backup og meta

ผู้ป่วยมะเร็งตับ กับออกกำลังกายที่เหมาะสม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ผู้ป่วยมะเร็งตับ กับออกกำลังกายที่เหมาะสม

    จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) มะเร็งตับเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่สำคัญประการหนึ่งของโลก สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่า คุณไม่สามารถมีชีวิตรอดจากมะเร็งตับได้ มีหลายวิธีสำหรับคุณที่จะจัดการผลจากมะเร็งตับโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการใช้ชีวิต การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวประการหนึ่งก็คือ การออกกำลังกายเป็นประจำ ก่อนเริ่มต้นออกกำลังกายประเภทใดๆ ต่อไปนี้เป็นบางสิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับ ผู้ป่วยมะเร็งตับ กับการออกกำลังกาย

    ประโยชน์ของการออกกำลังกายต่อสุขภาพตับ

    การออกกำลังกายเป็นประจำ สามารถช่วยป้องกันไม่ให้โรคตับมีอาการแย่ลงได้ ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำมีการรายงานว่า มีสุขภาพดีขึ้น ร่างกายแข็งแรงขึ้น และสุขภาพจิตดีขึ้น นอกจากนี้ งานวิจัยยังเผยว่าผู้ที่ออกกำลังกายยังมักตอบสนองต่อการรักษาได้ดีขึ้น และใช้เวลาในการรักษาตัวน้อยลง เมื่อคุณเป็นมะเร็งตับ ข้อดีของการออกกำลังกายมีดังนี้

    • การออกกำลังกายทำให้คุณรู้สึกถึงสุขภาพที่ดี และภาพลักษณ์ของตัวเองที่ดีขึ้น ซึ่งสามารถทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นในทางจิตใจ สุขภาพจิตที่ดีสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีผลดีในการต้านมะเร็งตับ
    • การออกกำลังกายเป็นการกระตุ้นพลังงาน ผู้ป่วยมะเร็งตับส่วนใหญ่มีอาการอ่อนเพลีย ซึ่งพบได้มากที่สุด และส่งผลมากต่อผู้ป่วยมากที่สุด นอกเหนือจากอาการปวด อาการอ่อนเพลียอาจเป็นผลจากกระแสเลือดที่ไหวเวียนไม่ดี การออกกำลังกายจะทำให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น และมีพลังงานเพิ่มขึ้น
    • นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังสามารถลดปริมาณไขมันในร่างกายได้อีกด้วย ดังนั้น จึงช่วยลดไขมันในตับ และสามารถลดแรงกดทับที่ตับลงได้

    การออกกำลังกายที่เน้นการเกร็งและคลายกล้ามเนื้อในส่วนกลางลำตัว สามารถช่วยให้ร่างกายของคุณได้ออกกำลังกาย ซึ่งรวมถึงตับด้วย การออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มกระแสเลือดที่ไหลไปยังตับ ซึ่งสามารถป้องกันตับจากการสูญเสียเนื้อเยื่อได้ (atrophy)

    การออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับ

    การออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับ มีความแตกต่างจากการออกกำลังกายสำหรับผู้ที่มีสุขภาพดี โดยปัจจัยสี่ประการเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่จำเป็นต้องมี เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งตับ ได้แก่

  • การออกกำลังกายที่ทำได้ง่าย
  • การออกกำลังกายที่เรียนรู้ได้ง่าย
  • ไม่ต้องใช้ความพยายามมากจนเกินไป
  • สามารถออกกำลังกายได้โดยการนอนและนั่ง โดยมีความเป็นส่วนตัวที่บ้าน
  • นักวิจัยส่วนใหญ่แนะนำว่า การผสมผสานการออกกำลังกายแบบแอโรบิกและการออกกำลังกายโดยการใช้น้ำหนัก ไม่ว่าจะเป็นการยกน้ำหนัก หรือการใช้ท่าออกกำลังกายที่ใช้น้ำหนักตัวเป็นแรงต้าน เป็นสิ่งจำเป็นเมื่อเป็นมะเร็งตับ

    การออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่เน้นระบบหัวใจและหลอดเลือด สามารถเพิ่มระดับออกซิเจนในกระแสเลือด การออกกำลังกายแบบแอโรบิกยังสามารถทำได้ง่ายสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับ เนื่องจากเป็นการเคลื่อนไหวกลุ่มกล้ามเนื้อขนาดใหญ่แบบซ้ำๆ ที่เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และเปลี่ยนแปลงรูปแบบการหายใจ การเคลื่อนไหวเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ไม่หนักเกินไปสำหรับร่างกายของคุณ ในขณะที่สามารถเพิ่มปริมาณออกซิเจนที่หายใจเข้า และเร่งการลำเลียงออกซิเจน ไปยังอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เช่น ตับ

    การออกกำลังโดยการยกน้ำหนัก (Weight training) ทำให้ทั้งกระดูกและกล้ามเนื้อมีความแข็งแรงมากขึ้น โรคตับมักทำให้กระดูกมีโอกาสที่จะเกิดภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis) ได้ง่ายขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้การรักษาความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อ จึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ การออกกำลังโดยการยกน้ำหนัก ยังลดไขมันในร่างกาย เพิ่มมวลร่างกายที่ปราศจากไขมัน และส่งผลต่อวิธีการย่อยอาหาร และการใช้สารอาหารของร่างกาย

    เมื่อคุณเริ่มการเคลื่อนไหวเหล่านี้ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันของคุณ สุขภาพจิตก็จะสามารถดีขึ้นได้ หลังจากมีการออกกำลังกายดังกล่าวเพียงสองสามสัปดาห์ เมื่อคุณสามารถควบคุมอาการต่างๆ ของมะเร็งตับในระหว่างการรักษาได้ การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องสามารถช่วยคุณหลังการรักษา และส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณในระยะยาวได้

    ส่วนหนึ่งของการดูแลรักษาตนเองที่ดี ก็คือการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ การออกกำลังกายสามารถทั้งทำให้ร่างกายโดยรวมดีขึ้น และส่งผลดีต่อการทำงานของตับ การหาเวลาสำหรับการออกกำลังกาย ไม่เพียงแต่ช่วยเกี่ยวกับตับเท่านั้น แต่ยังช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้อีกด้วย

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา