เด็กประถม
- จดจำเบอร์โทรศัพท์ของพ่อแม่
ความสามารถพื้นฐานอย่างหนึ่งของโทรศัพท์มือถือก็คือ การบันทึกเบอร์ติดต่อ ซึ่งถือเป็นฟังก์ชันที่อำนวยความสะดวกให้กับคนทุกเพศทุกวัยได้เป็นอย่างดี แต่ความสะดวกนี้ก็มาพร้อมกับผลเสียก็คือ ทำให้คนส่วนใหญ่จดจำเบอร์โทรศัพท์สำคัญ หรือแม้แต่เบอร์ของคนใกล้ตัวไม่ได้ หากโทรศัพท์มือถือเกิดแบตเตอรีหมดขึ้นมา ก็ติดต่อใครไม่ได้เลย เพราะจำเบอร์ไม่ได้
เพราะเหตุนี้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรฝึกให้ลูกจดจำเบอร์โทรศัพท์เอาไว้ให้ขึ้นใจ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาโทรศัพท์มือถือ สมุดโน้ต หรือเครื่องมือช่วยจำอื่น ๆ เพราะหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ผลัดหลงกัน เขาจะได้ไหว้วานให้ผู้อื่นช่วยติดต่อให้ได้
ทักษะการรับมือกับเหตุฉุกเฉิน ถือเป็นอีกหนึ่งทักษะชีวิตที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกเรียนรู้ไว้แต่เนิ่น ๆ ควรให้ลูกฝึกรับมือกับเหตุฉุกเฉินหากเขาอยู่ตามลำพัง เช่น ไฟไหม้ ได้รับบาดเจ็บ และอย่าลืมให้เขาจดจำเบอร์ฉุกเฉินต่าง ๆ เอาไว้ด้วย เช่น 191 (แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย) 199 (แจ้งอัคคีภัย) และทางที่ดี ควรให้ลูกได้ฝึกในสถานการณ์จำลอง เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์จริงขึ้นมา เขาจะได้ไม่ตื่นตระหนก และรับมือได้อย่างดีที่สุด
เด็กมัธยมต้น
คำว่า “ขอโทษ” น่าจะเป็นคำที่พูดออกมาได้ยากมากที่สุดคำหนึ่งสำหรับใครหลาย ๆ คน แต่เนื่องจากคำนี้ถือเป็นอีกหนึ่งคำพูดที่สำคัญมากในการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม และเด็กในวัยมัธยมต้นก็ถือเป็นวัยที่เริ่มเข้าสังคมมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรฝึกให้ลูกในวัยนี้กล้าเอ่ยคำว่า “ขอโทษ” ออกมาเมื่อเขารู้ตัวว่าทำผิด และหากอยากให้ลูกรู้ว่าควรเอ่ยคำว่าขอโทษในสถานการณ์ใดบ้าง เราแนะนำให้ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเขา จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้เร็วยิ่งขึ้น
- เรียนรู้และยอมรับในความแตกต่าง
อย่างที่เราบอกไปแล้วว่า เด็กวัยมัธยมต้นเริ่มเข้าสังคมมากขึ้น นั่นทำให้เขาอาจได้เห็นอะไรที่ไม่เคยเห็นมาก่อนมากมาย เช่น เห็นคนที่นั่งรถวีลแชร์ เห็นคนต่างเชื้อชาติต่างสีผิว จึงควรสอนให้เขารู้จักเรียนรู้และยอมรับในความแตกต่างของผู้อื่น ให้เขาได้รับรู้ว่า ทุกคนมีความสำคัญเท่าเทียมกัน แม้จะแตกต่างกันไปบ้าง ก็อยู่ร่วมกันได้โดยไม่จำเป็นต้องโดนบูลลี่ (ฺBully) หรือโดนมองว่าไม่เข้าพวก
สอน ทักษะชีวิต ให้ลูกยังไงให้ทำได้จริง
นอกจากทักษะชีวิตที่เรากล่าวถึงข้างต้นแล้ว ก็ยังมีทักษะอีกมากมายที่ควรให้เด็กแต่ละช่วงวัยเรียนรู้เอาไว้ และเคล็ดลับที่เรานำมาฝากต่อไปนี้ ก็จะช่วยให้ฝึกทักษะชีวิตที่จำเป็นให้กับลูกได้ง่ายยิ่งขึ้น
- ควรรอจนรู้สึกว่าลูกพร้อมเรียนรู้ทักษะนั้น ๆ แล้วจริง ๆ อย่ายัดเยียด หรือบีบบังคับ
- ทำตัวเป็นแบบอย่าง เพราะจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
- อย่าโมโห หรือโวยวาย หากลูกยังทำสิ่งที่สอนยังไม่ได้ เพราะทักษะต่าง ๆ ล้วนต้องอาศัยเวลาในการเรียนรู้ฝึกฝนทั้งสิ้น
- ให้กำลังใจหรือให้รางวัลลูกบ้าง เขาจะได้รู้ว่าตัวเองกำลังทำสิ่งที่ถูกต้อง อย่าเอาแต่ดุด่าว่ากล่าวเวลาที่เขาทำผิด เพราะจะยิ่งทำให้เขาเข็ดขยาด และไม่อยากทำกิจกรรมนั้น ๆ อีก
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย