backup og meta

พัฒนาการเด็กวัยก่อนเข้าเรียน กับเคล็ดลับการดูแล ที่พ่อแม่ควรทราบ

พัฒนาการเด็กวัยก่อนเข้าเรียน กับเคล็ดลับการดูแล ที่พ่อแม่ควรทราบ

นอกจากอุปนิสัย และการใช้ชีวิตประจำวันของลูกรัก ที่คุณพ่อคุณแม่ทราบดีแล้ว การรู้จักสังเกตพัฒนาการของลูกก็ย่อมเป็นสิ่งสำคัญเช่นกันที่ผู้ปกครองทุกคนควรมีการจดบันทึกถึงการเจริญเติบโตเด็ก ๆ เอาไว้ร่วมด้วย โดยเฉพาะ พัฒนาการเด็กวัยก่อนเข้าเรียน เพื่อดูแลลูกน้อยให้สามารถเริ่มใช้ชีวิตอีกขั้นในสังคมแห่งการเรียนรู้ภายนอกได้อย่างเหมาะสม

[embed-health-tool-vaccination-tool]

การเปลี่ยนแปลง พัฒนาการเด็กวัยก่อนเข้าเรียน

ในช่วงอายุของเด็กวัยก่อนเข้าเรียน (3-5 ปี) มักมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงหลายด้านตามการเจริญเติบโต ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการทางด้านสังคม พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ทักษะการเรียนรู้ พัฒนาการด้านภาษา และการสื่อสาร ที่คุณจะสังเกตได้ถึงพฤติกรรมของเด็ก ๆ ที่มีความคิดเป็นของตัวเองมากขึ้น อยากรู้อยากเห็นสิ่งใหม่ ๆ มีการเคลื่อนไหวที่กระฉับกระเฉงเนื่องจากกระดูกเริ่มมีความแข็งแรง และยืดหยุ่น รวมไปถึงอยากเข้าสังคมมีปฏิสัมพันธ์ผูกมิตรกับเพื่อนใหม่เมื่อพบเจอ

โดยพัฒนาการข้างต้นที่กล่าวมานั้น ยังขึ้นอยู่กับการดูแลของผู้ปกครอง และสภาวะแวดล้อมรอบข้างร่วมด้วยว่าอยากให้เด็ก ๆ มีพัฒนาการไปในเชิงบวก หรือเชิงลบ เพราะบางคนอาจนำไปสู่การพัฒนาด้านพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น การคิดคำโกหก อารมณ์ฉุนเฉียว เป็นต้น

เคล็ดลับการเลี้ยงดูเด็กวัยก่อนเข้าเรียน

เพื่อให้ลูกรักที่อยู่ในช่วงวัยก่อนเข้าเรียนมีพัฒนาการที่ดีตามเกณฑ์อายุ คุณพ่อคุณแม่สามารถนำเคล็ดลับการดูแลเด็ก ๆ ง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ ไปใช้ร่วมกับเทคนิคการดูแลที่คุณใช้อยู่ด้วยได้

  1. จัดตารางอาหารที่ต่อสุขภาพให้แก่ลูกรัก เพื่อให้รับสารอาหารที่ครบถ้วน
  2. ให้เด็ก ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ โดยช่วงอายุเด็กวัยก่อนเข้าเรียนควรนอนหลับ 11-13 ชั่วโมงต่อวัน
  3. จำกัดเวลาให้เด็ก ๆ อยู่กับหน้าจอโทรศัพท์ แท็ปเล็ต คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ ให้น้อยกว่า 1-2 ชั่วโมงต่อวัน
  4. พูดคุยกับเด็ก ๆ ถึงเรื่องราวทั่วไป เพื่อให้เด็กเรียนรู้ภาษา แนวคิด และความรู้ใหม่ ๆ
  5. ฝึกทักษะต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การฝึกเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว เป็นต้น เพื่อนำไปใช้เมื่อลูกเข้าสู่การใช้ชีวิตในโรงเรียน

คำแนะนำเพิ่มเติมกระตุ้น พัฒนาการเด็กวัยก่อนเข้าเรียน

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำมากที่สุดคือการมอบความรักให้แก่ลูกรักอย่างอบอุ่น พร้อมสังเกต หรือจดบันทึกเอาไว้ถึงพัฒนาการลูกรักอยู่ข้าง ๆ เสมอ โดยไม่บังคับความคิดพวกเขาจนเกินไป ที่สำคัญเมื่อเกิดเหตุการณ์ทะเลาะมีปากเสียงเกิดขึ้น คุณอาจต้องใช้ความใจเย็นเข้าช่วย เนื่องจากเด็ก ๆ ยังมีการควบคุมอารมณ์ตนเองได้ไม่คงที่ และค่อย ๆ ใช้เหตุผลเข้าพูดคุย

เด็กบางคนมีพัฒนาการ และพฤติกรรมที่แตกต่างกัน หากคุณต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมที่ตรงกับช่วงอายุ และอุปนิสัยของลูกรักมากขึ้น อาจต้องเข้าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ พร้อมบอกรายละเอียดถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้คุณหมอสามารถแนะนำหนทางแก้ไขได้อย่างตรงจุด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Preschoolers (3-5 years of age) https://www.cdc.gov/ncbddd/childdevelopment/positiveparenting/preschoolers.html#:~:text=Children%20reach%20milestones%20in%20how,children%20outside%20of%20the%20family. Accessed May 11, 2021

Growth and Development, Ages 2 to 5 Years https://www.healthlinkbc.ca/health-topics/ta3612 . Accessed May 11, 2021

Your Child’s Development: 2.5 Years (30 Months) https://kidshealth.org/en/parents/development-30mos.html . Accessed May 11, 2021

Child development: Know what’s ahead https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/childrens-health/in-depth/child-development/art-20045155. Accessed May 11, 2021

8 Mistakes Parents Make With Preschoolers https://www.webmd.com/parenting/guide/parenting-preschoolers-mistakes#1. Accessed May 11, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/04/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก 2 ขวบ เลือกอย่างไรให้ปลอดภัยต่อเด็ก

แป้งโดว์ มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร และวิธีทำแป้งโดว์ด้วยตัวเอง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 03/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา