backup og meta

ธีโอฟิลลีน (Theophylline)

ธีโอฟิลลีน (Theophylline)

ข้อบ่งใช้

ธีโอฟิลลีน ใช้สำหรับ

ธีโอฟิลลีน (Theophylline) ใช้ในการรักษาและป้องกันอาการหายใจผิดปกติ และหายใจลำบากที่เกิดจากโรคปอดเรื้อรัง (เช่น โรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบเรื้อรัง) ธีโอฟิลลีนอยู่ในกลุ่มยาที่เรียกว่า แซนทีน (xanthines) ออกฤทธิ์ในระบบทางเดินหายใจ โดยการคลายกล้ามเนื้อเพื่อเปิดทางอากาศ และทำให้หายใจสะดวกขึ้น รวมถึงลดการตอบสนองของปอดต่อสารระคายเคือง การควบคุมปัญหาในการหายใจ และสามารถลดปัญหาของการใช้ชีวิตประจำวันได้

ธีโอฟิลลีนไม่สามารถใช้งานได้ทันที ทางการแพทย์นั้นแนะนำให้ใช้ยาสำหรับสูด เช่น ยาอัลบูเทลอล (albuterol) เพื่อรักษาการหายใจถี่หรือหอบหืด ควรพกยาสำหรับสูดที่บรรเทาอาการได้อย่างรวดเร็วติดตัว ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

วิธีการใช้ ธีโอฟิลลีน

รับประทานวันละ 1 ถึง 2 ครั้ง ตามที่แพทย์แนะนำ ธีโอฟิลลีนอาจทำให้ท้องไส้ปั่นป่วน ยานี้ใช้ได้ผลดีที่สุดเมื่อปริมาณยาในร่างกายของคุณอยู่ในระดับที่เหมาะสม ควรใช้ยาในช่วงเวลาเดียวกันโปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เกี่ยวกับช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการใช้ยาธีโอฟิลลีนแต่ละยี่ห้อ

อย่าบดหรือเคี้ยวยา ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง นอกจากนี้อย่าแบ่งเม็ดยา เว้นแต่จะมีเส้นแบ่งให้แบ่งเม็ดยา ให้รับประทานทั้งเม็ดหรือที่แบ่งแล้วโดยไม่บดหรือเคี้ยว

หากคุณรับประทานแคปซูล ให้กลืนลงไปในครั้งเดียว ถ้าคุณไม่สามารถกลืนได้ คุณอาจเปิดแคปซูล และโรยผงยาลงบนอาหาร รับประทานอาหารที่มียาโรยอยู่ทันทีโดยไม่ต้องเคี้ยว จากนั้น ดื่มน้ำเปล่า (8 ออนซ์หรือ 240 มิลลิลิตร)

ปริมาณยาขึ้นอยู่กับโรค และการตอบสนองต่อการรักษา อายุ น้ำหนัก ระดับยาในเลือด และยาอื่นๆ ใช้ยานี้เป็นประจำเพื่อให้ได้รับประสิทธิภาพสูงสุด รับประทานยาในช่วงเวลาเดียวกันเพื่อง่ายต่อการจำ

การเก็บรักษา ธีโอฟิลลีน

  • เก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง รวมถึงเก็บให้พ้นจากแสงและความชื้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับยา
  • ควรเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • คุณไม่ควรทิ้งธีโอฟิลลีนลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น สิ่งสำคัญคือทิ้งยาเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่จำเป็นต้องใช้ยาอีกต่อไป

ธีโอฟิลลีนแต่ละยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บแตกต่างกันไป อ่านคำแนะนำการเก็บรักษาบนฉลากผลิตภัณฑ์ หรือสอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเภสัชกรจัดจำหน่าย เพื่อความปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ ธีโอฟิลลีน

ก่อนการตัดสินใจใช้ธีโอฟิลีน ควรพิจารณาถึงความเสี่ยงโดยผ่านการวินิยฉัยของแพทย์ สิ่งที่คุณควรคำนึงถึงมี ดังนี้

โรคภูมิแพ้

แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณเคยมีอาการผิดปกติหรืออาการแพ้ใดๆ กับยาชนิดนี้ หรือยาชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ควรบอกให้ผู้ให้บริการทางการแพทย์ทราบ หากคุณมีอาการแพ้อื่นๆร่วมด้วย เช่น อาหาร สารย้อมสี สารกันบูดหรือสัตว์ สำหรับยาที่ขายตามร้านขายยา โปรดอ่านฉลากหรือส่วนผสมบนบรรจุภัณฑ์อย่างละเอียด

ผู้ป่วยเด็ก

ศึกษาการใช้ยาที่เหมาะสมในปัจจุบัน เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี มีแนวโน้มที่จะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงขึ้น ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้ยาด้วยความระมัดระวัง และปรับปริมาณยาสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับ ธีโอฟิลลีน ได้อย่างเหมาะสม

ผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุอาจรู้สึกไวต่อผลของ ธีโอฟิลลีน มากกว่าผู้ที่อายุน้อยกว่า และมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาของไต ตับ หัวใจ หรือปอด ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้ยาด้วยความระมัดระวัง และการปรับปริมาณยาสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับ ธีโอฟิลลีน ได้อย่างเหมาะสม

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ไม่มีการวิจัยแน่ชัดในสตรีตั้งครรภ์ ที่จะระบุความเสี่ยงขณะที่ใช้ะหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์และได้รับการอนุญาตจากแพทย์ก่อนการใช้

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ ธีโอฟิลลีน

หากมีอาการเหล่านี้ซึ่งเป็นสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจลำบาก หน้า ริมฝีปาก ลิ้นหรือคอบวม หยุดใช้ ธีโอฟิลลีน และไปโรงพยาบาลทันที หากเกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรง เช่น

  • คลื่นไส้ อาเจียนรุนแรงหรือต่อเนื่อง
  • หัวใจเต้นเร็วหรือไม่สม่ำเสมอ
  • การชัก
  • มึนงง ใจสั่นหรือตัวสั่น
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  • ภาวะโพแทสเซียมต่ำ (สับสน อัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ กระหายน้ำ ปัสสาวะมากขึ้น กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือรู้สึกชา)
  • น้ำตาลในเลือดสูง (อยากอาหาร ปากแห้ง มีกลิ่นปาก ง่วงซึม ผิวแห้ง ตาพร่ามัว น้ำหนักลด)

ผลข้างเคียงที่ร้ายแรงน้อยกว่าอาจรวมถึง

  • ปวดท้อง ท้องร่วง ปวดท้อง
  • ปวดศีรษะ
  • เหงื่อออก
  • ปัญหาการนอนหลับ (นอนไม่หลับ)
  • รู้สึกกระวนกระวายใจ กังวลหรือหงุดหงิด

ไม่ใช่ทุกคนที่จะแสดงอาการอันเนื่องมาจากผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจมีผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือข้างต้น หากคุณมีความกังวลเรื่องผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ธีโอฟิลลีน อาจเกิดปฏิกิริร่วมกับยาตัวอื่นที่คุณกำลังรับประทานอยู่ และอาจส่งผลให้ยาที่คุณรับประทานออกฤทธิ์ต่างไปจากเดิม หรือเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่รุนแรง ควรแจ้งรายชื่อยาทั้งหมดที่คุณใช้ให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทราบเพื่อความปลอดภัย ไม่ควรเริ่มหรือหยุดใช้ยา รวมถึงเพิ่ม ลด ปริมาณของยา โดยไม่ได้รับอนุญาตจากแพทย์

ไม่แนะนำให้ใช้ ธีโอฟิลลีน กับยาต่อไปนี้ร่วมกัน

  • ยาอะมิแฟมพริดีน (Amifampridine)
  • ยาไรโอคิกูแอท (Riociguat)

ปกติแล้วจะไม่แนะนำให้ใช้ ธีโอฟิลลีน กับยาต่อไปนี้ แต่ในบางกรณีมีความจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน แพทย์อาจเปลี่ยนปริมาณยาหรือความถี่ของยาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างลดลง

  • ยาอะคริวาสทีน (Acrivastine)
  • ยาอะดีโนซีน (Adenosine)
  • ยาบลินาทูโมแมบ(Blinatumomab)
  • ยาบูโพรพริออน (Bupropion)
  • ยาเซริทินิบ(Ceritinib)
  • ยาซิเมทิดีน (Cimetidine)
  • ยาซิโพรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin)
  • ยาโคบิสแตท (Cobicistat)
  • ยาเดเฟอราไซร็อกซ์ (Deferasirox)
  • ยาดีโซเจสเทรล (Desogestrel)
  • ยาไดอีโนเจสต์ (Dienogest)
  • ยาไดไฮโดรอาร์เทมิซินิน (Dihydroartemisinin)
  • ยาดรอสพิเรโนน (Drospirenone)
  • ยาอีโนซาซิน (Enoxacin)
  • ยาอิริโธรมัยซิน (Erythromycin)
  • ยาเอสทราดิออล ไซพิโอเนท (Estradiol Cypionate)
  • ยาเอสทราดิออล วาเลอเรท (Estradiol Valerate)
  • ยาอีทินิล เอสทราดิออล (Ethinyl Estradiol)
  • ยาอีธิโนดิออล ไดอาซีเตท (Ethynodiol Diacetate)
  • ยาอีทินดีน (Etintidine)
  • ยาอีโทโนเจสเทรล (Etonogestrel)
  • ยาฟลูโคนาโซล (Fluconazole)
  • ยาฟลูวอกซามีน (Fluvoxamine)
  • ยาฟอสเพนนิโทอิน (Fosphenytoin)
  • ยาฮาโลเทน (Halothane)
  • ยาไอดีลาลิซิบ (Idelalisib)
  • ยาไอโดรซิลาไมด์ (Idrocilamide)
  • ยาไอมิพีเนม (Imipenem)
  • ยาเลโวฟลอกซาซิน (Levofloxacin)
  • ยาเลโวนอร์เจสเทรล (Levonorgestrel)
  • ยาเมโดรไซโพรเจสเทอโรน อะซีเตท (Medroxyprogesterone Acetate)
  • ยาเมสทรานอล (Mestranol)
  • ยาเมซิเลทีน (Mexiletine)
  • ยานิโลทินิบ (Nilotinib)
  • ยานอเรลเจสโทรมิน (Norelgestromin)
  • ยานอเรทินโดรน (Norethindrone)
  • ยานอร์เจสทิเมท (Norgestimate)
  • ยานอร์เจสเทรล (Norgestrel)
  • ยาเพโฟลซาซิน (Pefloxacin)
  • ยาเพกอินเตอร์เฟรอนชนิดอัลฟ่าสองเอ (Peginterferon Alfa-2a)
  • ยาเพกอินเตอร์เฟรอนชนิดอัลฟ่าสองบี (Peginterferon Alfa-2b)
  • ยาเฟนิโทอิน (Phenytoin)
  • ยาพิซานโทรน (Pixantrone)
  • ยาเรกาเดโนโซน (Regadenoson)
  • ยาโรเฟโซคิบ (Rofecoxib)
  • ยาซิลทูซิแมบ (Siltuximab)
  • ยาทิอาเบนดาโซล (Thiabendazole)
  • ยาโทรเลแอนโดมัยซิน (Troleandomycin)
  • ยาเวมูราเฟนิบ (Vemurafenib)
  • ยาไซลิวตัน (Zileuton)

การใช้ธีโอฟิลลีนกับยาต่อไปนี้ อาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากผลข้างเคียงบางอย่าง แต่บางกรณีการใช้ทั้งสองชนิดร่วมด้วยอาจเป็นการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับแต่ละบุคคล แพทย์อาจเปลี่ยนปริมาณยาหรือความถี่ของยาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างลดลง

  • ยาอะดินาโซแลม (Adinazolam)
  • ยาอัลปราโซแลม (Alprazolam)
  • ยาอะมิโนกลูเททิไมด์ (Aminoglutethimide)
  • ยาอะมิโอดาโรน (Amiodarone)
  • ยาอะซิโทรมัยซิน (Azithromycin)
  • ยาโบรมาซีแพม (Bromazepam)
  • ยาโบรทิโซแลม (Brotizolam)
  • ยาคันนาบิส (Cannabis)
  • ยาคาร์บามาซีพีน (Carbamazepine)
  • ยาคลอร์ไดอะซีโพไซด์ (Chlordiazepoxide)
  • ยาคลอบาแซม (Clobazam)
  • ยาคลอนาซีแพม (Clonazepam)
  • ยาคลอราซีเพท (Clorazepate)
  • ยาไดอะซีแพม (Diazepam)
  • ยาไดซัลฟิแรม (Disulfiram)
  • ยาเอสทาโซแลม (Estazolam)
  • ยาเฟบูโซสแตท (Febuxostat)
  • ยาฟลูนิทราซีแพม (Flunitrazepam)
  • ยาฟลูราซีแพม (Flurazepam)
  • ยาฮาลาซีแพม (Halazepam)
  • ยาอินเตอร์เฟรอนชนิดอัลฟาสองเอ (Interferon Alfa-2a)
  • ยาไอพริฟลาโวน (Ipriflavone)
  • ยาไอโซโพรเทเรนอล (Isoproterenol)
  • ยาคีตาโซแลม (Ketazolam)
  • ยาลอราซีแพม (Lorazepam)
  • ยาลอร์เมทาซีแพม (Lormetazepam)
  • ยาเมดาซีแพม (Medazepam)
  • ยาเมโทเทรกเซท (Methotrexate)
  • ยามิดาโซแลม (Midazolam)
  • ยาไนลูทาไมด์ (Nilutamide)
  • ยาไนทราซีแพม (Nitrazepam)
  • ยาออกซาซีแพม (Oxazepam)
  • ยาแพนคูโรเนียม (Pancuronium)
  • ยาเพนโทซิฟิลลีน (Pentoxifylline)
  • ยาฟิโนบาร์บิทอล (Phenobarbital)
  • ยาไพเพอรีน (Piperine)
  • ยาพราซีแพม (Prazepam)
  • ยาโพรพาฟีโนน (Propafenone)
  • ยาควอซีแพม (Quazepam)
  • ยาไรแฟมพิน (Rifampin)
  • ยาไรฟาเพนทีน (Rifapentine)
  • ยาไรลูโซล (Riluzole)
  • ยาริโทนาเวียร์ (Ritonavir)
  • ยาเซโคบาร์บิทอล (Secobarbital)
  • สมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ต (St John’s Wort)
  • ยาทาครีน (Tacrine)
  • ยาทาโครลิมุส (Tacrolimus)
  • ยาเทลิโทรมัยซิน (Telithromycin)
  • ยาเทมาซีแพม (Temazepam)
  • ยาไทโคลพิดีน (Ticlopidine)
  • ยาไทรอะโซแลม (Triazolam)
  • ยาไวโลซาซีน (Viloxazine)
  • ยาซาฟริลูคัสท์ (Zafirlukast)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ธีโอฟิลลีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์ โดยเปลี่ยนฤทธิ์ยา หรือเพิ่มความเสี่ยงให้ที่จะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ถึงอาหารหรือแอลกอฮอล์ที่อาจทำปฏิกิริยากับยานี้ ก่อนใช้ยา

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ธีโอฟิลลีนอาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณ โดยอาจทำให้สุขภาพของคุณย่ำแย่ลงหรือเปลี่ยนฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบเกี่ยวกับสุขภาพและโรคประจำตัวของคุณ โดยเฉพาะอาการหรือโรคต่อไปนี้

  • ภาวะหัวใจล้มเหลว
  • โรคหัวใจ
  • มีไข้ 102 องศาฟาเรนไฮต์ หรือสูงกว่า เป็นเวลา 24 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น
  • ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (underactive thyroid)
  • การติดเชื้อรุนแรง (เช่นภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย)
  • โรคไตในเด็กอายุต่ำกว่า 3 เดือน
  • โรคตับ (เช่น โรคตับแข็ง โรคตับอักเสบ)
  • อาการบวมน้ำในปอด (โรคปอด)
  • ช็อก (โรคร้ายแรงซึ่งเลือดไหลเวียนน้อยมากในร่างกาย) ใช้ยาด้วยความระมัดระวัง ผลกระทบอาจเพิ่มขึ้น เนื่องจากการกำจัดยาออกจากร่างกายเป็นไปอย่างช้า
  • ปัญหาจังหวะการเต้นของหัวใจ (เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ)
  • ชักหรือเคยชักมาก่อน
  • แผลในกระเพาะอาหาร ควรใช้ยาด้วยความระมัดระวัง อาจทำให้อาการแย่ลง

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง ก่อนใช้ยานี้

ขนาดธีโอฟิลลีนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับรักษาโรคหอบหืดชนิดเฉียบพลัน

ขนาดยาเริ่มต้น : 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับธีโอฟิลลีน(theophylline) หรือ ยาอะมิโนฟิลลีน (aminophylline)

ขนาดต่อเนื่อง:

ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ : 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ไม่เกิน 900 มิลลิกรัมต่อวัน

ผู้ที่สูบบุหรี่ : 16 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน

ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว หรือโรคปอดอุดกั้นชนิดเรื้อรัง : 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน

ขนาดยาทั่วไปที่มีผลต่อการรักษาโรคหอบหืด

ขนาดยาเริ่มต้น: 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับธีโอฟิลลีน(theophylline) หรือ ยาอะมิโนฟิลลีน (aminophylline)

ขนาดต่อเนื่อง :

ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ : 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ไม่เกิน 900 มิลลิกรัมต่อวัน

ผู้ที่สูบบุหรี่ : 16 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน

ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวหรือโรคปอดอุดกั้นชนิดเรื้อรัง: 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน

ขนาดยาสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นหอบหืดชนิดเฉียบพลัน

ขนาดยาเริ่มต้น: 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับ ธีโอฟิลลีน (theophylline) หรือ ยาอะมิโนฟิลลีน (aminophylline)

ขนาดยาต่อเนื่อง :

ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ : 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ไม่เกิน 900 มิลลิกรัมต่อวัน

ผู้ที่สูบบุหรี่ : 16 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน

ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวหรือโรคปอดอุดกั้นชนิดเรื้อรัง : 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน

ขนาดยาที่มีผลต่อการรักษาผู้สูงอายุที่เป็นโรคหอบหืด

ขนาดยาเริ่มต้น: 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับ ธีโอฟิลลีน (theophylline) หรือ ยาอะมิโนฟิลลีน (aminophylline)

ขนาดยาต่อเนื่อง :

ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่และมีสุขภาพดี : 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ไม่เกิน 900 มิลลิกรัมต่อวัน

ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวหรือโรคปอดอุดกั้นชนิดเรื้อรัง : 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน

ปริมาณของยาธีโอพิลลีนสำหรับเด็ก

ขนาดยาเริ่มต้น :

หากไม่ใช้ธีโอฟิลลีนใน 24 ชั่วโมงก่อนหน้านี้ : 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เป็นปริมาณยาเพื่อให้ได้ซีรัมที่มีความเข้มข้นประมาณ 10 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ควรให้ขนาดยาเริ่มต้น โดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์ทันที มากกว่ายาที่ออกฤทธิ์ในระยะยาว

หากใช้ธีโอฟิลลีนใน 24 ชั่วโมงก่อนหน้านี้ : อาจต้องให้ธีโอฟิลลีนขนาด 2.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในกรณีฉุกเฉิน เมื่อไม่มีความเข้มข้นของซีรัมเพียงพอ ขนาดยาอาจคำนวณโดยใช้ (เมื่อทราบระดับซีรัม) : [ความเข้มข้นของเลือดที่ต้องการ – ความเข้มข้นของเลือดที่วัดได้] หารด้วย 2 (สำหรับทุก 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมที่ให้ ธีโอฟิลลีน ระดับเลือดจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร)

ขนาดยาต่อเนื่อง :

อายุน้อยกว่า 42 วัน : 4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน

อายุ 42 วันถึง 181 วัน : รับประทานยา 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน หรือขนาดยาสำรอง : [(0.2 x อายุในสัปดาห์) + 5] x กิโลกรัม = ปริมาณรับประทาน 24 ชั่วโมงเป็นมิลลิกรัม

อายุ 6 เดือนขึ้นไปแต่น้อยกว่า 12 เดือน : 12 ถึง 18 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวันหรือขนาดยาสำรอง : [(0.2 x อายุในสัปดาห์) + 5] x กิโลกรัม = ปริมาณรับประทาน 24 ชั่วโมงเป็นมิลลิกรัม

อายุ 1 ปีถึง 8 ปี: 20 ถึง 24 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน

อายุ 9 ปีถึง 11 ปี : 16 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน

อายุ 12 ปีถึง 15 ปี : 13 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน

อายุ 16 ปีหรือมากกว่า : 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ไม่เกิน 900 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน

รูปแบบของยา

ธีโอฟิลลีน มีรูปแบบดังต่อไปนี้

  • แคปซูล : 100, 200, 300 และ 400 มิลลิกรัม
  • ยาน้ำ : 80 มิลลิกรัมต่อ 15 มิลลิลิตร (473 มิลลิลิตร)
  • สารละลาย : 80 มิลลิกรัมต่อ 15 มิลลิลิตร
  • ยาเม็ด : แคปซูล : 100, 200, 300, 450 และ 600 มิลลิกรัม

กรณีฉุกเฉินหรือการใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติ ไม่ควรเพิ่มปริมาณของยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Theophylline. https://www.drugs.com/cdi/theophylline.html. Accessed November 26, 2019.

Theophylline. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a681006.html. Accessed November 26, 2019.

Theophylline. http://www.healthline.com/drugs/theophylline/oral-tablet#Highlights1. Accessed November 26, 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูแล "สุขภาพปอด" ให้แข็งแรง และห่างไกลจากโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง

การวิ่งมาราธอน กับ โรคหลอดลมอุดกั้น เกี่ยวข้องกันอย่างไร ?


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา