backup og meta

ปัญหาการสูญเสียการได้ยินในผู้สูงวัย ควรรับมือและช่วยเหลืออย่างไรดี

ปัญหาการสูญเสียการได้ยินในผู้สูงวัย ควรรับมือและช่วยเหลืออย่างไรดี

การสูญเสียการได้ยิน (hearing loss) คือการที่หูข้างเดียวหรือทั้งสองข้างได้ยินเสียงลดลงหรือไม่ได้ยินเสียงใด ๆ เลย เมื่อมีการสูญเสียการได้ยินควรได้รับการชักประวัติในการตรวจการได้ยิน เช่นเดียวกับ ปัญหาการสูญเสียการได้ยินในผู้สูงวัย ที่ผู้สนทนาควรปฏิบัติอย่างระมัดระวังในการพูดคุย และช่วยเหลือ

[embed-health-tool-bmi]

ประเภทของการสูญเสียการได้ยิน

การสูญเสียการได้ยินโดยทั่วไปมีสองประเภท คือ

  1. การสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่อง (conductive hearing loss) เนื่องจากสาเหตุการอุดตันของรูหู จากขี้หู หรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ รวมไปถึง แก้วหูทะลุ พบในผู้ป่วยหูชั้นกลางอักเสบ หรือการบาดเจ็บ เช่น ถูกตบหู ของแหลมทิ่มแก้วหู
  2. การสูญเสียการได้ยินชนิดประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง (sensorineural hearing loss) คือ หูชั้นใน หรือประสาทหูได้รับความเสียหาย โดยสาเหตุนั้นอาจมาจากการได้ยินเสียงที่ดังเฉียบพลัน หรือดังมากกว่า 90 เดซิเบลเป็นเวลานาน การติดเชื้อ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย ซิฟิลิส รวมไปถึงปัญหาการได้ยินเสื่อมในผู้สูงอายุ

อาการของการ ปัญหาการสูญเสียการได้ยินในผู้สูงวัย

การเปลี่ยนแปลงในการได้ยินเป็นเรื่องปกติเมื่อคนมีอายุมากขึ้น ซึ่งสิ่งสำคัญ คือการใส่ใจกับอาการปัญหาการสูญเสียการได้ยินแบบเบื้องต้น ได้แก่

  • เพิ่มระดับเสียงของโทรทัศน์ หรือวิทยุ หากคนอื่นในบ้านเริ่มบ่นว่าทีวีเสียงดังเกินไป ถึงเวลาตรวจการได้ยินของคุณว่ามีปัญหาในด้านการได้ยิน หรือไม่
  • เมื่อมีการสนทนาจะขอให้ผู้ร่วมสนทนาพูดช้า ๆ ชัดเจน และเสียงดังขึ้น
  • ความยากลำบากในการทำความเข้าใจกับคำพูดที่คนอื่นสื่อสารออกมา
  • หูอื้ออาจเกิดขึ้นในหูข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง
  • รู้สึกอยากหลีกเลี่ยงออกไปข้างนอก
  • คุณกำลังดูริมฝีปากของคนอื่นแทนที่จะสบตา เมื่อประสาทสัมผัสหนึ่งใช้ไม่ได้ผลเหมือนเดิม สมองจะชดเชยสิ่งเหล่านั้นโดย ใช้ประสาทสัมผัสอื่นเพิ่มขึ้นแทน ซึ่งในกรณีนั้นก็คือการมอง
  • เหนื่อยล้าจากกิจกรรมทางสังคม เมื่อคุณไม่ได้ยินเสียงพูดโดยรวมทั้งหมด สมองของคุณจะมีการประเมินสิ่งต่าง ๆ มากขึ้นเพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่คนอื่นพูด ซึ่งจำเป็นที่จะต้องใช้สมาธิอย่างมาก

วิธีรับมือกับ ปัญหาการสูญเสียการได้ยินในผู้สูงวัย

  • บอกให้คนอื่นรับรู้ว่าคุณมีปัญหาการได้ยิน
  • ขอให้คู่สนทนาหันหน้าเข้าหาคุณ และพูดให้ช้าลง รวมไปถึงชัดเจนขึ้น ซึ่งคู่สนทนาควรเพิ่มเสียงพูดที่ดังขึ้น แต่ไม่ใช่เป็นการตะโกน
  • บอกให้ผู้พูดรู้ว่าคุณไม่เข้าใจสิ่งที่เขาพูดในช่วงขณะนั้น และขอให้เขาพูดใหม่อีกครั้ง
  • หาที่เงียบ ๆ เพื่อพูดคุยกัน เพื่อหลีกเลี่ยงเสียงรบกวนจากภายนอก
  • พยายามคิดในแง่บวก และผ่อนคลาย หากไม่ได้ยินเสียง

สิ่งสำคัญวิธีรับมือปัญหาการสูญเสียการได้ยินในผู้สูงวัย คือการขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

อุปกรณ์ที่ช่วยในเรื่องการสูญเสียการได้ยิน

เครื่องช่วยฟัง คือเครื่องขยายเสียง มีขนาดเล็กใช้ในผู้ที่มีปัญหาในด้านการรับฟังเสียง เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แบตเตอรี่ ทำให้เสียงดังขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนั้นมีเครื่องช่วยฟังหลายประเภท และมีการพัฒนาคุณภาพให้ดีมากขึ้น นอกจากนั้น คุณควรลองเครื่องช่วยฟัง เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์นี้เหมาะกับคุณ รวมไปถึงการดูราคาว่าคุณสามารถรับได้หรือไม่อย่างไร

หากคุณคิดว่ามีปัญหาสูญเสียการได้ยินที่เกี่ยวเนื่องจากอายุ ควรตรวจสอบการได้ยินด้วยการไปหาคุณหมอ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยิน เพื่อขอคำแนะนำข้อมูลด้านอื่น ๆ เพิ่มเติม

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Hearing Loss: A Common Problem for Older Adults. https://www.nia.nih.gov/health/hearing-loss-common-problem-older-adults. Accessed July 16, 2021

Hearing loss. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hearing-loss/symptoms-causes/syc-20373072. Accessed July 16, 2021

Age-Related Hearing Loss (Presbycusis). https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/presbycusis. Accessed July 16, 2021

6 Subtle Signs of Hearing Loss. https://www.webmd.com/healthy-aging/hearing-loss-signs#1. Accessed July 16, 2021

Age-related hearing loss – Presbycusis. https://www.hear-it.org/Age-related-hearing-loss. Accessed July 16, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/09/2024

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เคลียร์ ! รูหู ให้สะอาด ห่างไกลจาก ขี้หูสะสม

ผู้สูงอายุเสียการทรงตัวเพราะ โรคหินปูนในหูชั้นในหลุด จริงหรือ?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 30/09/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา