backup og meta

ชมพูระย้าทิพย์ (Pau D'Arco)

ชมพูระย้าทิพย์ (Pau D'Arco)

การใช้ประโยชน์ ชมพูระย้าทิพย์

ชมพูระย้าทิพย์ ใช้ทำอะไร?

ชมพูระย้าทิพย์ (Pau D’Arco) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ชาวพื้นเมืองนำมาใช้เป็นยาตั้งแต่ก่อนอาณาจักรอินคา ทุกวันนี้ ชาวบราซิลเรียกต้นชมพูระย้าทิพย์ว่า pau d’Arco หรือ “ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์” เปลือกและไม้ของชมพูระย้าทิพย์ใช้ในการทำยา นิยมใช้ในการรักษา:

  • การติดเชื้อทางเดินหายใจ ไวรัส เช่น โรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 (สุกร)
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองใน และซิฟิลิส
  • การติดเชื้อของต่อมลูกหมาก และกระเพาะปัสสาวะ
  • โรคกลากเกลื้อน และการติดเชื้อปรสิตอื่น ๆ
  • การติดเชื้อยีสต์
  • โรคอุจจาระร่วงติดเชื้อ
  • โรคมะเร็ง
  • โรคโลหิตจาง
  • โรคเบาหวาน
  • การอักเสบในกระเพาะอาหาร (Gastritis)
  • โรคตับ
  • โรคหอบหืด
  • หลอดลมอักเสบ
  • อาการปวดข้อ
  • ไส้เลื่อน
  • น้ำร้อนลวก
  • แผล

ชมพูระย้าทิพย์นำมาใช้กับผิวหนังโดยตรงสำหรับ โรคเชื้อรา (Yeast Infection) ชมพูระย้าทิพย์อาจนำมาใช้ในงานอื่น ๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ

การทำงานของชมพูระย้าทิพย์เป็นอย่างไร

งานวิจัยเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของชมพูระย้าทิพย์นี้ยังมีไม่เพียงพอ โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาบางส่วนพบว่ามีสารเคมีสองชนิดในชมพูระย้าทิพย์ คือ นัฟโธควินโนนส์: ลาพาชล (Naphthoquinones: Lapachol) และเบต้า-ลาพาชน (Beta-lapachone) ในห้องทดลองปฏิบัติการ สารเคมีเหล่านี้สามารถฆ่าแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัสและปรสิต และยังมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ รักษาโรคข้อเข่าเสื่อม แต่ยังไม่พบว่า จะมีผลเช่นเดียวกันในมนุษย์และขนาดยาที่ใช้จะมีผลข้างเคียงที่รุนแรงและเป็นพิษหรือไม่

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ชมพูระย้าทิพย์

ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถ้ามีอาการหรือลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรจะได้รับยาหรือสมุนไพรบำรุง ที่จัดจำหน่ายโดยแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ร่วมด้วย รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารที่มีส่วนประกอบชมพูระย้าทิพย์หรือยาและสมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีโรคอื่นๆ แทรกซ้อน
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่นแพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนี้จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ชมพูระย้าทิพย์มีความปลอดภัยแค่ไหน

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:

ไม่พบข้อมูลที่เชื่อถือได้เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการรับประทานอาหารเสริมที่คุณให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการใช้

ศัลยกรรม:

หยุดใช้ชมพูระย้าทิพย์อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ชมพูระย้าทิพย์

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้ชมพูระย้าทิพย์ ได้แก่:

ในบางรายอาจได้รับผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ   โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรของคุณ

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับชมพูระย้าทิพย์มีอะไรบ้าง

อาหารเสริมสมุนไพรชนิดนี้อาจมีปฏิกิริยาระหว่างยาหรือการรักษาทางการแพทย์ในปัจจุบันของคุณ ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรของคุณก่อนใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณกำลังใช้ยาต้านเกล็ดเลือดและยาต้านการแข็งตัวของเลือด ชมพูระย้าทิพย์อาจส่งผลต่อการเกิดลิ่มเลือดและอาจแทรกแซงกับยาเจือจางเลือด

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ปกติแล้วควรใช้ชมพูระย้าทิพย์ ในปริมาณเท่าใด

ขนาดการใช้อาหารเสริมประเภทสมุนไพรชนิดนี้อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ปริมาณยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับปริมาณที่เหมาะสม

 

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

  • เม็ด
  • ชา
  • สารสกัด (ซึ่งมีแอลกอฮอล์)
  • ยาต้ม

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Pau D’Arco. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-647-pau%20d’arco.aspx?activeingredientid=647&activeingredientname=pau%20d%27arco. Accessed December 22, 2016.

Pau D’Arco. http://www.herbal-supplement-resource.com/pau-darco-bark.html.  Accessed December 22, 2016.

Pau D’Arco. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/pau-darco. Accessed December 22, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ถังเช่า (Cordyceps)

การบริโภค อาหารออร์แกนิก ลดความเสี่ยงมะเร็ง ได้จริงหรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา