backup og meta

นอนหลับหลายครั้งใน 24 ชั่วโมง (Polyphasic Sleep) อันตรายหรือไม่

นอนหลับหลายครั้งใน 24 ชั่วโมง (Polyphasic Sleep) อันตรายหรือไม่

โดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่มักจะมีรูปแบบการนอนแบบโมโนเฟส (Monophasic Sleep Pattern) เป็นการนอนหลับแบบยาว ๆ คือการนอน 7-8 ชั่วโมงต่อวันนั่นเอง แต่รูปแบบการนอนหลับแบบ นอนหลับหลายครั้งใน 24 ชั่วโมง (Polyphasic Sleep) นั้นในแต่ละวันจะมีการนอนมากถึง 3-4 ครั้งต่อวัน วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการนอนแบบ Polyphasic Sleep มาให้อ่านกันค่ะ ว่าการนอนรูปแบบนี้ส่งผลกระทบต่อร่างกายได้อย่างไรบ้าง

Polyphasic Sleep หรือ นอนหลับหลายครั้งใน 24 ชั่วโมง คืออะไร

การนอนหลับหลายครั้งใน 24 ชั่วโมง (Polyphasic Sleep) หมายถึง ในหนึ่งวันจะมีการนอนหลายเฟส ซึ่งตารางการนอนหลับแบบ Polyphasic Sleep นั้นมีหลายรูปแบบ เช่น

รูปแบบตารางการนอนของ Dymaxion

ตารางการนอนหลับของ Dymaxion จะมีการงีบหลับ 30 นาที 4 ครั้ง ทุก ๆ 6 ชั่วโมงสำหรับการนอนหลับทั้งหมด 2 ชั่วโมงต่อวัน

12:00 am to 12:30 am หลับ
12:30 am to 6:00 am ตื่น
6:00 am to 6:30 am หลับ
6:30 am to 12:00 pm ตื่น
12:00 pm to 12:30 pm หลับ
12:30 pm to 6:00 pm ตื่น
6:00 pm to 6:30 pm หลับ
6:30 pm to 12:00 am ตื่น

รูปแบบตารางการนอนของ Uberman Schedule

ตารางการนอนของ Uberman นั้นมีหลายรูปแบบ แต่รูปแบบหนึ่งที่พบได้บ่อย ได้แก่ การงีบหลับ 20 นาที ทุก ๆ 4 ชั่วโมงรวมแล้วมีการนอนหลับ 3 ชั่วโมงต่อวัน

12:00 am to 12:20 am หลับ
12:20 am to 4:00am ตื่น
4:00 am to 4:20 am หลับ
4:20 am to 8:00 am ตื่น
8:00 am to 8:20 am หลับ
8:20 am to 12:00 pm ตื่น
12:00 pm to 12:20 pm หลับ
12:20 pm to 4:00 pm ตื่น
4:00 pm to 4:20 pm หลับ
4:20 pm to 8:00 pm ตื่น
8:00 pm to 8:20 pm หลับ
8:20pm 12:00 am ตื่น

รูปแบบตารางการนอนของ Everyman

ตารางการนอนของ Everyman ประกอบด้วยการนอนหลับ 3 ชั่วโมงต่อคืน โดยงีบหลับ 20 นาที 3 ครั้งตลอดทั้งวัน มีหลายรูปแบบ ซึ่งความยาวของการงีบหลับและการนอนหลับตอนกลางคืนแตกต่างกันไป

12:00 am to 3:00 am หลับ
3:00 am to 8:00 am ตื่น
8:00 am to 8:20 am หลับ
8:20 am to 1:20 pm ตื่น
1:20 pm to 1:40 pm หลับ
1:40 pm to 6:40 pm ตื่น
6:40 pm to 7:00 pm หลับ
7:00 pm to 12:00 am หลับ

ประโยชน์จากการ นอนหลับหลายครั้งใน 24 ชั่วโมง

ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการนอนแบบ Polyphasic Sleep นั้นเป็นรูปแบบการนอนหลับที่ดีกว่าการนอนยาวเพียงครั้งเดียว แต่สำหรับบางสถานการณ์ เช่น ต้องอ่านหนังสือสอบ นักเดินเรือ เพราะการพักนอนหลับหลาย ๆ ครั้ง ใน 24 ชั่วโมงนั้นช่วยลดการอดนอน และยังช่วยขจัดอาการง่วงที่มักจะเพิ่มขึ้นเมื่ออดนอนนาน ๆ การนอนหลับในรูปแบบนี้จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องอยู่ทำกิจกรรมตลอดทั้งคืน

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อ นอนหลับหลายครั้งใน 24 ชั่วโมง

จากการศึกษาในปี 2017 พบว่า นักศึกษาที่มีรูปแบบการนอนหลับแบบหลายครั้งใน 24 ชั่วโมง มีความสัมพันธ์กับผลการเรียนที่แย่ลง นอกจากนี้ การนอนหลับแบบ Polyphasic Sleep ยังลดชั่วโมงการนอนโดยรวมซึ่งอาจทำให้ส่งผลต่อสุขภาพเช่นเดียวกับการอดนอนรูปแบบอื่น ๆ เช่น ซึ่งการอดนอนเรื้อรังอาจทำให้ส่งผลต่อสุขภาพ ดังนี้

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Is Polyphasic Sleep, and Is It Safe?. https://www.healthline.com/health/polyphasic-sleep. Accessed January 19, 2021

What is biphasic and polyphasic sleep?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/319425. Accessed January 19, 2021

Pros and Cons of a Polyphasic Sleep Schedule. https://www.verywellhealth.com/pros-and-cons-of-a-polyphasic-sleep-schedule-4165843. Accessed January 19, 2021

What Is Segmented Sleep and Is It Healthy?. https://www.webmd.com/sleep-disorders/features/what-is-segmented-sleep. Accessed January 19, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/02/2021

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีนอนหลับไว ภายใน 10 วินาที 60 วินาที และ120 วินาที ไหนลองซิ ว่าจริงหรือเปล่า?

นอนไม่ค่อยหลับ นอนหลับยาก ต้องลอง 7 อาหารช่วยให้หลับง่าย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 03/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา