เจ็บหัวนม คือ อาการเจ็บปวดบริเวณหัวนมเมื่อถูกสัมผัส หรือเสียดสีกับเสื้อผ้า เป็นต้น และอาจเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ โรคมะเร็งเต้านม หากเจ็บหัวนมและกังวลใจควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัย หากพบความผิดปกติใด ๆ จะได้รักษาอย่างทันท่วงที
[embed-health-tool-ovulation]
สาเหตุของอาการเจ็บหัวนม
เจ็บหัวนม อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้
- คัดเต้าจากการตั้งครรภ์และให้นมบุตร
อาการคัดเต้าอาจเกิดขึ้นเมื่อเริ่มตั้งครรภ์จนถึงช่วงหลังคลอดและให้นมบุตร เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) อาจเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ ส่งผลให้เต้านมขยายเพื่อรองรับการผลิตน้ำนมให้ทารก ซึ่งอาจรู้สึกได้ถึงอาการเจ็บรอบเต้านมและหัวนมเมื่อถูกสัมผัส หรือเสียดสี อีกทั้งยังอาจเกิดจากทารกดูดนมแรงจนเกินไป ทำให้หัวนมอาจแตก บวมแดง
- หัวนมติดเชื้อ
การติดเชื้อที่หัวนมมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) เชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans) ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่อาจเกิดจากทารกดูดนมจากเต้าแรงจนทำให้หัวนมเป็นแผล จนอาจนำไปสู่การติดเชื้อ หากทารกกินนมต่อไปอาจทำให้ได้รับเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา โดยสังเกตได้จากจุดสีขาวเป็นหย่อมในช่องปากทารก
- ประจำเดือน
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจนเทอโรน (Progesterone) ระหว่างรอบเดือนอาจส่งผลให้เกิดสัญญาณเตือน คือ อาการเจ็บเต้านม เจ็บหัวนมอย่างรุนแรงก่อนประจำเดือนมา และอาการอาจดีขึ้นเมื่อประจำเดือนมาหรือหลังประจำเดือนหมด
- มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมอาจส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหัวนมและรอบเต้านม โรคนี้สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย แต่อาจพบบ่อยในผู้หญิงโดยมีสาเหตุมาจากเซลล์ในเต้านมแบ่งตัวและเจริญเติบโตผิดปกติ จนเกิดเป็นก้อนเนื้องอก มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่มักเริ่มในท่อผลิตน้ำนม และแพร่กระจายไปทำลายเซลล์เนื้อเยื่อในเต้านม หากครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งชนิดอื่น ๆ ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน
การป้องกันอาการ เจ็บหัวนม
การป้องกันอาการเจ็บหัวนม อาจทำได้ดังนี้
- สวมเสื้อผ้าที่ไม่รัดรูป ป้องกันการเสียดสีที่อาจทำให้รู้สึกเจ็บหัวนม
- สำหรับผู้หญิงอาจเลือกเสื้อชั้นในที่พอดีหรือขนาดใหญ่กว่าเต้านมเล็กน้อย โดยเฉพาะคุณแม่ที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
- ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงหัวนม เช่น น้ำมันมะพร้าว ปิโตรเลียมเจล เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น
- ทำความสะอาดเต้านมด้วยสบู่ที่อ่อนโยน และควรล้างมือก่อนสัมผัสหัวนม ป้องกันหัวนมติดเชื้อ
- คุณแม่ตั้งครรภ์และอยู่ในช่วงให้นมบุตรอาจมีอาการเจ็บหัวนมจากน้ำนมที่สะสมในเต้า ควรปั๊มน้ำนมออกมาเก็บไว้ หรือให้ทารกกินนมแม่บ่อย ๆ
- รักษาสุขภาพด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ เช่น ธัญพืช ผักผลไม้ ถั่ว อาหารไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมที่อาจส่งผลให้เจ็บหัวนม
นอกจากนี้ ควรตรวจสุขภาพ ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปี ป้องกันอันตรายจากโรคและภาวะต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่อาการเจ็บหัวนม
อาการเจ็บหัวนมแบบไหน ที่ควรพบคุณหมอ
อาการเจ็บหัวนมที่ควรเข้าพบคุณหมอ สามารถสังเกตได้จากสัญญาณเตือนดังต่อไปนี้