ทางจิตใจ
การแผดเสียงดังด้วยอารมณ์ที่ไม่ดีใส่เด็ก ๆ อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นภายในจิตใจและสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมองส่วนอะมิกดะลา (Amygdala) ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ทำงานทางด้านอารมณ์ และเพิ่มฮอร์โมนความเครียดเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้ร่างกายเกิดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อและอื่น ๆ ก่อให้เกิดโรคเครียด โรคซึมเศร้า มีอาการตื่นตระหนกทุกครั้งที่ได้ยินเสียงดัง
นอกจากนี้ การตะโกนยังอาจพฤติกรรมฝังใจของเด็ก แม้เวลาจะผ่านไปนานแล้ว แต่สมองยังคงเชื่อมโยงตามประสบการณ์ในอดีตที่เคยเกิดขึ้น ดังนั้น เมื่อมีเหตุการณ์ที่คล้ายกับตอนที่คุณพ่อคุณแม่เคยตะคอกใส่ตอนที่ยังเล็ก บุคคลนั้นก็ยังคงได้ยินเสียงคุณพ่อคุณแม่ตะโกนใส่อยู่ในหัว ถึงแม้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะไม่ได้อยู่ที่นั่นด้วยก็ตาม
สถานภาพความสัมพันธ์
หากคุณพ่อคุณแม่เผลอตัวตะคอกและตะโกนใส่เด็กเป็นประจำ อาจสังเกตเห็นพฤติกรรมเหล่านี้ระหว่างคุณพ่อคุณแม่และเด็กได้
- เด็ก ๆ ตะโกนใส่กัน เหมือนเป็นการเลียนแบบพฤติกรรมที่พบเห็นมาจากคุณพ่อคุณแม่
- เด็กตะคอกกลับใส่คุณพ่อคุณแม่เวลาที่ทะเลาะหรือมีเรื่องไม่เข้าใจกัน
- คุณพ่อคุณแม่และเด็กเริ่มตีตัวออกห่างกัน
- เด็กให้ความสำคัญกับคนอื่นมากกว่าคนในครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณพ่อคุณแม่
วิธีหยุดตะคอกใส่เด็กเมื่อรู้สึกโกรธ
ไม่ตะคอก
เมื่อเด็กทำผิด หรือทำในสิ่งต้องห้าม หรือฝ่าฝืนคำสั่ง ให้เดินไปพูดกับเด็กโดยตรง และพูดด้วยน้ำเสียงปกติ ไม่กระโชกโฮกฮาก ไม่ควรตะโกนจากที่ไกล ๆ
รู้อารมณ์ตนเอง
ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะเดินไปพูดกับเด็กด้วยน้ำเสียงไม่พอใจ ให้ตั้งสติ พาตัวเองออกจากสถานที่ตรงนั้นสักครู่เพื่อสงบสติอารมณ์โกรธ หายใจเข้าลึก ๆ ทำใจเย็นลง แล้วจึงกลับไปพูดกับเด็กด้วยโทนเสียงปกติ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย