backup og meta

แม่ท้อง ท้องเสีย บรรเทาอาการอย่างไรดี

แม่ท้อง ท้องเสีย บรรเทาอาการอย่างไรดี

แม่ท้อง ท้องเสีย และปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย เช่น ท้องผูก โรคลำไส้แปรปรวน โรคโครห์น อาจเกิดขึ้นบ่อยในช่วงตั้งครรภ์ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และอาหารการกินที่เปลี่ยนไป รวมถึงอาจสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ส่วนใหญ่อาการท้องเสียจะหายภายในเวลา 2-3 วัน แต่หากท้องเสียนานกว่านั้นควรเข้าพบคุณหมอทันที

[embed-health-tool-due-date]

แม่ท้อง ท้องเสีย เกิดจากสาเหตุใด

ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์ขับถ่ายมากกว่า 3 ครั้ง/วัน อาจหมายถึงอาการท้องเสีย ซึ่งท้องเสียระหว่างตั้งครรภ์เป็นอาการที่พบบ่อย โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ได้แก่

  • เชื้อไวรัส และแบคทีเรีย
  • ไวรัสลงกระเพาะ (Stomach flu)
  • ปรสิตในลำไส้
  • อาหารเป็นพิษ
  • ยาบางชนิด

นอกจากนี้ การเป็นโรคบางโรคสามารถทำให้ท้องเสียบ่อยขึ้น ได้แก่ โรคลำไส้แปรปรวน โรคโครห์น (Crohn’s Disease) โรคเซลิแอค (Celiac Disease) โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล (Ulcerative Colitis)

ส่วนสาเหตุของอาการท้องเสีย ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ ได้แก่

  • การเปลี่ยนแปลงการกินอาหาร ผู้หญิงหลายคนต้องเปลี่ยนแปลงการกินอาหารอย่างมากในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงการกินอาหารอย่างกะทันหันอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
  • ไวต่ออาหาร ในช่วงตั้งครรภ์อาจเกิดภาวะไวต่ออาหาร โดยอาหารที่เคยกินแล้วไม่เป็นอะไร อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดและท้องเสีย
  • วิตามินก่อนคลอด การกินวิตามินก่อนคลอดดีต่อสุขภาพและดีต่อการเจริญเติบโตของทารก อย่างไรก็ตาม วิตามินเหล่านี้อาจทำให้ไม่สบายท้อง และอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ ดังนั้น ควรปรึกษาคุณหมอก่อนกินวิตามินจะเป็นการดีที่สุด
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาจทำให้ระบบย่อยอาหารช้าลง จนอาจเกิดอาการท้องผูก ขณะเดียวกันฮอร์โมนก็สามารถเร่งระบบย่อยอาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย
  • ช่วงตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 ยิ่งใกล้วันคลอดอาจพบว่าอาการท้องเสียเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากร่างกายกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงบางคนไม่มีอาการท้องเสียบ่อยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ดังนั้นอาการของแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป

วิธีบรรเทาอาการ คนท้อง ท้องเสีย

ส่วนใหญ่อาการท้องเสียจะหายภายในเวลา 2-3 วัน ซึ่งสิ่งที่อาจเกิดขึ้น คือ ภาวะขาดน้ำ เนื่องจากท้องเสียทำให้ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ จึงอาจทำให้ร่างกายเสียน้ำมาก และภาวะขาดน้ำอาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง โดยเฉพาะกับผู้หญิงตั้งครรภ์ ดังนั้นจึงต้องดื่มน้ำให้มากเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ นอกจากนี้ผู้หญิงตั้งครรภ์อาจใช้วิธีเหล่านี้ เพื่อบรรเทาอาการท้องเสีย

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาหารบางประเภทสามารถทำให้อาการท้องเสียแย่ลง เช่น อาหารไขมันสูง ของทอด อาหารรสเผ็ด อาหารไฟเบอร์สูง นมและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว
  • ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย ดังนั้น ถ้ายาที่คุณกินทำให้เกิดอาการท้องเสีย ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อเปลี่ยนยา
  • ไม่ควรซื้อยาแก้ท้องเสียมากินเองโดยไม่ปรึกษาคุณหมอ เพราะผลข้างเคียงของยาอาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบคุณหมอ

หากอาการท้องเสียไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วันควรไปพบคุณหมอ นอกจากนี้ภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ได้ ซึ่งหากมีอาการดังต่อไปนี้ควรไปพบคุณหมอทันที

  • มีอาการของภาวะขาดน้ำ เช่น ปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม ปากแห้ง กระหายน้ำ ปวดหัว และวิงเวียนศีรษะ
  • เมื่อจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อรักษาอาการท้องเสีย
  • ท้องเสียปนเลือดหรือหนอง หรืออุจจาระเป็นสีดำ
  • มีไข้ หรือปวดท้องอย่างรุนแรง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Diarrhea During Pregnancy. http://americanpregnancy.org/pregnancy-concerns/diarrhea-during-pregnancy/. Accessed on January 24 2019.

Diarrhea. https://www.webmd.com/baby/diarrhea. Accessed on January 24 2019.

Diarrhea during pregnancy. https://www.babycenter.com/pregnancy/your-body/diarrhea-during-pregnancy_20000032. Accessed February 10, 2022

Diarrhoea and vomiting in pregnancy. https://www.tommys.org/pregnancy-information/pregnancy-symptom-checker/diarrhoea-and-vomiting-pregnancy. Accessed February 10, 2022

Is it normal to have diarrhoea in pregnancy?. https://www.babycentre.co.uk/x1049142/is-it-normal-to-have-diarrhoea-in-pregnancy. Accessed February 10, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/08/2023

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ท้อง 5 สัปดาห์ มีเลือดออกเหมือนประจําเดือน อันตรายไหม

คนท้องเบื่ออาหาร เป็นอันตรายต่อแม่และเด็กหรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 08/08/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา