ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรพิมพ์จิต วัฒนชโนบล
ยา คาร์บามาเซพีน (Carbamazepine) ใช้เพื่อป้องกันและควบคุมอาการชัก ยาคาร์บามาเซพีนนั้นอยู่ในกลุ่มของยากันชัก (anticonvulsant) หรือยาต้านอาการชักจากโรคลมชัก (anti-epileptic) นอกจากนี้ ยังใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดเส้นประสาทบางอย่าง เช่น โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า (trigeminal neuralgia) ยานี้ทำงานโดยการลดการลุกลามของอาการชักในสมอง และฟื้นฟูการทำงานของระบบประสาทให้กลับมาปกติ
ยาคาร์บามาเซพีนยังอาจใช้เพื่อรักษาสภาวะทางจิตหรืออารมณ์ เช่น โรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder) และอาการปวดเส้นประสาทอื่นๆ
อ่านคู่มือการใช้ยาที่ได้จากเภสัชกร ก่อนเริ่มใช้ยาคาร์บามาเซพีน และทุกครั้งที่คุณไปรับยาเพิ่ม หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
กินยาคาร์บามาเซพีนพร้อมกับอาหารตามที่แพทย์สั่ง
ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง แพทย์อาจสั่งให้คุณเริ่มใช้ยานี้ในขนาดยาที่ต่ำและค่อยๆ เพิ่มขนาดยา ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ในระหว่างการใช้ยานี้ หลีกเลี่ยงการรับประทานหรือดื่มน้ำเกรปฟรุต เว้นแต่แพทย์หรือเภสัชกรจะบอกว่า คุณสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย เกรปฟรุตสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงของยานี้ได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดสอบถามกับแพทย์หรือเภสัชกร
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรรับประทานยาคาร์บามาเซพีนอย่างสม่ำเสมอ และเพื่อให้จำง่ายขึ้น ควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน และใช้ยาอย่างต่อเนื่องแม้คุณจะรู้สึกปกติดี
อย่าหยุดใช้ยาคาบามาเซพีนเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ สภาวะบางอย่าง เช่น อาการชัก อาจแย่ลงได้หากหยุดใช้ยากะทันหัน จึงควรค่อยๆ ลดขนาดยาลง
หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
ยาคาร์บามาเซพีนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาคาร์บามาเซพีนบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย
ไม่ควรทิ้งยาคาร์บามาเซพีนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลวิธีกำจัดยาที่ถูกต้องได้จากเภสัชกร
ไม่ควรใช้ยาคาร์บามาเซพีนหากคุณมีประวัติภาวะกดการทำงานของไขกระดูก (Bone marrow suppression) แพ้ยาคาร์บามาเซพีน แพ้ยาต้านซึมเศร้า (antidepressant) เช่น ยาอะมิทริปไทลีน (amitriptyline) ยาเดซิพรามีน (desipramine) ยาด็อกเซปิน (doxepin) ยาอิมิพรามีน (imipramine) ยานอร์ทริปไทลีน (nortriptyline)
อย่าใช้ยาคาร์บามาเซพีน หากคุณใช้ยายับยั้งเอนไซม์โมโนเอมีนออกซิเดส (MAO inhibitor) ในช่วง 14 วันที่ผ่านมา เพราะอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาที่รุนแรงได้ ยายับยั้งเอนไซม์โมโนเอมีนออกซิเดส ได้แก่ ยาฟูราโซลิโดน (furazolidone) ยาไอโซคาร์บอกซาซิด (isocarboxazid) ยาลีเนโซลิด (linezolid) ยาฟีเนลซีน (phenelzine) ยาราซาจิลีน (rasagiline) ยาเซเลกิลีน (selegiline) ยาทรานิลซัยโปรมีน (tranylcypromine)
ยาคาร์บามาเซพีนอาจทำให้เกิดผื่นผิวหนังที่รุนแรงหรือถึงแก่ชีวิต โดยเฉพาะกับผู้ที่มีเชื้อสายเอเชีย แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเลือดก่อนเริ่มใช้ยาเพื่อหาความเสี่ยงของคุณ
ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้ ยาคาร์บามาเซพีนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด D โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)
การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้
รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที หากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ
แจ้งให้แพทย์ทราบ หากมีอาการใหม่หรืออาการที่แย่ลง เช่น อารมณ์หรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงกะทันหัน ซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ หรือหากคุณรู้สีกกระวนกระวายใจ โกรธ กระสับกระส่าย หงุดหงิด หรือมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเอง
ติดต่อแพทย์ในทันทีหากคุณ
ผลข้างเคียงทั่วไป มีดังนี้
ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
ยาคาร์บามาเซพีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์
ยาบางชนิดไม่ควรใช้ร่วมกัน แต่ในบางกรณีอาจต้องมีการใช้ยาสองชนิดที่แตกต่างกัน แม้ยาอาจทำปฏิกิริยาต่อกันก็ตาม ในกรณีเหล่านี้ แพทย์อาจต้องเปลี่ยนขนาดยา หรือระมัดระวังในการใช้อื่นๆ ที่จำเป็น
ไม่แนะนำให้ใช้ยาคาร์บามาเซพีนร่วมกับยาดังต่อไปนี้ แพทย์อาจจะไม่ใช้ยาคาร์บามาเซพีนรักษาคุณ หรือเปลี่ยนยาที่คุณกำลังใช้อยู่
โดยปกติแล้ว แพทย์จะไม่แนะนำให้ใช้ยาคาร์บามาเซพีนกับยาดังต่อไปนี้ แต่อาจจำเป็นต้องใช้ในบางกรณี หากต้องใช้ยาทั้งสองชนิดร่วมกัน แพทย์อาจต้องเปลี่ยนขนาดยาหรือความถี่ในการใช้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งหรือทั้งสองชนิด
การใช้ยาคาร์บามาเซพีนกับยาดังต่อไปนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงบางอย่างได้ แต่การใช้ยาทั้งสองชนิดร่วมกันอาจเป็นการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ หากคุณต้องใช้ยาสองชนิดร่วมกัน แพทย์อาจต้องเปลี่ยนขนาดยาหรือความถี่ในการใช้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งหรือทั้งสองชนิด
ยาคาร์บามาเซพีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงรุนแรง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
ยาคาร์บามาเซพีนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะ
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคลมชัก (Epilepsy)
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า (trigeminal neuralgia)
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคประสาทส่วนปลายเสื่อมจากเบาหวาน (Diabetic Neuropathy)
ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคลมชัก (Epilepsy)
อายุน้อยกว่า 6 ปี
อายุ 6 ถึง 12 ปี
อายุมากกว่า 12 ปี
ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้
หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านทันที
อาการของการใช้ยาเกินขนาด มีดังนี้
หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย
เภสัชกรพิมพ์จิต วัฒนชโนบล
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย