backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

ลูกน้อยปากเหม็นเรื้อรัง คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 12/10/2022

ลูกน้อยปากเหม็นเรื้อรัง คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างไร

อาการปากเหม็น มีกลิ่นปาก อาจเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย หากคุณพ่อคุณแม่พบว่า ลูกน้อยปากเหม็นเรื้อรัง ก็อาจเกิดความกังวลไม่น้อย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตพฤติกรรมประจำวันของลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอว่า ลูกน้อยแปรงฟันทุกวันหรือไม่ รวมถึงมีการรักษาสุขอนามัยในช่องปากที่ดีพอหรือไม่ เพื่อจะปรึกษาคุณหมอและเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

กลิ่นปาก คืออะไร

กลิ่นปาก (Bad Breath) อาจเกิดขึ้นได้กับทุก ๆ คน โดยอาจมีสาเหตุมาจากการไม่แปรงฟันไปจนถึงภาวะทางการแพทย์บางอย่าง อย่างไรก็ตาม การเกิดกลิ่นปากในเด็กอาจเกิดขึ้นได้โดยที่พวกเขาไม่รู้ตัส ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องบอกลูกน้อยว่า พวกเขามีกลิ่นปาก และควรให้คำแนะนำว่าอาหารอะไรที่กินเข้าไปแล้วทำให้เกิดกลิ่นปาก รวมถึงควรบอกว่าควรแก้ไขอย่างไร เช่น แปรงฟันหลังจากกินอาหาร เคี้ยวหมาหฝรั่ง

อาการของปากเหม็นเรื้อรัง

อาการปากเหม็นเรื้อรังที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่สาเหตุของการเกิดอาการปากเหม็นเรื้อรัง บางคนอาจจะกังวลกับลมหายใจมากเกินไป แม้ว่าจะมีกลิ่นปากเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ในขณะที่คนอื่นอาจมีกลิ่นปากโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากเป็นเรื่องยากที่จะประเมินว่าลมหายใจมีกลิ่นอย่างไร จึงอาจใช้วิธีถามจากเพื่อนสนิทหรือญาติ เพื่อยืนยันคำถามเกี่ยวกับอาการปากเหม็นเรื้อรัง

ลูกน้อยปากเหม็นเรื้อรัง เกิดจากอะไร

โดยส่วนใหญ่แล้วสาเหตุที่ทำให้ ลูกน้อยปากเหม็นเรื้อรัง อาจเริ่มที่ช่องปาก นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

  • อาหารและเครื่องดื่ม เช่น กระเทียม หัวหอม ชีส น้ำส้ม โซดา
  • สุขอนามัยของฟันที่ไม่ดี เช่น ไม่แปรงฟัน ไม่ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ

สุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดีอาจนำไปสู่อาการปากเหม็นเรื้อรัง เพราะเมื่อเศษอาหารตกค้างในปาก อาจทำให้เศษอาหารเกิดการเน่าเสียและเริ่มมีกลิ่นได้ นอกจากนี้ เศษอาหารยังอาจทำให้แบคทีเรียสะสสมในช่องปากจนส่งกลิ่นได้ นอกจากนี้ การดูแลสุขอนามัยช่องปากที่ไม่ดี เช่น การไม่แปรงฟันเป็นประจำ อาจส่งผลให้คราบพลัค (Plaque) ไปสะสมอยู่บนฟัน ซึ่งคราบพลัคเป็นแหล่งอาหารที่ดีของแบคทีเรีย และเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลมหายใจมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ด้วย

เมื่อไหร่ควรพาลูกไปพบคุณหมอ

หากลูกน้อยปากเหม็นเรื้อรัง คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มจากการลองทบทวนพฤติกรรมในการรักษาความสะอาดช่องปากของลูกน้อย และพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น แปรงฟันและขัดลิ้น หลังรับประทานอาหารควรใช้ไหมขัดฟัน และดื่มน้ำมาก ๆ

ในกรณีที่ลูกน้อยยังมีอาการปากเหม็นเรื้อรังอยู่หลังจากที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกน้อยแล้ว การไปพบกับทันตแพทย์จะเป็นการดีที่สุด หากทันตแพทย์วินิจฉัยว่ามีอาการอื่น ๆ แทรกซ้อนที่นำไปสู่อาการปากเหม็นเรื้อรัง ทันตแพทย์อาจจะส่งตัวลูกน้อยไปพบกับคุณหมอ เพื่อหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้นต่อไป

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด



ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 12/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา