backup og meta

หมากฝรั่ง ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

หมากฝรั่ง ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

หมากฝรั่ง เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเคี้ยวที่ผลิตขึ้นจากยางสังเคราะห์ (Gum) ถูกเติมแต่งด้วยสารให้ความหวาน สารเติมแต่งกลิ่นและรสชาติ ซึ่งอาจช่วยบรรเทาความเครียด ปรังปรุงความจำ ลดกลิ่นปาก ป้องกันฟันผุ ช่วยให้ตื่นตัว และอาจช่วยเลิกบุหรี่ได้ อย่างไรก็ตาม ควรเคี้ยวหมากฝรั่งในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อป้องกันปัญกรามที่อาจเกิดขึ้น

[embed-health-tool-bmi]

ประโยชน์ของการเคี้ยว หมากฝรั่ง

หมากฝรั่งหลายชนิดมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสูตรและจุดประสงค์การขายของผู้ผลิต โดยส่วนผสมพื้นฐานของหมากฝรั่งที่อาจพบได้บ่อย ได้แก่ ยางสังเคราะห์ สารให้ความแข็งแรงและความคงตัวของหมากฝรั่ง (Resin) สารปรุงแต่งเนื้อสัมผัส (Fillers) สารทำให้อ่อนตัว (Softeners) สารกันบูด สารให้ความหวาน สารเติมแต่งกลิ่นและรสชาติ

การเคี้ยวหมากฝรั่งอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนี้

  • อาจช่วยปรับปรุงหน่วยความจำ การเคี้ยวหมากฝรั่งอย่างต่อเนื่องอาจช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังสมองได้มากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลดีต่อการช่วยปรับปรุงหน่วยจำของสมอง
  • อาจช่วยให้ตื่นตัว ในขณะที่ร่างกายเหนื่อยล้าหรืออ่อนเพลีย การเคี้ยวหมากฝรั่งอาจช่วยกระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นขึ้นได้
  • อาจช่วยบรรเทาอาการปากแห้ง การเคี้ยวหมากฝรั่งอาจช่วยเพิ่มการผลิตน้ำลาย ซึ่งช่วยให้ช่องปากชุ่มชื้นและบรรเทาอาการปากแห้งได้
  • อาจช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการเมารถหรือแพ้ท้อง การเคี้ยวหมากฝรั่งอาจช่วยผลิตน้ำลายในช่องปากให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจมีส่วนช่วยให้ช่องปากมีความชุ่มชื้น และมีรสชาติภายในปากที่ดีขึ้น รวมถึงอาจช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องได้
  • อาจช่วยปกป้องฟันและลดกลิ่นปาก การเคี้ยวหมากฝรั่งที่ไม่มีน้ำตาล อาจช่วยขจัดเศษอาหารตามซอกฟัน ซึ่งช่วยป้องกันปัญหาฟันผุได้ นอกจากนี้ หมากฝรั่งยังมีส่วนผสมของไซลิทอล (Xylitol) ที่มีคุณสมบัติช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งอาจช่วยลดกลิ่นปากได้
  • อาจช่วยแก้ปัญหาการสูบบุหรี่ ปัจจุบันมีการผลิตหมากฝรั่งนิโคตินขึ้นมาเพื่อช่วยในการเลิกสูบบุหรี่ โดยในหมากฝรั่งจะมีส่วนผสมของนิโคติน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ผู้ที่สูบบุหรี่มีความสุขและคลายความกังวล การเคี้ยวหมากฝรั่งนิโคตินจึงอาจช่วยทดแทนการรับนิโคตินจากบุหรี่ได้ โดยการค่อย ๆ ลดปริมาณลงทีละน้อยเพื่อป้องกันอาการขาดนิโคติน เช่น หงุดหงิด กระวนกระวาย ซึมเศร้า กังวล นอนไม่หลับ

ข้อควรระวังในการบริโภค หมากฝรั่ง

การเคี้ยวหมากฝรั่งมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพบางประการ ดังนี้

  • อาจส่งผลกระทบต่อกรามและขากรรไกร การเคี้ยวหมากฝรั่งมากเกินไปอาจทำให้ข้อต่อกราม กล้ามเนื้อบริเวณปากและฟันขยับอย่างต่อเนื่องมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่สมดุล ความเครียด และการจัดแนวกรามที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงอาจส่งผลให้เกิดปัญหาฟันแตก ปวดหัว ปวดกราม ข้อต่อกรามแตกหรือข้อต่อมีเสียงได้
  • ปัญหาฟันผุ หมากฝรั่งบางชนิดอาจมีปริมาณน้ำตาลจำนวนมาก ซึ่งการเคี้ยวหมากฝรั่งอาจทำให้น้ำตาลตกค้างอยู่ในปาก ซึ่งเป็นอาหารของแบคทีเรียภายในช่องปาก ส่งผลให้เกิดคราบพลัค (Plaque) สะสมบริเวณฟันที่สามารถกัดกร่อนผิวฟันจนก่อให้เกิดปัญหาฟันผุได้

วิธีช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดจากการเคี้ยวหมากฝรั่ง

วิธีต่อไปนี้อาจช่วยลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพช่องปากที่เกิดจากการเคี้ยวหมากฝรั่งได้

  • ควรเคี้ยวหมากฝรั่งไม่เกิน 15 นาที/วัน เพื่อป้องกันการขยับของกราม กล้ามเนื้อ ข้อต่อและขากรรไกรที่มากเกินไป
  • สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกราม เช่น กรามมีเสียงเมื่ออ้าปาก ปวดกราม หรือกรามค้าง ควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง เนื่องจากอาจทำให้ปัญหากรามแย่ลง
  • ควรเลือกเคี้ยวหมากฝรั่งที่ปราศจากน้ำตาล เพื่อป้องกันปัญหาฟันผุที่เกิดจากการสะสมของน้ำตาลในช่องปากมากเกินไป
  • แปรงฟันเป็นประจำทุกวัน อย่างน้อย 2 ครั้ง/วัน และหลังรับประทานอาหาร และไม่ควรเลือกเคี้ยวหมากฝรั่งเพื่อขจัดเศษอาหารแทนการแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

นิโคติน สารทดแทนช่วยเลิกบุหรี่. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/510/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88/. Accessed November 4, 2022

What to Know About Chewing Gum. https://www.webmd.com/diet/what-to-know-about-chewing-gum. Accessed November 4, 2022

Diet Myth or Truth: Chewing Gum for Weight Loss. https://www.webmd.com/diet/obesity/features/diet-myth-or-truth-chewing-gum-for-weight-loss#1. Accessed November 4, 2022

Is Chewing Gum Bad for You?. https://health.clevelandclinic.org/is-chewing-gum-bad-for-you/. Accessed November 4, 2022

Chewing Gum. https://www.mouthhealthy.org/all-topics-a-z/chewing-gum/. Accessed November 4, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/11/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ที่หาซื้อได้ทั่วไป มีอะไรบ้าง

อาหารคีโต เป็นอย่างไร และเหมาะกับใครบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 08/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา