backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เทโมโซโลไมด์ (Temozolomide)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ข้อบ่งใช้

ยาเทโมโซโลไมด์ใช้สำหรับ

ยาเทโมโซโลไมด์ (Temozolomide) ใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็งสมองบางประเภท ยาเทโมโซโลไมด์อยู่ในกลุ่มแอคิเลทติ้ง เอเจนท์ (alkylating agents) ยานี้ทำงานโดยการชะลอหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

วิธีการใช้ยาเทโมโซโลไมด์

รับประทานยานี้ตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติคือ วันละครั้งตามกำหนดการรักษา ควรกลืนยาแคปซูลลงไปทั้งเม็ดพร้อมกับดื่มน้ำเต็มแก้ว (8 ออนซ์หรือ 240 มล.) อย่าบด เคี้ยว หรือแกะเปิดยาแคปซูลออก หากคุณอาการหลังจากรับประทานยา อย่ารับประทานยาเพิ่ม ควรรอและรับประทานยาครั้งถัดไปตามกำหนดการปกติ เพื่อลดอาการคลื่นไส้และอาเจียนควรรับประทานยาเทโมโซโลไมด์ขณะท้องว่างหรือก่อนนอน เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน โดยยึดเวลาของมื้ออาหารเป็นหลัก เช่น 1 ชั่วโมงก่อน หรือ 3 ชั่วโมงหลังจากมื้ออาหาร ก็ควรรับประทานยาเวลาเดียวกันทุกวัน

ขนาดยาและตารางการรักษาขึ้นอยู่กับภาวะสุขภาพ ส่วนสูง น้ำหนัก และการตอบสนองต่อการรักษา ควรทำตามแนวทางการใช้ยาของแพทย์อย่างระมัดระวัง เพื่อให้ง่ายต่อการจำ ควรทำเครื่องหมายไว้บนปฏิทินเพื่อเตือนความจำเวลาที่ควรใช้ยาครั้งถัดไป

แพทย์ยังอาจจะสั่งให้คุณให้คุณใช้ยาอื่น เช่น ยาปฏิชีวนะ) เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อหรือผลข้างเคียง ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์เกี่ยวกับวิธีการใช้ยาทั้งหมดอย่างเคร่งครัด

อย่าเพิ่มขนาดยาหรือใช้ยานี้บ่อยกว่าหรือนานกว่าที่กำหนด อาการของคุณจะไม่หายไวขึ้นและความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงจะเพิ่มขึ้นด้วย

หากยาแคปซูลนั้นเปิดออกหรือเสียหายโดยไม่ได้ตั้งใจ ควรหลีกเลี่ยงการสูดดมยาหรือให้ยาสัมผัสกับผิวหนังของคุณ หากยาสัมผัสกับคุณควรล้างบริเวณนั้นด้วยน้ำสะอาด เนื่องจากยานี้สามารถดูดซึมผ่านทางผิวหนังและปอดได้และอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ผู้หญิงตั้งครรภ์หรือผู้ที่อาจจะตั้งครรภ์ไม่ควรสัมผัสกับยานี้หรือสูดดมผงจากยาแคปซูล

การเก็บรักษายาเทโมโซโลไมด์

ยาเทโมโซโลไมด์ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาเทโมโซโลไมด์บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาเทโมโซโลไมด์ลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาเทโมโซโลไมด์

ก่อนใช้ยาเทโมโซโลไมด์ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณแพ้ต่อยานี้ หรือยาดาคาร์บาซีน (dacarbazine) หรือหากคุณเป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีส่วนประกอบไม่ออกฤทธิ์ที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่น โปรดปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับไต ปัญหาเกี่ยวกับตับ ปัญหาเกี่ยวกับเลือดออกหรือปัญหาเกี่ยวกับเลือด

ยาเทโมโซโลไมด์สามารถทำให้คุณมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้นหรือทำให้อาการติดเชื้อที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการติดต่อผู้มีอาการติดเชื้อที่สามารถแพร่สู่ผู้อื่นได้ เช่น โรคอีสุกอีใส โรคหัด หรือไข้หวัดใหญ่ โปรดปรึกษาแพทย์หากคุณมีการติดชื้อเมื่อเร็วๆ นี้หรือหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

อย่าสร้างภูมิคุ้มกันหรือรับวัคซีนโดยไม่ปรึกษาแพทย์ หลีกเลี่ยงการติดต่อกับผู้ที่เพิ่งรับวัคซีน เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่แบบพ่นจมูก

เพื่อลดโอกาสในการเกิดรอยบาด รอยช้ำ หรือการบาดเจ็บ ควรใช้ของมีคมด้วยความระมัดระวัง เช่น มีดโกนและกรรไกรตัดเล็บ และหลีกเลี่ยงกิจกรรม เช่น กีฬาที่ต้องมีการสัมผัสซึ่งกันและกัน

ยานี้อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนได้ การดื่มแอลกอฮอล์หรือกการใช้กัญชานั้นอาจทำให้อาการวิงเวียนรุนแรงขึ้นได้ อย่าขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมที่ต้องการความตื่นตัวจนกว่าคุณจะสามารถทำได้อย่างปลอดภัย จำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และควรปรึกษาแพทย์หากคุณใช้กัญชา

ก่อนการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ (ทั้งยาตามใบสั่งยา ยาที่หาซื้อเอง และสมุนไพรต่างๆ)

ผู้หญิงและผู้สูงอายุอาจจะมีปฏิกิริยาไวต่อผลข้างเคียงของยานี้ได้มากกว่า โดยเฉพาะความเสี่ยงในการติดเชื้อเพิ่มขึ้นและมีรอยช้ำหรือเลือดออกง่ายขึ้น

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณตั้งครรภ์หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ คุณไม่ควรตั้งครรภ์ขณะที่กำลังใช้ยานี้ เพราะยาเทโมโซโลไมด์อาจทำอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ ทั้งผู้ชายและผู้หญิงควรสอบถามถึงวิธีการคุมกำเนิดที่น่าเชื่อถือขณะที่กำลังใช้ยานี้ หากคุณหรือคนรักของคุณตั้งครรภ์ โปรดปรึกษาแพทย์ในทันทีเกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ของการใช้ยานี้

อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ยานี้สามารถผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่ได้หรือไม่ เนื่องจากโอกาสของความเสี่ยงต่อทารก จึงไม่แนะนำการให้นมบุตรขณะที่กำลังใช้ยานี้ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา

ยาเทโมโซโลไมด์จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด D โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาเทโมโซโลไมด์

  • อาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • เบื่ออาหาร
  • มีแผลที่ปาก
  • การรับรสชาติเปลี่ยนแปลง
  • ท้องผูก
  • เหนื่อยล้า
  • วิงเวียน
  • นอนไม่หลับ
  • ปวดหัว
  • อาการคลื่นไส้อาเจียนนั้นอาจจะรุนแรงได้ ในบางกรณี แพทย์อาจจะสั่งยาให้คุณใช้เพื่อป้องกันหรือบรรเทาอาการคลื่นไส้และวิงเวียน

    การรับประทานอาหารมื้อเล็กๆ หลายมื้อ ไม่รับประทานอาหารก่อนการรักษา หรือจำกัดการทำกิจกรรมอาจจะช่วยลดผลข้างเคียงบางอย่างได้ แต่หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้นโปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที

    การใช้ยานี้ อาจก่อให้เกิดอาการผมร่วงชั่วคราว แต่ผมจะกลับมายาวตามปกติหลังจากเสร็จสิ้นการรักษา

    ผู้ที่ใช้ยานี้อาจจะมีผลข้างเคียงที่รุนแรง แต่หากแพทย์สั่งให้คุณใช้ยานี้นั่นเป็นเพราะว่าแพทย์ได้พิจารณาแล้วว่ายามีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง การเฝ้าระวังอย่างระมัดระวังจากแพทย์อาจจะช่วยลดความเสี่ยงได้

    แม้ว่ายาเทโมโซโลไมด์จะใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็ง ในบางกรณียานี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งประเภทอื่นได้ นอกจากนี้ ยาเทโมโซโลไมด์ยังมีส่วนในการไปลดการทำงานของไขกระดูก ผลนี้อาจนำไปสู่ภาวะจำนวนเซลล์เม็ดเลือดต่ำ เช่น เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ลดความสามารถของร่างกายในการต่อสู้กับการติดเชื้อ หรือทำให้เกิดรอยช้ำหรือเลือดออกง่ายขึ้น

    โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้

    • เหนื่อยล้าผิดปกติ
    • ผิวซีด
    • มีสัญญาณของการติดเชื้อ (เช่นเจ็บคอไม่ยอมหาย เป็นไข้ หนาวสั่น)
    • มีรอยช้ำหรือเลือดออกง่าย

    โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรงดังนี้

    • อาการของตับเสียหาย (เช่น ปวดท้อง ดวงตาหรือผิวหนังเป็นสีเหลือง ปัสสาวะสีคล้ำ)
    • รับการรักษาในทันทีหากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรงมากดังนี้

      • อาการชัก
      • การแพ้ยาที่รุนแรงต่อยานี้ ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรงมีดังนี้ ผดผื่น คันหรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ) วิงเวียนขั้นรุนแรง หายใจติดขัด

      ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

      ปฏิกิริยาของยา

      ปฏิกิริยากับยาอื่น

      ยาที่อาจจะมีปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่ ยากรดนาลิดิซิก (nalidixic acid)

      ยาเทโมโซโลไมด์อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

      ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

      ยาเทโมโซโลไมด์อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

      ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

      ยาเทโมโซโลไมด์อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

      ขนาดยา

      ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

      ขนาดยาเทโมโซโลไมด์สำหรับผู้ใหญ่

      ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคเนื้องอกแอนนาพลาสติก แอสโตรไซต์โตมา (Anaplastic Astrocytoma)

      ยารับประทาน

      – ขนาดยาเริ่มต้น 150 มก./ตารางเมตร รับประทานวันละครั้ง

      – ขนาดยาปกติ 200 มก./ตารางเมตร รับประทานวันละครั้ง

      ระยะเวลาการรักษา 5 วันติดต่อกันสำหรับรอบการรักษา 28 วัน

      ฉีดยาเข้าหลอดเลือดำ

      – ขนาดยาเริ่มต้น 150 มก./ตารางเมตร ฉีดเข้าหลอดเลือดดำนานกว่า 90 นาที วันละครั้ง

      – ขนาดยาปกติ 200 มก./ตารางเมตร ฉีดเข้าหลอดเลือดดำนานกว่า 90 นาที วันละครั้ง

      ระยะเวลาการรักษา 5 วันติดต่อกันสำหรับรอบการรักษา 28 วัน

      คำแนะนำ

      -ควรเพิ่มขนาดยาไปที่ 200 มก./ตารางเมตร หากค่าต่ำสุดของค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลในวันที่ใช้ยา (วันที่ 29 หรือวันที่ 1 ของรอบถัดไป) นั้นมากกว่าหรือเท่ากับ 1.5 × 10(9)/ลิตร และจำนวนเกล็ดเลือดนั้นมากกว่าหรือเท่ากับ 100 × 10(9)/ลิตร

      – ควรตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood count) ในวันที่ 22 (21 วันหลังจากใช้ยาครั้งแรก) หรือภายใน 48 ชั่วโมงของวันนั้น และทุกสัปดาห์จนกระทั่งค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลนั้นมากกว่า 1.5 × 10(9)/ลิตร และจำนวนเกล็ดเลือดนั้นมากกว่า 100 × 10(9)/ลิตร

      – ไม่ควรเริ่มการรักษารอบถัดไปจนกว่าค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลและจำนวนเกล็ดเลือดนั้นจะมากกว่าระดับเหล่านี้

      – ในการทดลองทางการแพทย์ ควรดำเนินการรักษาอย่างต่อจนถึงสูงสุด 2 ปี ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงระยะเวลาการรักษาที่ดีที่สุด

      -อาจดำเนินการรักษาอย่างต่อเนื่องจนอาการรุนแรงขึ้น

      การใช้งาน

      โรคเนื้องอกแอนนาพลาสติก แอสโตรไซต์โตมาดื้อยาที่มีอาการรุนแรงขึ้นในสูตรยาที่ประกอบด้วยยาไนโตรโซยูเรีย (nitrosourea) และโพรคาร์เบซีน (procarbazine)

      ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคมะเร็งไกลโอบลาสโตมา มัลติฟอร์เม (Glioblastoma Multiforme)

      ใช้ร่วมกับการฉายรังสีบำบัดเฉพาะที่ (focal radiotherapy)

      ยารับประทาน

      75 มก./ตารางเมตร รับประทานวันละครั้ง

      ระยะเวลาการรักษา 42 วัน

      ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ

      75 มก./ตารางเมตร ฉีดเข้าหลอดเลือดดำนานกว่า 90 นาที วันละครั้ง

      ระยะเวลาการรักษา 42 วัน

      คำแนะนำ

      – ไม่มีการลดขนาดยาที่แนะนำในช่วงระหว่างการใช้ยาร่วมกัน

      – การระงับหรือหยุดการใช้ยาอาจจะเกิดขึ้นได้ขึ้นอยู่กับความเป็นพิษ

      – ควรดำเนินการรักษาอ่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 42 วันในช่วงระหว่างการใช้ยาร่วมกัน จนถึง 49 วัน หากตรงตามเงื่อนไขทั้งหมดดังต่อไปนี้ หากค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลมากกว่าหรือเท่ากับ 1.5 × 10(9)/ลิตร จำนวนเกล็ดเลือดนั้นมากกว่าหรือเท่ากับ 100 × 10(9)/ลิตร เกณฑ์ความเป็นพิษทั่วไป (common toxicity criteria) ของความเป็นพิษที่ไม่เกี่ยวกับเลือดนั้นน้อยกว่าหรือเท่ากันระดับ 1

      – ควรตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดทุกสัปดาห์ระหว่างการรักษา

      – จำเป็นต้องทำการป้องกันโรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมซิสติส (Pneumocystis pneumonia) ระหว่างการใช้ยานี้ร่วมกับการฉายรังสีบำบัด และควรจะทำการป้องกันต่อไปสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะจำนวนลิมโฟซัยต์น้อย (lymphocytopenia) จนกว่าหายดี

      การรักษาด้วยยาเพียงชนิดเดียว

      รอบที่ 1

      ยารับประทาน

      150 มก./ตารางเมตร รับประทานวันละครั้ง

      ระยะเวลาการรักษา 5 วัน ตามด้วยหยุดการรักษานาน 23 วัน

      ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ

      150 มก./ตารางเมตร ฉีดเข้าหลอดเลือดดำนานกว่า 90 นาที วันละครั้ง

      ระยะเวลาการรักษา 5 วัน ตามด้วยหยุดการรักษานาน 23 วัน

      รอบที่ 2-6

      ยารับประทาน

      200 มก./ตารางเมตร รับประทานวันละครั้ง

      ระยะเวลาการรักษา 5 วันแรกของแต่ละรอบการรักษา

      ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ

      200 มก./ตารางเมตร ฉีดเข้าหลอดเลือดดำนานกว่า 90 นาที วันละครั้ง

      ระยะเวลาการรักษา 5 วันแรกของแต่ละรอบการรักษา

      คำแนะนำ

      -เมื่อเริ่มต้นการรักษารอบที่ 2 ควรเพิ่มขนาดยาขึ้นมาที่ 200 มก./ตารางเมตร ถ้าหากเกณฑ์ความเป็นพิษทั่วไปของความเป็นพิษที่ไม่เกี่ยวกับเลือดในรอบที่ 1 นั้นน้อยกว่าหรือเท่ากันระดับ 2 (ยกเว้นอาการผมร่วง คลื่นไส้ และอาเจียน) ค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลมากกว่าหรือเท่ากับ 1.5 x 10(9)/ลิตร และจำนวนเกล็ดเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 100 x 10(9)/ลิตร

      -ขนาดยายังคงอยู่ที่ 200 มก./ตารางเมตร สำหรับรอบที่ 2 จนถึง 6 นอกเสียจากว่าจะเกิดความเป็นพิษขึ้น

      -หากไม่ได้เพิ่มขนาดยาตั้งแต่เริ่มต้นรอบที่ 2 ก็ไม่ควรเพิ่มขนาดยาในรอบหลังจากนั้น

      -ควรตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดในวันที่ 22 หรือภายใน 48 ชั่วโมงของวันนั้นในแต่ละรอบและแต่ละสัปดาห์จนกระทั่งค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลนั้นมากกว่า 1.5 × 10(9)/ลิตร และจำนวนเกล็ดเลือดนั้นมากกว่า 100 × 10(9)/ลิตร ไม่ควรเริ่มการรักษารอบถัดไปจนกว่าค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลและจำนวนเกล็ดเลือดนั้นจะมากกว่าระดับเหล่านี้

      -การลดขนาดยาควรขึ้นอยู่กับค่าจำนวนเม็ดเลือดต่ำที่สุดและความเป็นพิษที่ไม่เกี่ยวกับเลือดที่รุนแรงที่สุดในระหว่างรอบก่อนหน้านี้

      การใช้งาน

      -เพื่อรักษาโรคมะเร็งไกลโอบลาสโตมา มัลติฟอร์เมที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยร่วมกับการฉายรังสีบำบัดแล้วจึงการรักษาเพื่อประคับประคอง

      การปรับขนาดยาสำหรับไต

      อาจจำเป็นต้องปรับขนาดยา แต่ยังไม่มีการแนะนำแนวทางการปรับขนาดยาอย่างเฉพาะเจาะจง ควรระมัดระวัง

      การปรับขนาดยาสำหรับตับ

      อาจจำเป็นต้องปรับขนาดยา แต่ยังไม่มีการแนะนำแนวทางการปรับขนาดยาอย่างเฉพาะเจาะจง ควรระมัดระวัง

      การปรับขนาดยา

      • โรคมะเร็งไกลโอบลาสโตมา มัลติฟอร์เม

      การใช้ยาร่วมกัน

      การระงับการรักษา

      -ค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลมากกว่าหรือเท่ากับ 0.5 และน้อยดว่า 1.5 x 10(9)/ลิตร

      -จำนวนเกล็ดเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 10 และน้อยกว่า 100 x 10(9)/ลิตร

      -เกณฑ์ความเป็นพิษทั่วไปของความเป็นพิษที่ไม่เกี่ยวกับเลือด (ยกเว้นอาการผมร่วง คลื่นไส้ อาเจียน) ระดับ 2

      หยุดการรักษา

      -ค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลน้อยกว่า 0.5 x 10(9)/ลิตร

      -จำนวนเกล็ดเลือดน้อยกว่า 10 x 10(9)/ลิตร

      -เกณฑ์ความเป็นพิษทั่วไปของความเป็นพิษที่ไม่เกี่ยวกับเลือดระดับ 3 หรือ 4

      ระยะการประคับประคองการรักษา

      ลดขนาดยาลงมา 1 ระดับ

      -ควรลดขนาดยาลงมาที่ 100 มก./ตารางเมตร ก่อนเกิดความเป็นพิษ

      -ค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลน้อยกว่า 1.0 x 10(9)/ลิตร

      -จำนวนเกล็ดเลือดน้อยกว่า 50 x 10(9)/ลิตร

      -เกณฑ์ความเป็นพิษทั่วไปของความเป็นพิษที่ไม่เกี่ยวกับเลือดระดับ 3

      หยุดการรักษา

      -หากจำเป็นต้องลดขนาดยาลงมาต่ำกว่า 100 มก./ตารางเมตร

      -หากยังคงเกิดเกณฑ์ความเป็นพิษทั่วไปของความเป็นพิษที่ไม่เกี่ยวกับเลือดระดับ 3 ขึ้นอีกครั้งหลังจากลดขนาดยา

      -เกณฑ์ความเป็นพิษทั่วไปของความเป็นพิษที่ไม่เกี่ยวกับเลือดระดับ 4

      • โรคเนื้องอกอานาพลาสติก แอสโตรไซต์โตมา

      การลดขนาดยา

      -หากค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลต่ำกว่า 1.0 x 10(9)/ลิตร หรือจำนวนเกล็ดเลือดน้อยกว่า 50 x 10(9)/ลิตรในช่วงระหว่างรอบการรักษาใดๆ ควรลดขนาดยาของรอบถัดไปลงมา 50 มก./ตารางเมตร แต่ไม่ควรต่ำกว่า 100 มก./ตารางเมตร

      คำแนะนำอื่นๆ

      คำแนะนำการใช้ยา

      ยาแคปซูลสำหรับรับประทาน

      -ควรกลืนยาแคปซูลลงไปทั้งเม็ดพร้อมกับดื่มน้ำเต็มแก้ว

      -ควรมีความสอดคล้องของกับให้ยาโดยคำนึงถึงอาหาร

      -เพื่อลดอาการคลื่นไส้และอาเจียน ควรรับประทานยาขณะท้องว่าง

      -หากเกิดอาการอาเจียนหลังจากให้ยา ไม่ควรให้ยาครั้งอีกครั้งภายในวันนั้น

      -ควรให้ยาก่อนนอน

      การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ

      – ดึงยาออกมาในปริมาณที่เหมาะสมและถ่ายเทยาเข้าไปในถุงสำหรับ infusion ขนาด 25 มล

      -หยอดยาเข้าหลอดเลือดดำนานกว่า 90 นาทีโดยใช้เครื่องปั๊ม

      -ควรล้างสายยางก่อนและหลังจากหยอดยาทุกครั้ง หยอดยาเข้าสู่หลอดเลือดดำเท่านั้น

      -สามารถให้ยาในสายเดียวกันกับโซเดียมคลอไรด์ 0.9% สำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำเท่านั้น

      การเก็บรักษา

      ยาสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

      -ก่อนผสมยา ควรเก็บไว้ในตู้เย็น

      -หลังจากผสมยาแล้ว ควรเก็บยาไว้ในอุณหภูมิห้อง ยาที่ผสมแล้วควรใช้ภายใน 14 ชั่วโมงรวมเวลาในการหยอดยา

      เทคนิคในการคืนรูปยาหรือเตรียมยา

      ยาสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

      -ทำให้ขวดยาอยู่ในอุณหภูมิห้องก่อนคืนผสมยา

      -ผสมยาโดยใช้น้ำเกลือสำหรับฉีด 41 มล. แล้วหมุนวนขวดเบาๆ อย่าเขย่าขวด

      -ควรตรวจสอบขวดยาเพื่อมองหาสิ่งผิดปกติ หากมีฝุ่นละออง ไม่ควรใช้ยา

      คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

      -อาจให้ยาแก้อาเจียนก่อน จนถึง และ/หรือ หลังจากการให้ยา

      -หากยาแคปซูลนั้นเปิดอยู่หรือเสียหาย ควรระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงการสูดดมหรือให้ยาสัมผัสกับผิวหรือเยื่อเมือก

      ขนาดยาเทโมโซโลไมด์สำหรับเด็ก

      ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคเนื้องอกแอนนาพลาสติก แอสโตรไซต์โตมา

      อายุน้อยกว่า 3 ปี: ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพ

      อายุ 3 ปีขึ้นไปและยังไม่เคยได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด:

      200 มก./ตารางเมตร รับประทานวันละครั้ง

      ระยะเวลาการรักษา 5 วัน ตามด้วยหยุดการรักษานาน 23 วัน

      เคยได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด:

      ขนาดยาเริ่มต้น 150 มก./ตารางเมตร รับประทานวันละครั้ง

      ขนาดยาปกติ 200 มก./ตารางเมตร รับประทานวันละครั้ง

      ระยะเวลาการรักษา 5 วันแรกของรอบการรักษาแต่ละครั้ง

      คำแนะนำ

      -ควรเพิ่มขนาดยาในรอบที่ 2 สำหรับผู้ป่วยที่เคยรับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหากไม่มีความเป็นพิษต่อเลือด

      -หากค่าต่ำสุดของค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลในวันที่ใช้ยา (วันที่ 29 หรือวันที่ 1 ของรอบถัดไป) นั้นมากกว่าหรือเท่ากับ 1.5 × 10(9)/ลิตร และจำนวนเกล็ดเลือดนั้นมากกว่าหรือเท่ากับ 100 × 10(9)/ลิตร อาจเพิ่มขนาดยาไปที่ 200 มก./ตารางเมตร รับประทานวันละครั้ง เป็นเวลา 5 วันติดต่อกันต่อรอบการรักษา 28 วัน

      -ในช่วงระหว่างการรักษา ควรตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดในวันที่ 22 (21 วันหลังจากใช้ยาครั้งแรก) หรือภายใน 48 ชั่วโมงของวันนั้น และทุกสัปดาห์จนกระทั่งค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลนั้นมากกว่า 1.5 × 10(9)/ลิตร และจำนวนเกล็ดเลือดนั้นมากกว่า 100 × 10(9)/ลิตร ไม่ควรเริ่มการรักษารอบถัดไปจนกว่าค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลและจำนวนเกล็ดเลือดนั้นจะมากกว่าระดับเหล่านี้

      -หากค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลนั้นต่ำกว่า 1.0 × 10(9)/ลิตร หรือจำนวนเกล็ดเลือดต่ำกว่า 50 × 10(9)/ลิตร ในช่วงระหว่างรอบใดๆ รอบการรักษาถัดไปควรลดขนาดยาลงมา 50 มก./ตารางเมตร แต่ไม่ควรต่ำกว่าขนาดยาต่ำสุดที่แนะนำที่ 100 มก./ตารางเมตร

      -อาจดำเนินการรักษาอย่างต่อเนื่องจนอาการรุนแรงขึ้นหรือจนถึงสูงสุด 2 ปี

      การใช้งาน

      -สำหรับโรคมะเร็งไกลโอบลาสโตมา มัลติฟอร์เมหรือโรคเนื้องอกแอนนาพลาสติก แอสโตรไซต์โตมาที่กำเริบหรือมีอาการรุนแรงขึ้น

      ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคมะเร็งไกลโอบลาสโตมา มัลติฟอร์เม

      อายุน้อยกว่า 3 ปี ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพ

      อายุ 3 ปีขึ้นไป

      ยังไม่เคยได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด

      200 มก./ตารางเมตร รับประทานวันละครั้ง

      ระยะเวลาการรักษา 5 วัน ตามด้วยหยุดการรักษานาน 23 วัน

      เคยได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด

      ขนาดยาเริ่มต้น 150 มก./ตารางเมตร รับประทานวันละครั้ง

      ขนาดยาปกติ 200 มก./ตารางเมตร รับประทานวันละครั้ง

      ระยะเวลาการรักษา 5 วันแรกของรอบการรักษาแต่ละครั้ง

      คำแนะนำ

      -ควรเพิ่มขนาดยาในรอบที่ 2 สำหรับผู้ป่วยที่เคยรับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหากไม่มีความเป็นพิษต่อเลือด

      -หากค่าต่ำสุดของค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลในวันที่ใช้ยา (วันที่ 29 หรือวันที่ 1 ของรอบถัดไป) นั้นมากกว่าหรือเท่ากับ 1.5 × 10(9)/ลิตร และจำนวนเกล็ดเลือดนั้นมากกว่าหรือเท่ากับ 100 × 10(9)/ลิตร อาจเพิ่มขนาดยาไปที่ 200 มก./ตารางเมตร รับประทานวันละครั้ง เป็นเวลา 5 วันติดต่อกันต่อรอบการรักษา 28 วัน

      -ในช่วงระหว่างการรักษา ควรตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดในวันที่ 22 (21 วันหลังจากใช้ยาครั้งแรก) หรือภายใน 48 ชั่วโมงของวันนั้น และทุกสัปดาห์จนกระทั่งค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลนั้นมากกว่า 1.5 × 10(9)/ลิตร และจำนวนเกล็ดเลือดนั้นมากกว่า 100 × 10(9)/ลิตร ไม่ควรเริ่มการรักษารอบถัดไปจนกว่าค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลและจำนวนเกล็ดเลือดนั้นจะมากกว่าระดับเหล่านี้

      -หากค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลนั้นต่ำกว่า 1.0 × 10(9)/ลิตร หรือจำนวนเกล็ดเลือดต่ำกว่า 50 × 10(9)/ลิตร ในช่วงระหว่างรอบใดๆ รอบการรักษาถัดไปควรลดขนาดยาลงมา 50 มก./ตารางเมตร แต่ไม่ควรต่ำกว่าขนาดยาต่ำสุดที่แนะนำที่ 100 มก./ตารางเมตร

      -อาจดำเนินการรักษาอย่างต่อเนื่องจนอาการรุนแรงขึ้นหรือจนถึงสูงสุด 2 ปี

      การใช้งาน

      -สำหรับโรคมะเร็งไกลโอบลาสโตมา มัลติฟอร์เมหรือโรคเนื้องอกแอนนาพลาสติก แอสโตรไซต์โตมาที่กำเริบหรือมีอาการรุนแรงขึ้น

      ข้อควรระวัง

      ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 18 ปี

      รูปแบบของยา

      ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

      • ยาแคปซูลสำหรับรับประทาน
      • ยาผงสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

      กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

      หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

      กรณีลืมใช้ยา

      หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

      Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

      หมายเหตุ

      Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด



      ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

      เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

      ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


      เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

      ad iconโฆษณา

      คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

      ad iconโฆษณา
      ad iconโฆษณา