backup og meta

หุ่นแบบ Ectomorph (ผอมแห้ง) ออกกำลังกายและควบคุมอาหารอย่างไรให้เหมาะสม

หุ่นแบบ Ectomorph (ผอมแห้ง) ออกกำลังกายและควบคุมอาหารอย่างไรให้เหมาะสม

ลักษณะรูปร่างของคนเรานั้น สามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ เอกโตมอร์ฟ Ectomorph (รูปร่างผอม) เอนโดมอร์ฟ Endomorph (รูปร่างอ้วนกลม) และ มีโซมอร์ฟ Mesomorph (รูปร่างสมส่วน) ซึ่งรูปร่างที่แตกต่างกันไปทั้ง 3 ประเภทนี้ ก็อาจจำเป็นที่จะต้องเลือกรับประทานอาหารและออกกำลังกายให้เหมาะสมกับรูปร่างของตนเอง สำหรับวันนี้ Hello คุณหมอ จะพาคุณผู้อ่านไปดูว่า ถ้าคุณมี หุ่นแบบ Ectomorph คุณจะต้องควบคุมอาหารและออกกำลังกายแบบใด จึงจะถือว่าเหมาะสมกับ รูปร่างแบบเอกโตมอร์ฟ

หุ่นแบบ Ectomorph คืออะไร

รูปร่างแบบเอกโตมอร์ฟ

หุ่นแบบเอกโตมอร์ฟ คือ คนที่มีรูปร่างผอม บาง โครงกระดูกเล็ก มีไขมันในร่างกายน้อย ไม่ค่อยมีกล้ามเนื้อ หรือที่มักจะเรียกกันว่าผอมแห้งนั่นเอง

โดยทั่วไปแล้ว ผู้คนมักจะกังวลกับการลดน้ำหนัก เพราะลดเท่าไหร่ก็ไม่ลงสักที แต่คนที่มี รูปร่างแบบเอกโตมอร์ฟ (Ectomorph) จะมีปัญหาที่ตรงกันข้าม นั่นก็คือ จะประสบกับปัญหาเรื่องของการเพิ่มน้ำหนัก เนื่องจากระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งฟังดูเหมือนจะเป็นข้อดี เพราะไม่ว่าจะกินอะไรเข้าไปก็จะไม่ทำให้อ้วน

อย่างไรก็ตามข้อเสียที่ซ่อนอยู่ของหุ่นประเภทนี้ก็คือ เมื่ออายุมากขึ้นระบบเผาผลาญก็จะเริ่มทำงานได้ช้าลง จึงอาจจะส่งผลทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง เนื่องจากร่างกายไม่มีมวลกล้ามเนื้อสะสมที่เพียงพอ

หุ่นแบบEctomorph ควรออกกำลังกายแบบไหน

สำหรับคนที่มี รูปร่างแบบเอกโตมอร์ฟ (Ectomorph) ควรจะต้องเน้นการออกกำลังกายที่สร้างมวลกล้ามเนื้อ เพื่อให้มีรูปร่างที่สมส่วนและมีน้ำหนักที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไป โดยกีฬาหรือการออกกำลังกายที่เหมาะสม เช่น

  • การคาร์ดิโออย่างต่อเนื่อง (Steady state training) หรือ SST
  • การยกน้ำหนัก
  • การเล่นเวท
  • การยกดัมเบล

นอกจากนี้ผู้ที่มี รูปร่างแบบเอกโตมอร์ฟ (Ectomorph) ยังสามารถออกกำลังกายเบาๆ ที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องได้อีกด้วย เช่น

  • การวิดพื้น
  • การสควอท
  • การกระโดดตบ

หุ่นแบบEctomorph ควรกินอาหารแบบไหนถึงจะดี

ข้อดีของคนที่มี รูปร่างแบบเอกโตมอร์ฟ (Ectomorph) คือ ระบบเผาผลาญสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว และร่างกายมีการตอบสนองที่ดีต่อคาร์โบไฮเดรต สามารถย่อยคาร์โบไฮเดรตมาเป็นพลังงานแก่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้น จึงสามารถที่จะรับประทานอะไรก็ได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะอ้วน อย่างไรก็ตาม แม้จะสามารถรับประทานได้ทุกอย่าง แต่ก็อาจจำเป็นจะต้องเลือกรับประทานให้เหมาะสมเพื่อผลลัพธ์ในการสร้างกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะสารอาหารประเภทโปรตีน และคาร์โบไฮเดรต เพราะร่างกายสามารถที่จะตอบสนองได้ดี นอกจากนี้ ยังมีเคล็ดลับการรับประทานอาหารแบบพิเศษสำหรับคนที่มีรูปร่างผอมแห้งโดยเฉพาะด้วย ดังนี้

  • กินอาหารทุกๆ 2 ชั่วโมง หรือแบ่งอาหารออกเป็นมื้อเล็กๆ 6 มื้อ เนื่องจากร่างกายสามารถที่จะเผาผลาญได้เร็ว จึงไม่ควรปล่อยให้ตัวเองรู้สึกหิว แคลอรี่ส่วนที่เกินก็จะถูกกักเก็บไว้เป็นไขมัน เนื่องจากร่างกายไม่สามารถจะใช้พลังงานได้ทั้งหมดในคราวเดียว
  • ดื่มน้ำให้มากๆ สิ่งสำคัญสำหรับการสร้างกล้ามเนื้อคือควรจะต้องดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อมีปริมาณน้ำที่เพียงพอ ไม่ให้กล้ามเนื้อสูญเสียการหดตัว และยังช่วยลำเลียงสารอาหารต่างๆ ไปทั่วทั้งร่างกาย โดยเฉพาะโปรตีน
  • เน้นกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต เพราะร่างกายสามารถจะย่อยคาร์โบไฮเดรตแล้วแปรเปลี่ยนมาเป็นพลังงานได้ดี
  • อย่าขาดโปรตีน เพราะโปรตีนมีส่วนช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ
  • รับประทานผัก ผลไม้ และธัญพืชต่างๆ เพื่อให้ได้ไฟเบอร์ที่เพียงพอ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How to Eat and Train for an Ectomorph Body Type. https://www.acefitness.org/education-and-resources/lifestyle/blog/5102/how-to-eat-and-train-for-an-ectomorph-body-type/. Accessed on May 26, 2020.

Ectomorph Diet: Food List, Sample Menu, Benefits, More. https://www.everydayhealth.com/diet-nutrition/ectomorph-diet/. Accessed on May 26, 2020.

The Ectomorphic Body Type – Everything You Need To Know. https://blog.mindvalley.com/ectomorphic/. Accessed on May 26, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/06/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

หุ่นเฟิร์มสวยในวัย 40 ด้วยเคล็ดลับลดน้ำหนักเหล่านี้

หุ่นแบบ Endomorph (อ้วนกลม) หุ่นแบบนี้ ดูแลยังไงดี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 09/06/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา