backup og meta

สารฟลูออไรด์ (Fluoride)

สารฟลูออไรด์ (Fluoride)

สารฟลูออไรด์ (Fluoride) ใช้เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของสารเคลือบฟัน และช่วยป้องกันฟันผุ สำหรับผู้ที่อาจจะได้รับระดับของฟลูออไรด์จากน้ำดื่มต่ำ นอกจากนี้ยังใช้เพื่อป้องกันอาการฟันผุในผู้ที่รับการฉายรังสีที่บริเวณหัวและคออีกด้วย

ข้อบ่งใช้

สารฟลูออไรด์ ใช้สำหรับ

สารฟลูออไรด์ (Fluoride) ใช้เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของสารเคลือบฟัน และช่วยป้องกันฟันผุ สำหรับผู้ที่อาจจะได้รับระดับของฟลูออไรด์จากน้ำดื่มต่ำ นอกจากนี้ยังใช้เพื่อป้องกันอาการฟันผุในผู้ที่รับการฉายรังสีที่บริเวณหัวและคออีกด้วย ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการปากแห้งและเพิ่มโอกาสในการเกิดฟันผุ

วิธีการใช้ฟลูออไรด์

  • ใช้ยานี้ตามที่ฉลากยากำหนดหรือตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด อย่าใช้ยาในขนาดมากกว่าหรือใช้ยานานกว่าที่แนะนำ
  • รับประทานยาพร้อมกับดื่มน้ำเต็มแก้ว
  • อย่ารับประทาน ฟลูออไรด์ พร้อมกับนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม แคลเซียมสามารถทำให้ร่างกายดูดซับฟลูออไรด์ได้ยากขึ้น
  • อมยาอมฟลูออไรด์จนกว่าจะละลายจนหมด อย่าเคี้ยวหรือกลืนยาอม
  • ฟลูออไรด์ในรูปแบบเคี้ยวได้นั้นสามารถเคี้ยว กลืน ละลายในปาก ผสมกับน้ำดื่มหรือน้ำผลไม้ หรือผสมลงไปในน้ำที่ใช้ชงนมผงของทารกหรืออาหารอื่นๆ
  • ยาหยอดฟลูออไรด์สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องเจือจาง หรือสามารถผสมเข้ากับน้ำหรืออาหารอื่นๆ ได้
  • หากคุณผสมฟลูออไรด์กับอาหารหรือน้ำดื่ม ควรดื่มส่วนผสมนั้นในทันที อย่าเก็บไว้ใช้ภายหลัง
  • ควรใช้ฟลูออไรด์เป็นประจำเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด

การเก็บรักษาฟลูออไรด์

สารฟลูออไรด์ ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ฟลูออไรด์บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกันไป จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งฟลูออไรด์ลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูก สอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ฟลูออไรด์

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • คุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • คุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ของฟลูออไรด์ หรือยาอื่นๆ
  • คุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา

สารฟลูออไรด์ จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด N โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ฟลูออไรด์

รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันทีหากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

โปรดติดต่อแพทย์ในทันทีหากคุณมีผลข้างเคียงดังนี้

  • ฟันเปลี่ยนสี
  • เคลือบฟันอ่อนแอ
  • ลักษณะของฟันเปลี่ยนแปลง

ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่าอาจมีดังนี้

  • ท้องไส้ปั่นป่วน
  • ปวดหัว
  • อ่อนแรง

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ฟลูออไรด์ อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ฟลูออไรด์อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ฟลูออไรด์ อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดฟลูออไรด์สำหรับผู้ใหญ่

สำหรับการรักษาโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ใช้ฟลูออไรด์ 15 ถึง 20 มก. ต่อวัน

ขนาดฟลูออไรด์สำหรับเด็ก

สำหรับการป้องกันฟันผุ ที่อเมริกาจะเติมฟลูออไรด์ลงในน้ำประปาที่ความเข้มข้น 0.7 ถึง 1.2 ส่วนต่อล้านส่วนสำหรับการป้องกันฟันผุในพื้นที่ที่ระดับของฟลูออไรด์ในน้ำดื่มน้อยกว่า 0.3 ส่วนต่อล้านส่วน เช่น ในน้ำบ่อ

  • เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 3 ปีควรได้รับฟลูออไรด์ 0.25 มก. ต่อวัน
  • เด็กอายุ 3 ถึง 6 ปีควรได้รับ 0.5 มก. ต่อวัน
  • เด็กอายุ 6 ถึง 16 ปีควรได้รับ 1 มก. ต่อวัน

สำหรับเด็กในพื้นที่ที่ระดับของฟลูออไรด์อยู่ระหว่าง 0.3 ถึง 0.6 ส่วนต่อล้านส่วน

  • เด็กอายุ 3 ถึง 6 ปีควรได้รับ 0.25 มก. ต่อวัน
  • เด็กอายุ 6 ถึง 16 ปีควรได้รับ 0.5 มก. ต่อวัน

ไม่จำเป็นต้องรับฟลูออไรด์เพิ่มเติมสำหรับพื้นที่ที่มีระดับของฟลูออไรด์ในน้ำดื่มมากกว่า 0.6 ส่วนต่อล้านส่วน

รูปแบบของยา

ขนาดและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ดโซเดียมฟลูออไรด์สำหรับเคี้ยว 1 มก.
  • ยาเม็ดโซเดียมฟลูออไรด์สำหรับเคี้ยว 0.5 มก.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Fluoride. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1068-fluoride.aspx?activeingredientid=1068&activeingredientname=fluoride. Accessed Mar 26, 2017

Sodium fluoride. https://www.drugs.com/fluoride-images.html. Accessed Mar 26, 2017

What Is Fluoride, and Is It Safe? https://www.healthline.com/health/what-is-fluoride

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/10/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ฟลูออไรด์ คืออะไร ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพฟัน

แบคทีเรียในช่องปาก ร้ายกว่าที่คิด นอกจากทำฟันผุ ยังเป็น ตัวการมะเร็งลำไส้ใหญ่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 08/10/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา