ข้อบ่งใช้
ไพรโลเซค (โอมิพราโซล) ใช้สำหรับ
ไพรโลเซค (Prilosec®) เป็นยายับยั้งโปรตอนปั๊ม (proton pump inhibitor) ซึ่งช่วยในการลดปริมาณการผลิตกรดภายในกระเพาะอาหาร ยาไพรโลเซคใช้เพื่อรักษาอาการของโรคหรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease) และสภาวะอื่นๆ ที่เกิดจากการมีกรดเกินในกระเพาะ ยาโอเมพราโซล (Omeprazole) นั้นใช้เพื่อช่วยเพิ่มการฟื้นฟูอาการหลอดอาหารอักเสบแบบสึกกร่อน ซึ่งจะสร้างความเสียหายภายในหลอดอาหาร เนื่องจากกรดในกระเพาะอาหาร
ยาไพรโลเซคอาจใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ที่เกิดจากการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (helicobacter pylori) ยาไพรโลเซคไม่สามารถบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอกได้อย่างทันที
วิธีการใช้ยา ไพรโลเซค (โอมิพราโซล)
ไพรโลเซค มักจะรับประทานก่อนอาหาร อย่างน้อยก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง และควรทำตามวิธีการใช้ยาทั้งหมดที่กำหนดบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด อย่าใช้ยานี้ในขนาดที่มากกว่า น้อยกว่า หรือนานกว่าที่แนะนำ
ยาไพรโลเซคที่หาซื้อได้เอง ควรรับประทานแค่หนึ่งครั้ง ทุกๆ 24 ชั่วโมงเป็นเวลา 14 วัน การรับประทานยานี้ในตอนเช้า ก่อนอาหารเช้า อาจต้องใช้เวลานานถึง 4 วันกว่าจะได้รับผลอย่างเต็มที่ อย่าใช้ยามากกว่าหนึ่งเม็ดทุกๆ 24 ชั่วโมง และควรรอให้เวลาผ่านไปอย่างน้อย 4 เดือนก่อน แล้วจึงค่อยเริ่มการรักษาโดยใช้ยาไพรโลเซคที่หาซื้อได้เอง 14 วันอีกชุด โปรดติดต่อแพทย์ในทันที หากคุณมีอาการเพิ่มเติม และจำเป็นต้องรับการรักษาก่อนเวลาผ่านไป 4 เดือน อย่าบด เคี้ยว หรือหักยาเม็ดออกฤทธิ์นาน หรือยาเม็ดไพรโลเซคที่หาซื้อได้เอง ควรกลืนยาลงไปทั้งเม็ด
คุณอาจจะแกะยาแคปซูลแบบออกฤทธิ์นาน แล้วโรยผงลงบนซอสแอปเปิ้ลเพื่อให้กลืนง่ายขึ้น ควรกลืนส่วนผสมลงไปทันทีโดยไม่ต้องเคี้ยว อย่าเก็บส่วนผสมนี้ไว้ใช้ภายหลัง ควรใช้ยาไพรโลเซคจนครบกำหนด อาการของคุณอาจจะดีขึ้นก่อนที่อาการจะหายไปอย่างสมบูรณ์
การเก็บรักษายา ไพรโลเซค (โอมิพราโซล)
ไพรโลเซค ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาไพรโลเซค บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ไม่ควรทิ้งยาไพรโลเซคลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง
ข้อควรระวังและคำเตือน
ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาไพรโลเซค (โอมิพราโซล)
ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก
- คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
- หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
- หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่มีฤทธิ์ในการรักษาของยาไพรโลเซค หรือยาอื่นๆ
- หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
อาการแสบร้อนกลางอกมักจะมีความสับสนกับอาการแรกของโรคหัวใจวาย เมื่อมีอาการควรรับการรักษาในทันที หากคุณมีอาการเจ็บหน้าอกหรือรู้สึกหนัก รู้สึกปวดแพร่ไปยังแขนหรือหลัง คลื่นไส้ เหงื่อออก และรู้สึกป่วยทั่วไป
การใช้ยาในกลุ่มยายับยั้งโปรตอนปั๊ม เช่น ยาไพรโลเซคนั้นอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการกระดูกหักที่บริเวณสะโพก ข้อมือ หรือกระดูกสันหลัง ผลของยานี้มักจะเกิดกับผู้ที่ใช้ยาเป็นเวลานานหรือใช้ยาในขนาดสูง และผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ยาไพรโลเซคนั้นสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการกระดูกหักจริงหรือไม่
สภาวะบางอย่างสามารถรักษาได้ด้วยยาไพรโลเซคและยาปฏิชีวนะ ควรใช้ยาทั้งหมดตามที่แพทย์กำหนด อ่านคู่มือการใช้ยาหรือคำแนะนำผู้ป่วยของยาแต่ละชนิด อย่าเปลี่ยนขนาดยาหรือตารางการใช้ยา โดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ยาไพรโลเซคจะทำอันตรายต่อทารกในครรภ์หรือไม่ โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณตั้งครรภ์หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์
ยาโอเมพราโซลสามารถผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่ และอาจเป็นอันตรายต่อทารกได้ อย่าใช้ยาไพรโลเซคโดยที่ไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ หากคุณกำลังใช้นมบุตร และยานี้สามารถทำให้ผลการตรวจทางการแพทย์บางชนิดผิดปกติได้ และคุณอาจจะต้องหยุดใช้ยานี้เป็นเวลาสั้นๆ ก่อนทำการตรวจ โปรดแจ้งให้แพทย์ที่รักษาคุณทราบว่า คุณกำลังใช้ยาไพรโลเซค อย่าใช้ยาไพรโลเซคกับเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี โดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ หากคุณใช้ยาไพรโลเซคนานกว่า 3 ปี คุณอาจจะมีภาวะขาดวิตามินบี 12 ได้ หากคุณมีสภาวะนี้ โปรดปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการจัดการสภาวะนั้น
โปรดติดต่อแพทย์ หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง หลังจากที่ใช้ยาไพรโลเซค
ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้ ยาไพรโลเซคจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)
การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้
- A= ไม่มีความเสี่ยง
- B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
- C= อาจจะมีความเสี่ยง
- D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
- X= ห้ามใช้
- N= ไม่ทราบแน่ชัด
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงของการใช้ยาไพรโลเซค (โอมิพราโซล)
หากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ ควรเข้ารับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที
และควรติดต่อแพทย์ในทันทีหากมีอาการตามด้านล่างนี้
- ปวดท้องอย่างรุนแรง ท้องร่วงไหลเป็นน้ำหรือเลือด
- มีอาการชัก
- ปัญหาเกี่ยวกับไต – ปัสสาวะน้อยหรือไม่ปัสสาวะเลย มีเลือดปนในปัสสาวะ บวม น้ำหนักเพิ่มอย่างรวดเร็ว
- อาการของแมกนีเซียมต่ำ – วิงเวียน สับสน หัวใจเต้นเร็วหรือไม่สม่ำเสมอ สั่นเทาหรือกล้ามเนื้อกระตุก รู้สึกกระวนกระวายใจ เป็นตะคริว กล้ามเนื้อกระตุกที่มือหรือเท้า ไอหรือสำลัก
ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปมีดังนี้
- ปวดท้อง มีแก๊ส
- คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง
- ปวดหัว
ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ หรืออาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร
ปฏิกิริยาของยา
ปฏิกิริยากับยาอื่น
ยาไพรโลเซคอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์
ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่
- ไซลอสทาซอล (Cilostazol)
- โคลพิโดเกรล (Clopidogrel)
- ยาไดอาเซแพม (Diazepam) อย่างวาเลียม (Valium)
- ไดจอกซิน (Digoxin)
- ยาไดซัลฟิแรม (Disulfiram) อย่างแอนทาบูส (Antabuse)
- เออร์โลทินิบ (Erlotinib)
- ยาที่มีส่วนผสมของเหล็ก อย่างเฟอร์รอส ฟูมาเรต (ferrous fumarate) เฟอร์รอส กลูโคเนต (ferrous gluconate) เฟอร์รอส ซัลเฟต (ferrous sulfate) และอื่นๆ
- เมโทเทรเซต (Methotrexate)
- ไมโคฟีโนเลต โมฟีทิล (Mycophenolate mofetil)
- เฟนีโทอิน (Phenytoin)
- สมุนไพรเซนต์จอฟ์น (John’s wort)
- ทาโครลิมัส (Tacrolimus)
- ยาวาฟาริน (Warfarin) อย่างคูมาดิน (Coumadin) หรือแจนโทเวน (Jantoven)
- ยาปฏิชีวนะ– แอมพิซิลลิน (ampicillin) อะมอกซิลลิน (amoxicillin) คลาริโทรมัยซิน (clarithromycin) ไรแฟมพิน (rifampin)
- ยาต้านเชื้อรา — คีโตโคนาโซล (ketoconazole) โวริโคนาโซล (voriconazole)
- ยารักษาเอชไอวีหรือโรคเอดส์ — อะทาซานาเวียร์ (atazanavir) เนลฟินาเวียร์ (nelfinavir) ซาควินาเวียร์ (saquinavir)
ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์
ยาไพรโลเซคอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น
ยาไพรโลเซคอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ
โรคที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่
- โรคตับ
- แมกนีเซียมในเลือดต่ำ
- โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) หรือโรคกระดูกบาง (osteopenia)
- มีปัญหากับการกลืนหรือมีอาการปวดขณะกลืน
- อุจจาระสีเลือดหรือสีดำ อาเจียนคล้ายเลือดหรือกากกาแฟ
- แสบร้อนกลางอกนานกว่า 3 เดือน
- ปวดหน้าอกบ่อยครั้ง แสบร้อนกลางอก พร้อมกับอาการหายใจมีเสียงหวีด
- น้ำหนักลดอย่างหาสาเหตุไม่ได้
- คลื่นไส้หรืออาเจียน ปวดท้อง
ขนาดยา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
ขนาดยาไพรโลเซค (โอมิพราโซล) สำหรับผู้ใหญ่
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenal Ulcer)
20 มก. รับประทานวันละครั้งก่อนมื้ออาหาร ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะฟื้นฟูภายใน 4 ถึง 8 สัปดาห์
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร
ระยะเวลาการรักษา
- ยาโอเมพราโซลขนาด 40 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเช้า ร่วมกับยาคลาริโทรมัยซินขนาด 500 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง ในวันที่ 1 ถึง 14 เริ่มต้นในวันที่ 15
- ยาโอเมพราโซลขนาด 20 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเช้าของวันที่ 15 ถึง 28
การรักษาด้วยยาสามชนิด
- ยาโอเมพราโซลขนาด 20 มก. รับประทานร่วมกับยาคลาริโทรมัยซินขนาด 500 มก. บวกกับยาอะมอกซิลลินขนาด 1000 มก. รับประทานทั้งหมดวันละสองครั้งเป็นเวลา 10 วัน
- หากมีแแผลอยู่ในช่วงเริ่มต้นการรักษา ควรใช้ยาโอเมพราโซลขนาด 20 มก. รับประทานวันละครั้ง ต่อไปอีกเป็นเวลา 18 วัน
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
40 มก. รับประทานวันละครั้งก่อนมื้ออาหารเป็นเวลา 4 ถึง 8 สัปดาห์
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคหลอดอาหารอักเสบแบบสึกกร่อน
20 มก. รับประทานวันละครั้งก่อนมื้ออาหาร อาจเพิ่มขนาดยาไปถึง 40 มก. ต่อวันโดยขึ้นอยู่กับการตอบสนองและความทนต่อยาของผู้ป่วย งานวิจัยเสร็จสิ้นการรักษาระดับการรักษาโรคหลอดอาหารอักเสบแบบสึกกร่อนนานถึง 12 เดือน
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษากลุ่มอาการโซลลิงเจอร์–เอลลิสัน (Zollinger-Ellison Syndrome)
- ขนาดยาเริ่มต้น 60 มก. รับประทานวันละครั้ง ขนาดยาควรแตกต่างกันตามความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย
- ขนาดยาปกติ เคยมีการใช้ยาในขนาดสูงถึง 120 มก. วันละ 3 ครั้ง ขนาดยาที่มากกว่า 80 มก. ควรแบ่งให้ยา
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อน
- ขนาดยาเริ่มต้น 20 มก. รับประทานวันละครั้งก่อนมื้ออาหารเป็นเวลา 4 ถึง 8 สัปดาห์ อาจเพิ่มขนาดยาขึ้นไปถึง 40 มก. ต่อวันหากจำเป็น
- ขนาดยาปกติ อาจจำเป็นต้องทำการรักษาในระยะยาวโดยใช้ยาในขนาด 10 ถึง 20 มก. ต่อวันเพื่อรักษาระดับการรักษาโรคที่ดื้อยาและดูเหมือนว่าจะปลอดภัย
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการเนื้องอกของต่อมไร้ท่อหลายต่อม (Multiple Endocrine Adenomas)
- ขนาดยาเริ่มต้น 60 มก. รับประทานวันละครั้งก่อนมื้ออาหาร อาจปรับขนาดยาโดยโดยขึ้นอยู่กับการตอบสนองและความทนต่อยาของผู้ป่วยที่ต้องการ
- ขนาดยาปกติ เคยมีการใช้ยาในขนาดสูงถึง 120 มก. วันละ 3 ครั้ง
- ขนาดยาที่มากกว่า 80 มก. ควรแบ่งให้ยา
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาซิสเตมิก มาสโตไซโตซิส (Systemic Mastocytosis)
- ขนาดยาเริ่มต้น 60 มก. รับประทานวันละครั้งก่อนมื้ออาหาร อาจปรับขนาดยาโดยโดยขึ้นอยู่กับการตอบสนองและความทนต่อยาของผู้ป่วยที่ต้องการ
- ขนาดยาปกติ เคยมีการใช้ยาในขนาดสูงถึง 120 มก. วันละ 3 ครั้ง
- ขนาดยาที่มากกว่า 80 มก. ควรแบ่งให้ยา
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการอาหารไม่ย่อย
การป้องกันอาการแสบร้อนกลางอกบ่อยครั้ง 20 มก. รับประทานวันละครั้ง ก่อนมื้ออาหาร เป็นเวลา 14 วัน
ขนาดยาไพรโลเซค (โอมิพราโซล) สำหรับเด็ก
ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคหลอดอาหารอักเสบแบบสึกกร่อน
รับประทาน
ทารก
- โรคกรดไหลย้อน 0.7 มก./กก./ครั้ง วันละครั้ง ช่วยลดเปอร์เซ็นต์ของค่า pH ภายในกระเพาะอาหารและหลอดอาหารให้น้อยกว่า 4 เช่นเดียวกับจำนวนครั้งในการเกิดอาการกรดไหลย้อนในทารกแรกเกิด 10 ราย (ค่าเฉลี่ยอายุครรภ์หลังปฏิสินธิ [PMA] 36.1 สัปดาห์) [34 ถึง 40 สัปดาห์]) ในการทดลอง เคยมีรายงานขนาดยาสูงกว่าที่ 1 ถึง 1.5 มก./กก./วัน
เด็กและวัยรุ่น 1 ถึง 16 ปี: โรคกรดไหลย้อน แผลในกระเพาะ หลอดอาหารอักเสบ
คำแนะนำจากผู้ผลิต
- 5 กก. ถึงน้อยกว่า 10 กก. 5 มก. วันละครั้ง
- 10 กก. ถึงน้อยกว่าหรือเท่ากับ 20 กก. 10 มก. วันละครั้ง
- หนักกว่า 20 กก. 20 มก. วันละครั้ง
ขนาดยาทางเลือก
เด็ก 1 ถึง 16 ปี
- 1 มก./กก./ครั้ง วันละหนึ่งหรือสองครั้ง
- การเสริมการรักษาแผลในลำไส้เล็กส่วนต้นที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (ใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะไม่ยาคลาริโทรมัยซินก็ยาคลาริโทรมัยซินบวกกับยาอะมอกซิซิลลิน) ในเด็ก
- 15 ถึง 30 กก. 10 มก. วันละสองครั้ง
- หนักกว่า 30 กก. 20 มก. วันละสองครั้ง
ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อน
รับประทาน
ทารก
- โรคกรดไหลย้อน 0.7 มก./กก./ครั้ง วันละครั้ง ช่วยลดเปอร์เซ็นต์ของค่า pH ภายในกระเพาะอาหารและหลอดอาหารให้น้อยกว่า 4 เช่นเดียวกับจำนวนครั้งในการเกิดอาการกรดไหลย้อนในทารกแรกเกิด 10 ราย (ค่าเฉลี่ยอายุครรภ์หลังปฏิสินธิ 36.1 สัปดาห์) [34 ถึง 40 สัปดาห์]) ในการทดลอง เคยมีรายงานขนาดยาสูงกว่าที่ 1 ถึง 1.5 มก./กก./วัน
เด็กและวัยรุ่น 1 ถึง 16 ปี โรคกรดไหลย้อน แผลในกระเพาะ หลอดอาหารอักเสบ
คำแนะนำจากผู้ผลิต
- 5 กก. ถึงน้อยกว่า 10 กก. 5 มก. วันละครั้ง
- 10 กก. ถึงน้อยกว่าหรือเท่ากับ 20 กก. 10 มก. วันละครั้ง
- หนักกว่า 20 กก. 20 มก. วันละครั้ง
ขนาดยาทางเลือก
เด็ก 1 ถึง 16 ปี
- 1 มก./กก./ครั้ง วันละหนึ่งหรือสองครั้ง
- การเสริมการรักษาแผลในลำไส้เล็กส่วนต้นที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (ใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะไม่ยาคลาริโทรมัยซินก็ยาคลาริโทรมัยซินบวกกับยาอะมอกซิซิลลิน) ในเด็ก
- 15 ถึง 30 กก. 10 มก. วันละสองครั้ง
- หนักกว่า 30 กก. 20 มก. วันละสองครั้ง
รูปแบบของยา
ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้
- ยาเม็ด
กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด
หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที
กรณีลืมใช้ยา
หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]