 500-2400 มก./วัน คู่กับอาหารจำกัดแคลอรี่

    ปริมาณการใช้แคลเซียมอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสมอาจแตกต่างกันสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ขนาดยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและเงื่อนไขอื่นๆ อาหารเสริมไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาแพทย์ของคุณเกี่ยวกับขนาดที่เหมาะสม

    รูปแบบของแคลเซียม

    แคลเซียมอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

    •  ยาแคปซูลแคลเซียม 600 มก.
    • แคลเซียมเหลว

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 18/08/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา