ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

การสูงวัยทำให้อวัยวะและระบบต่าง ๆ ในร่างกายเสื่อมสภาพลง นั่นจึงเป็นเหตุให้ผู้สูงอายุประสบปัญหาสุขภาพค่อนข้างบ่อยกว่าคนวัยอื่น Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ มาไว้ที่นี่ เพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพ

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ท้องผูกในผู้สูงอายุ สามารถแก้ไขได้อย่างไร

เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ระบบเผาผลาญ ระบบย่อยอาหารอาจเริ่มมีปัญหา ทำให้อาจส่งผลต่อระบบขับถ่าย ท้องผูกในผู้สูงอายุ อาจสร้างความยากลำบาก ไม่สบายตัวให้กับผู้สูงอายุ อาจถ่ายอุจจาระโดยใช้เวลามากกว่าปกติ อุจจาระอาจมีลักษณะแข็ง แห้ง และก้อนเล็ก รวมถึงถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อาการท้องผูกในผู้สูงอายุ เนื่องจากอายุที่เพิ่มขึ้น ระบบเผาผลาญ ระบบย่อยอาหารของผู้สูงอายุอาจมีปัญหา ส่งผลให้ผู้สูงอายุท้องผูก โดยอาจถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช้เวลาในการถ่ายนานกว่าปกติ ลักษณะของอุจจาระเป็นก้อนเล็ก แข็ง และแห้ง รวมถึงรู้สึกเหมือนยังถ่ายไม่เสร็จ สาเหตุของท้องผูกในผู้สูงอายุ   สาเหตุของท้องผูกในผู้สูงอายุ อาจมีหลายปัจจัยดังต่อไปนี้  รับประทานอาหารที่มีใยอาหาร หรือไฟเบอร์น้อย ทำให้ลำไส้ไม่มีตัวกระตุ้นช่วยทำให้ขับถ่าย ดื่มน้ำไม่เพียงพอในแต่ละวัน ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร เนื่องจากขาดการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ และอาจทำให้ไม่สามารถขับอุจจาระออกมาได้ เพราะอุจจาระอาจแห้งเกินไป ความเครียด อาจทำให้ลำไส้หยุดบีบตัวชั่วคราว  ผู้สูงอายุอาจรับประทานยาเยอะ เช่น ยาคลายเครียด ยาแก้โรคซึมเศร้า ยาแก้ความดันสูง เนื่องจากยาบางชนิดมีฤทธิ์ลดการบีบไล่อาหาร ทำให้อุจจาระอัดเป็นก้อนแข็ง และเคลื่อนที่ยากจนกลายเป็นอาการท้องผูก  ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น ภาวะการบาดเจ็บของกระดูกและไขสันหลัง โรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดสมอง ลำไส้แปรปรวน ภาวะเรื้อรังของลำไส้ เป็นกลุ่มอาการที่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร ลำไส้อุดตัน ภาวะการบีบตัวของลำไส้ถูกรบกวนหรือมีสิ่งอุดตัน ทำให้อาหารและของเหลวไม่สามารถเคลื่อนผ่านได้ตามปกติ มะเร็งลำไส้ใหญ่ การอุดกั้นทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นก้อนเนื้องอก หรือเซลล์มะเร็ง ทำให้เกิดการตีบแคบของลำไส้ วิธีแก้ท้องผูกในผู้สูงอายุ  วิธีเหล่านี้อาจช่วยบรรเทาอาการท้องผูกในผู้สูงอายุได้ เช่น  ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

รับมือกับอาการซันดาวน์ ภาวะที่เกิดในผู้ป่วยสมองเสื่อม ช่วงพระอาทิตย์ใกล้ตกดิน

อาการซันดาวน์ (Sundown Syndrome) เป็นอาการที่พบได้ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์และผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ซึ่งมักจะเกิดในช่วงพระอาทิตย์ตกไปจนถึงช่วงค่ำ ๆ ของวัน ในช่วงนี้จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการสับสน กระวนกระวาย ปัญหาเหล่านี้อาจสร้างความลำบากใจให้กับผู้ที่ต้องดูแล วันนี้ Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับที่น่าสนใจ ในการช่วยดูแล รับมือกับอาการซันดาวน์ ในผู้ป่วยสมองเสื่อมมาให้อ่านกันค่ะ อาการซันดาวน์ คืออะไร อาการซันดาวน์ (Sundown Syndrome) เป็นพฤติกรรมที่มักจะเกิดในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ในช่วงพลบค่ำ หรือช่วงที่พระอาทิตย์ใกล้ตกดินไปจนถึงช่วงค่ำ ๆ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่สับสน ก้าวร้าว ต่อต้าน ไม่อยู่นิ่ง ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น ปีนเตียง เห็นภาพหลอน หูแว่วร่วมด้วย สาเหตุของอาการนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่จากการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนสถานที่ สิ่งแวดล้อม หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น เปลี่ยนที่นอน เปลี่ยนเวลาในการทำกิจกรรมที่เคยทำทุกวัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเหล่านี้ส่งผลกับกับอาการที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ความเหนื่อยล้าของวันและแสงที่ลดลงอาจเป็นอีกหนึ่งตัวการที่ทำให้อาการซันดาวน์กำเริบ เคล็ดลับการ รับมือกับอาการซันดาวน์ ในผู้ป่วยสมองเสื่อม อาการซันดาวน์ ที่มักจะเกิดกับผู้ป่วยสมองเสื่อมในช่วงพลบค่ำนั้นมักจะสร้างความกังวล สับสนให้กับผู้ป่วย และอาจสร้างความเหนื่อยล้าให้กับผู้ดูแลได้เช่นกัน เคล็ดลับเหล่านี้อาจช่วยบรรเทาอาการซันดาวน์ในผู้ป่วยสมองเสื่อมให้ดีขึ้นได้ ปฏิบัติตามตารางเวลา ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมมักจะมีปัญหากับการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน เมื่อกิจกรรมที่ต้องทำในแต่ละวันเปลี่ยนไป ทำให้พวกเขาไม่รู้สึกคุ้นชิน บางครั้งอาจทำให้เกิดความเครียด สับสน และอาการจะยิ่งรุนแรงขึ้นในช่วงพระอาทิตย์ตกดิน ดังนั้นการมีตารางเวลาในการทำกิจกรรม […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

อาการฉี่ไม่ออก ในผู้สูงอายุ ลูกหลานควรดูแลอย่างไร?

หากคุณตาคุณยาย หรือผู้สูงอายุในครอบครัวมี อาการฉี่ไม่ออก ลูกหลานอย่าเพิ่งนิ่งนอนใจ คิดว่าเป็นเรื่องปกติของผู้สูงอายุนะคะ เพราะปัญหาสุขภาพที่คนเรามักละเลยอย่างอาการฉี่ไม่ออกนี้ หากปล่อยไว้ในระยะยาวโดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี อาจส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคนี้อย่างละเอียดกันค่ะ อาการ ฉี่ไม่ออก (Urinary Retention) คืออะไร อาการ ฉี่ไม่ออก เป็นภาวะที่ร่างกายรู้สึกปวดปัสสาวะแต่ไม่สามารถขับปัสสาวะออกมาได้ตามปกติ เกิดจากกระเพาะปัสสาวะไม่บีบตัว หรือมีอาการท่อปัสสาวะอุดตัน ภาวะนี้แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง พบบ่อยในกลุ่มคนวัยผู้สูงอายุ และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ท่อปัสสาวะอุดตัน ในผู้สูงอายุ ท่อปัสสาวะอุดตัน เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิด อาการฉี่ไม่ออก และมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดอาการฉี่ไม่ออกได้เช่นกัน ดังนี้ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก การอุดตันของท่อปัสสาวะ กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะอ่อนแอ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่อาจส่งผลให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ ระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของปัสสาวะบกพร่อง ภาวะ ฉี่ไม่ออก กับอาการที่ลูกหลานไม่ควรละเลย เมื่อผู้สูงอายุในครอบครัวแก่ตัวลง อาจทำให้เกิดอาการหลง ๆ ลืม ๆ ไปบ้าง ลูกหลานอย่างเราจึงต้องหมั่นคอยสังเกตดูพฤติกรรมและคอยถามอาการของท่านอย่างใกล้ชิด สัญญาณและอาการของภาวะฉี่ไม่ออก หรือปัสสาวะไม่ออก แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ 1. ปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลัน (Acute Urinary […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

โรคปลายประสาทอักเสบในผู้สูงอายุที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ

อาการชาที่ปลายมือ ปลายเท้าเป็นอาการที่เดี๋ยวมาเดี๋ยวหาย จนหลายๆ คนนิ่งนอนใจ เพราะไม่คาดคิดว่าจะเป็นสัญญาณเตือนไปสู่โรคร้ายแรงอย่างอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคปลายประสาทอักเสบ คืออะไร ปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) เป็นสภาวะหนึ่งของเส้นประสาท ที่ทำหน้าที่ในการส่งคำสั่งจากระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งก็คือสมอง และไขสันหลังไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เกิดความผิดปกติ หรือเกิดโรคบางชนิดได้ หากมันเกิดความเสียหายอาจทำให้เกิดอาการ ชาตามร่างกาย กล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคปลายประสาทอักเสบสามารถส่งผลต่อเส้นประสาทต่างๆ ในร่างกายได้  ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทที่ในหลายๆ แตกต่างกันออกไปในแต่ละคน สำหรับบางคนมันอาจส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทเพียงแห่งเดียว แต่สำหรับบางคนมันอาจส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทหลายๆ เส้นในเวลาเดียวกัน ประเภทของ โรคปลายประสาทอักเสบ โรคปลายประสาทอักเสบเป็นโรคที่สามารถแบ่งออกได้ตามสาเหตุของการเกิดโรค โรคปลายประสาทอักเสบเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีอายุเกิน 55 ปี โรคปลายประสาทอักเสบแบบเดี่ยว (Mononeuropathy) โรคปลายประสาทอักเสบแบบเดี่ยว เป็นโรคที่จะเกิดความเสียหายต่อระบบประสาทส่วนปลายเพียงเส้นเดียว จึงเรียกว่า โรคปลายประสาทอักเสบแบบเดี่ยว (Mononeuropathy) ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยในการเกิดโรคปลายประสาทอักเสบแบบนี้คือ การบาดเจ็บทางร่างกายหรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ นอกจากนี้การที่เส้นประสาทถูกกดทับเป็นเวลานาน ก็สามารถทำให้เกิดได้เช่นกัน เช่น นั่งรถเข็นนานๆ นอนติดเตียง ซึ่งการเคลื่อนไหวร่างกายมีส่วนช่วยกระตุ้นได้ กลุ่มอาการประสาทมือชา (Carpal tunnel syndrome) เป็นหนึ่งในชนิดของโรคปลายประสาทอักเสบแบบเดี่ยว เป็นการที่เส้นประสาทบริเวณข้อมือถูกกดทับทำให้เกิดอาการชาที่มือ ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดกับผู้ที่ทำงานโดยการเคลื่อนไหวมือซ้ำๆ ผู้ที่ต้องพิมพ์งานทั้งวัน ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งวัน โรคปลายประสาทอักเสบแบบหลายเส้น (Polyneuropathy) โรคปลายประสาทอักเสบแบบหลายเส้น เป็นรูปแบบของโรคเส้นประสาทอักเสบรูปแบบหนึ่งซึ่งจะเกิดความผิดปกติกับเส้นประสาทส่วนปลายหลายเส้น โรคปลายประสาทอักเสบแบบหลายเส้นเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากหลายอย่างตั้งแต่การสัมผัสการสารพิษบางชนิด […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

โรคเพมฟิกอยด์ รู้ไว้ก่อนสายเกินแก้

โรคเพมฟิกอยด์ เป็นโรคภูมิต้านตนเองที่หาได้ยาก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย รวมทั้งในเด็ก แต่ส่วนใหญ่มักส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุ แม้โรค เพมฟิกอยด์ จะยังไม่มีวิธีรักษา แต่ก็มีวิธีรักษามากมายให้ได้เลือกใช้บรรเทาอาการที่เกิดขึ้น ดังนั้น หากคุณทำความรู้จักกับโรค เพมฟิกอยด์ เอาไว้ ก็จะทำให้สามารถสังเกตวามผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวเอง และเข้ารับการรักษาจากแพทย์ได้อย่างทันท่วงที เพมฟิกอยด์ คือ โรค เพมฟิกอยด์ (Bullous Pemphigoid) ส่วนใหญ่พบในวัยผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย จากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ซึ่งมีการสร้างแอนติบอดี้มาทำลายการยึดของเซลล์ผิวหนังหลุดลอกของชั้นหนังกำพร้า ออกจากผิวหนังชั้นหนังแท้ แอนตี้บอดี้เหล่านี้ก่อให้เกิดการอักเสบ อาการตุ่มน้ำพองที่ผิวหนัง พองที่ขา แขน หน้าท้อง และเยื่อบุต่าง ๆ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของ โรคเพมฟิกอยด์  สาเหตุของการเกิดโรค เพมฟิกอยด์ เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเรา ร่วมกับมีปัจจัยทางพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อมอื่น เช่น เชื้อโรคหรือสารเคมีเป็นปัจจัยกระตุ้น เป็นต้น นอกจากนั้นยังพบว่า เพมฟิกอยด์ มีความเสี่ยงสูงในวัยผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มอายุอื่น ๆ หรือบางกรณีอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ เช่น ยา ยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ที่อาจทำให้เกิดการเสี่ยงเป็นโรค เพมฟิกอยด์ ได้แก่ ยารักษาโรคสะเก็ดเงิน ยาในกลุ่มยาซัลฟาที่มีกลไกการออกฤทธิ์ช่วยรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง เป็นต้น แสงและรังสี การรักษาด้วยแสงและรังสี เพื่อรักษาสภาพผิวบางอย่างอาจกระตุ้นอาการทำให้เกิดเป็นโรค […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

อายุที่มากขึ้น ทำไมถึงทำให้คันตามผิวหนัง

อาการคัน นั้นเป็นความรู้สึกไม่พึงประสงค์ที่ทำให้คุณรู้สึกอยากที่จะเกา อาการคันนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับผิวที่มีโรคและไม่มีโรค อาการคันสามารถเกิดขึ้นได้จากปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง โรคที่เกิดกับร่างกายทุกส่วน โรคทางระบบประสาท และโรคอื่นๆ อาการนี้เป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่รับคำปรึกษาด้านผิวหนัง อาการคันในผู้สูงอายุนั้นสามารถนิยามได้ว่าเป็น อาการคันเรื้อรัง ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป อายุและอาการคัน จะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ลองมาดูกันค่ะ เช่นเดียวกันกับอวัยวะอื่นๆ ผิวหนัง นั้นจะเสื่อมสภาพตามเวลาที่ผ่านไป ชีวะวิทยาของผิวหนังเกือบทุกแง่มุมนั้นจะได้รับผลกระทบจากช่วงอายุ ความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองของหนังกำพร้าที่เป็นเกราะป้องกันของร่างกายนั้นจะลดลงตามอายุ คอลลาเจนภายนอกเยื่อหุ้มเซลล์จะอยู่ระดับของผิว กลุ่มของผิวหนังที่ให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นนั้นจะค่อยๆ หลุดลอกออก ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างอันตรายต่อคุณสมบัติทางกลุ่มของผิวหนังและการทำงานของเซลล์ผิวหนัง การเปลี่ยนแปลงของอายุและอาการคัน อายุและอาการคัน การมีอายุเพิ่มมากขึ้นนั้นจะส่งผลกระทบต่อองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการที่ทำให้เกิดอาการคันผิว ซึ่งมีทั้งการทำงานเป็นเกราะป้องกันของผิวหนังชั้นนอก ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบประสาท เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ทำให้การผลิตไขมันบนชั้นผิวหนังที่ช่วยรักษาระดับของเกราะที่หนังกำพร้านั้นลดลง เริ่มตั้งแต่ช่วงประมาณอายุ 55 ปี ค่า pH ของผิวชั้นหนังกำพร้าจะมีความเป็นกรดลดลง ที่จำเป็นสำหรับการสร้างไขมันที่เป็นส่วนประกอบของเกราะป้องกันการสูญเสียน้ำที่ผิวชั้นนอกนั้นต้องการค่า pH ที่เป็นกรด เมื่อมีอายุ 70 ปี อัตราในการผลิตสารตั้งต้นของชั้นไขมันนั้นจะลดลง ส่งผลให้ไขมันที่จะรักษาระดับของเกราะผิวนั้นไม่เพียงพอ การที่เกราะป้องกันของผิวชั้นนอกไม่เพียงพอนั้นอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเกิดโรคผื่นแพ้สัมผัส ซึ่งจะอธิบายว่าทำไมผู้สูงอายุจึงมักจะบ่นถึงอาการระคายเคืองและอาการคันจากการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผ้าที่เคยใช้ได้ในสมัยก่อน การสูญเสียต่อมเหงื่อและต่อมน้ำมันบนผิวก็สามารถนำไปสู่อาการคันเนื่องจากผิวแห้ง ซึ่งเป็นโรคผิวหนังที่พบได้มากที่สุดในผู้สูงอายุ   ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับระบบภูมิคุ้มกันเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้นจะเรียกว่า “เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมถอยลง” (immunosenescence) ระบบภูมิคุ้มกันที่มีอายุเพิ่มขึ้นนั้นมีแนวโน้มที่จะเกิดการอักเสบเนื่องจากเซลล์ภูมิคุ้นกันที่ผิดปกติ ในผู้ป่วยบางรายนั้น อาการนี้อาจส่งผลให้เกิดอาการแพ้และทำให้ร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งที่ทำให้เกิดโรคติดต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ สภาวะทางประสาท เช่น โรคกระดูกสันหลังเสื่อมนั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุ ในบางกรณี เซลล์ประสาทรับความรู้สึกอาจจะได้รับผลกระทบและทำให้เกิดอาการคัน โรคเส้นประสาทจากโรคเบาหวาน (Diabetes […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ผู้ชายกับผู้หญิง...รู้มั้ย ใครแก่เร็วกว่า กัน?

ผู้ชายกับผู้หญิง นอกจากจะมีความแตกต่างกันทางด้านสรีระและอะไรอีกหลายๆ อย่างแล้ว ความแก่ก็ยังเกิดขึ้นแตกต่างกันด้วย ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แล้วผู้ชายกับผู้หญิง ใครแก่เร็วกว่า กัน ลองอ่านรายละเอียดนี้ดูแล้วจะรู้ ใครแก่เร็วกว่า ระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย ฮอร์โมน ทั้งผู้หญิงและผู้ชายเมื่อมีอายุมากขึ้นก็จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเพศ โดยผู้หญิงมักจะเกิดอาการของวัยหมดประจำเดือน ซึ่งจะเกิดในช่วงที่มีอายุประมาณ 50 ปี ซึ่งผู้หญิงจะหยุดมีรอบเดือน และรังไข่ก็หยุดผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนด้วย ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยๆ ก็คือร้อนวูบวาบ อ่อนเพลีย ภาวะช่องคลอดแห้ง และมีความต้องการทางเพศต่ำ ส่วนผู้ชาย…ความแก่ชราไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบปุบปับเหมือนผู้หญิง โดยจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า ซึ่งระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะลดลงอย่างช้าๆ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า ‘ผู้ชายวัยทอง‘ โดยระดับเทสโทสเตอโรนจะลดลงโดยเฉลี่ยปีละ 1 เปอร์เซ็นต์ หลังจากอายุ 30 ปีไปแล้ว โดยระดับฮอร์โมนที่ลดลงนี้จะทำให้เกิดอาการต่างๆ อย่างเช่น เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ความต้องการทางเพศลดลง และรูปแบบการนอนเปลี่ยนไป ซึ่งไม่เหมือนอาการวัยทองของผู้หญิง ที่สิ้นสุดการเจริญพันธุ์ไปเลย แต่ผู้ชายยังสามารถมีลูก และผลิตเชื้ออสุจิได้อยู่ ความหนาของผิวหนัง ความที่ผู้ชายมีผิวที่หนากว่า ก็เลยทำให้เกิดริ้วรอยได้ยากกว่าผู้หญิง ที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องจากระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนของผู้ชาย จะทำให้ผู้ชายมีผิวหนากว่าของผู้หญิงประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ผู้ชายยังมีคอลลาเจนหนาแน่นกว่าด้วย รวมทั้งมีผิวที่หยาบกว่าและมีความชุ่มชื้นตามธรรมชาติมากกว่า เนื่องจากผู้ชายจะมีเหงื่อออกมากกว่า และมีกรดแลคติคในเหงื่อมากกว่า ปัจจัยทางด้านน้ำหนัก ถึงแม้คนเราจะค่อยๆ สูญเสียมวลกล้ามเนื้อหลังวัย 30 ปี แต่ผู้หญิงกับผู้ชายจะมีน้ำหนักขึ้นต่างกัน ซึ่งสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริการายงานว่า […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม