backup og meta

เคลียร์ ! รูหู ให้สะอาด ห่างไกลจาก ขี้หูสะสม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Agil Tonjoo · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    เคลียร์ ! รูหู ให้สะอาด ห่างไกลจาก ขี้หูสะสม

    แน่นอนว่า ขี้หูสะสม สามารถเกิดได้กับทุกคนอยู่แล้ว ใครที่ชอบเอามือไป แคะ แกะ เกา หรือล้วงขี้หูออกด้วยนิ้วเปล่า ไม่ได้หมายความว่าในช่องหูของคุณจะสะอาดขึ้นนะ แต่ยิ่งกลับทำให้มีขี้หูมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ แถมยังติดเชื้อโรคจากนิ้วมือของเราที่สัมผัสวัตถุรอบข้างไปได้โดยตรงอีกต่างหาก มาเคลียร์รูหูให้สะอาด และปลอดภัยไปพร้อมกันกับ Hello คุณหมอ กันเถอะ

    การสะสมของขี้หู (Earwax buildup) คือ

    ภายในช่องหูของคนเรานั้นจะผลิตน้ำมันที่มีลักษณะสีเหลืองออกมาจากต่อมไขมันคล้ายกับขี้ผึ้ง ที่เรียกว่า (cerumen) ซึ้งขี้หูเป็นด่านแรกที่ป้องกันดักจับฝุ่นละออง สิ่งแปลกปลอม และจุลินทรีย์ ที่เข้ามาภายในหู นอกจากนี้ยังช่วยปกป้องการระคายเคืองอันเนื่องมาจากน้ำ เช่น น้ำเข้าหูส่งผลให้หูอื้อ

    หากไม่ทำความสะอาด รูหู สามารถส่งผลเสียอย่างไรบ้าง

    ขี้หูมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย และมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย แต่หากต่อมไขมันผลิตขี้หูมากเกินไปจะสามารถก่อตัวเป็นก้อนสีเหลืองแข็ง ยิ่งสะสมเป็นเวลานาน ขนาดของขี้หูนี้จะขยายใหญ่ขึ้นอยู่ในส่วนลึกในบริเวณช่องหู อาจทำให้คุณสูญเสียการได้ยินในแบบชั่วคราว หรือถาวร

    รีบเคลียร์ ขี้หูสะสม เมื่อเริ่มมีสัญญาณเหล่านี้เตือนคุณ

  • อาการคัน
  • หูอื้อ
  • อาการปวดหูหน่วงๆ จนถึงรุนแรง
  • รู้สึกเจ็บภายในช่องหูของคุณ
  • มีน้ำสีเหลืองแฉะอยู่บริเวณช่องหู
  • บางรายสามารถมีอาการเวียนหัว ไข้ขึ้น
  • ไอ เนื่องจากแรงกดดันจากการอุดตันกระตุ้นเส้นประสาทในหู
  • กลิ่นอันไม่พึงประสงค์จากช่องหู
  • ขี้หูในเด็ก : หากไม่มั่นใจในอาการว่าลูกของคุณมีขี้หูสะสม ควรเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรเฉพาะทาง เพื่อตรวจสอบขอแนะนำในการดูแลช่องหูของลูกคุณเพราะขี้หูสะสมสามารถทำลายชั้นหูของเด็กได้

    ขี้หูในผู้สูงอายุ : ขี้หูสะสมยังคงเป็นปัญหาในวัยผู้สูงอายุ เนื่องจากบางคนอาจปล่อยให้ขี้ผึ้งสีเหลืองนี้สะสมจนได้เสียงดูอู้อี้ในช่องหู เริ่มได้ยินเสียงรอบตัวติดขัด จนไปถึงขั้นการสูญเสียการได้ยิน

    จบปัญหา ขี้หูสะสม ให้สุขภาพช่องหูของคุณสะอาด ด้วยของใช้ในบ้าน

    • น้ำอุ่น : น้ำอุ่นช่วยให้ขี้หูอ่อนนุ่ม และสามารถขจัดฝุ่นและอื่นๆ ที่อยู่ภายในช่องหู วิธีการทำความสะอาด คือ ต้มน้ำในอุณหภูมิที่พอไม่ร้อนจนเกิดไป เอียงศีรษะแล้วหยดน้ำอุ่นลงไป หรือนำคัตตอนบัตชุบน้ำอุ่นแล้วเช็ดออกได้เลย เหมาะสำหรับคนที่มีเวลาน้อยซึ่งทำให้คุณทำความสะอาดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
    • แอลกอฮอล์ (Alcohol) : เป็นที่กันรู้ดีอยู่แล้วว่าแอลกอฮอล์มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค แบคทีเรีย ทั้งนี้คุณควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ หรืออ่านฉลากบนผลิตภัณฑ์เนื่องจากแอลกอฮอล์มีหลายรูปแบบที่มีลักษณะการใช้ต่างกัน
    • เบบี้ออยล์ (Baby Oil) : เบบี้ออยล์เป็นน้ำมันซึ่งมีแร่ผสม และกลิ่นหอมอ่อน ๆ มีมอยส์เจอร์ไรเซอร์ (Moisturizer) ที่มีประสิทธิภาพในเรื่องของการหล่อลื่น ทำให้ขี้หูนุ่มขึ้นคลายความแข็งตัว ง่ายต่อการทำความสะอาด หยดเบบี้ออยล์บนสำลีก้อนประมาณ 2-3 หยด อุดหูไว้ประมาณ 5-10 นาที จากนั้นทำความสะอาดด้วยคัตตอนบัตเพื่อทำการเช็ดขี้หูออก ควรทำทุกๆ 1ครั้ง ต่อ 2 สัปดาห์
    • น้ำเกลือ : ประโยชน์ของการใช้น้ำเกลือในการเคลียร์รูหูให้สะอาดนั้น ทำได้โดยน้ำเกลือ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำอุ่นครึ่งแก้ว คนจนเกลือละลายทั้งหมด เอียงศีรษะและหยดน้ำเกลือลงไป 2-3 หยด ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 นาที แล้วเช็ดออก
    • น้ำมันมะพร้าว (Coconut Oil) : น้ำมันมะพร้าวมีประโยชน์อย่างมากในการกำจัดขี้หู เพราะมีกรดไขมันที่ปลอดภัยสามารถใช้ได้โดยไม่ต้องกังวล เนื่องจากเป็นน้ำมันจากธรรมชาติมีประสิทธิภาพต่อการสลายจุลินทรีย์ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในช่องหู เอียงศีรษะเล็กน้อย หรือนอนตะแคง และหยดนำน้ำมันพร้าวลงในช่องหู ประมาณ 2-3 หยด ปล่อยทิ้งไว้ 10 นาที จากนั้นค่อยๆทำความสะอาดด้วยสำลีเช็ดหูเพื่อนำสิ่งสกปรกออก
    • สารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) : เป็นสารละลายที่ตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันช่วยในป้องกันการติดเชื้อ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์มักเป็นส่วนประกอบที่ผสมอยู่ในยาหยอดหู ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้ายขายยาทั่วไปที่จำหน่ายโดยเภสัชกร นำสารละลายนี้หยดลงไปในรูหูของคุณพร้อมกับเอียงศีรษะในท่าทางที่ถนัด ปล่อยทิ้งไว้สักพักแล้วค่อยๆเอียงศีรษะกลับที่เดิม จะทำให้คุณรู้สึกเหมือนมีน้ำบางอย่างไหลออกมานั่นก็คือ ขี้หูสะสมของเรานั่นเอง และทำการเช็ดออกด้วยสำลี หรือคัตตอนบัตเพื่อความสะอาด

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Agil Tonjoo · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา