ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group
ยาเฮพาริน (Heparin) คือ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant) ที่ช่วยป้องกันการก่อตัวของลิ่มเลือด ใช้เพื่อรักษาและป้องกันลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ หลอดเลือดแดง หรือปอด ยานี้ยังใช้ก่อนการผ่าตัดเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือด
ยาฉีด เฮพาริน ไม่ควรใช้กับการสวนยาเข้าหลอดเลือด (เพื่อทำความสะอาด) ท่อสวนยาเข้าหลอดเลือดดำ (intravenous catheter) หรือหากมีผลิตภัณฑ์อย่างอื่นอยู่แล้ว อย่างหลอดสวน (catheter) ชุดอุปกรณ์ (lock) และท่อสวน (flush) อย่างไรก็ตามอาจมีการใช้ยาเฮพารินสำหรับจุดประสงค์อื่นที่ไม่มีอยู่ในคำแนะนำการใช้ยา
ยาเฮพารินนั้นควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาเฮพารินบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ไม่ควรทิ้งยาเฮพารินลงในชักโครก หรือในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง
ก่อนใช้ยาเฮพาริน
ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้ ยาเฮพารินจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)
การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้
รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินในทันทีหากคุณมีอาการแพ้ดังนี้ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ลมพิษ คัน หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ หรือรู้สึกเหมือนจะหมดสติ
บางคนที่ใช้ยาฉีดเฮพารินอาจจะมีปฏิกิริยากับยาแบบหยด (ฉีดยาเข้าในหลอดเลือดดำ) แจ้งแพทย์ในทันที หากคุณรู้สึกคลื่นไส้ วิงเวียน เหงื่อออก หรือหายใจไม่อิ่มขณะฉีดหรือหลังฉีดยาเฮพาริน
หยุดใช้ยาเฮพารินและแจ้งแพทย์ทันทีหากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรงดังนี้
ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่ามีดังนี้
ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ
ยาเฮพารินอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์
แจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาอื่นๆ ที่คุณใช้โดยเฉพาะ
ยาเฮพารินอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
ยาเฮพารินอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอโดยเฉพาะ
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน (deep vein thrombosis):
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน (deep vein thrombosis):
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism):
ขนาดยาควรปรับเพื่อรักษาระดับของการควบคุมเอพีอีอี (aPTT) ไว้ที่ 1.5 ถึง 2.5 เท่า ของพลาสมาควบคุม
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษากล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (Myocardial Infarction):
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากหัวใจขาดเลือด (Angina pectoris):
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาต้านการแข็งตัวของเลือดขณะตั้งครรภ์:
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคหลอดเลือดอุดตัน (Thrombotic/Thromboembolic Disorder):
ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดอุดตัน (Thrombotic/Thromboembolic Disorder): ท่อสวนยาเข้าหลอดเลือดดำ (IV line flush):
ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้
หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที
อาการของการใช้ยาเกินขนาดมีดังนี้
หากคุณลืมรับประทานยาควรรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย