backup og meta

มดยอบ (Myrrh)

การใช้ประโยชน์

ยางไม้หอม Myrrh ใช้ทำอะไร

ยางไม้หอม Myrrh นั้นใช้เพื่อเป็นยาบรรเทาอาการดังต่อไปนี้ :

  • อาหารไม่ย่อย
  • แผลพุพอง
  • ไข้หวัด
  • อาการไอ
  • หอบหืด
  • ปัญหาที่ปอด
  • ความเจ็บปวดจากหลอดลมอักเสบ
  • มะเร็ง
  • โรคเรื้อน
  • กระตุก
  • โรคซิฟิลิส
  • การไหลของประจำเดือน

นอกจากนี้ ยังสามารถรับประทานเพื่ออาการเจ็บคอหรือปวดบวม เหงือกอักเสบ ฟันหัก โรคปากนกระจอก กลิ่นปากและริมฝีปากแห้งแตก

อีกทั้งยังสามารถบรรเทาโรคริดสีดวงทวาร แผลผ่าตัด แผลถลอกและฝี

ยางไม้หอม Myrrh อาจใช้เพื่อประโยชน์อื่นๆ ได้อีก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่แพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์

การทำงานของยางไม้หอม Myrrh เป็นอย่างไร

ยางไม้หอม Myrrh สามารถช่วยลดการปวดบวม (อาการอักเสบ) และฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ปรึกษาแพทย์และนักสมุนไพรศาสตร์เพื่อข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อควรระวังและคำเตือน:

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ยางไม้หอม Myrrh

ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ในกรณีที่ :

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • ใช้ยาชนิดอื่นอยู่ รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารจากยางไม้หอม Myrrh หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อปฏิบัติในการใช้สมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดที่น้อยกว่าการใช้ยารักษาโรค จำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อรับรองความปลอดภัย ซึ่งการจะใช้ประโยชน์ของสมุนไพรนั้นต้องศึกษาความเสี่ยงก่อนใช้และควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้ดูแลหรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อน

ยางไม้หอม Myrrh นั้นมีความปลอดภัยแค่ไหน

สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร: ยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้สมุนไพรนี้ระหว่างการตั้งครรภ์และช่วงให้นมบุตร ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการใช้

ศัลยกรรม : หยุดใช้ยางไม้หอม Myrrh อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการศัลยกรรม

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยางไม้หอม Myrrh มีอะไรบ้าง

อาจเกิดผลข้างเคียงดังนี้ :

  • ผื่นขึ้น (หากทาผิวโดยตรง)
  • ท้องร่วงท้องเสีย (เมื่อรับประทาน)
  • เกิดการระคายเคืองที่ไต
  • อัตราการเต้นของหัวใจเปลี่ยนแปลง

ผลข้างเคียงจากน้ำมันของยางไม้หอม Myrrh เช่น :

  • ความดันโลหิตต่ำลง
  • เลือดออกในโพรงมดลูก
  • ไข้
  • ท้องร่วงท้องเสีย

ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียงดังกล่าว บางครั้งอาจเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงซึ่งหากพบอาการข้างเคียงใดๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับยางไม้หอม Myrrh มีอะไรบ้าง

การใช้ยาดังกล่าวนี้อาจเกิดปฏิกริยากับยาหรือการรักษาอื่นๆ ที่ใช้อยู่เป็นประจำได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้

การรักษาที่อาจมีผลเช่น :

การรักษาโรคเบาหวาน (ยาต้านโรคเบาหวาน): ยางไม้หอม Myrrh อาจลดระดับน้ำตาลในเลือดในขณะที่ยาต้านโรคเบาหวานก็ลดระดับน้ำตาลในเลือดเช่นเดียวกัน การใช้ร่วมกันจึงอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมากเกินไป ควรสังเกตขนาดากรใช้อย่างใกล้ชิดและปริมาณยาต้านโรคเบาหวานจึงอาจเปลี่ยนแปลง ยาต้านโรคเบาหวาน เช่น glimepiride (Amaryl), glyburide (DiaBeta, Glynase PresTab, Micronase), insulin, pioglitazone (Actos), rosiglitazone (Avandia), chlorpropamide (Diabinese), glipizide (Glucotrol), tolbutamide (Orinase)และอื่นๆ

  • Warfarin: ยางไม้หอม myrrh อาจลดประสิทธิภาพการทำงานของ warfarin ในชะลอการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดมีการแข็งตัวมากขึ้น

ลภาวะของร่างกาย ดังนี้ :

  • การอักเสบในระบบต่างๆ
  • โรคเบาหวาน
  • ไข้หวัด
  • ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ
  • เลือดออกในโพรงมดลูก

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ

 

ปกติแล้วควรใช้ยางไม้หอม Myrrh ในปริมาณเท่าใด

ทิงเจอร์:

ใช้ในบริเวณที่ต้องการ 2 – 3 ครั้งทุกวันโดยไม่ต้องเจือจาง

 

น้ำชา :

ขนาดที่แนะนำคือ 1 – 2 ช้อนชาในน้ำต้มสุก แช่ไว้ 10 – 15 นาที ดื่มวันละสามครั้ง

ใช้ล้าง:

แนะนำที่ 5 – 10 หยดในน้ำ

 

บ้วนปาก :

แนะนำที่ 30 – 60 หยดในน้ำ

 

ผงทันตกรรม:

แนะนำที่ 10% ของผงเรซิน

 

น้ำมันสกัด :

ทาที่อกหรือคอเพื่อลดอาการหลอดลมอักเสบหรือเจือจางในน้ำหรืออื่นๆ แล้วทาที่แผลพุพอง

ปริมาณในการใช้ยางไม้หอม Myrrh อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม

ยางไม้หอม Myrrh ที่ใช้อยู่ในรูปแบบใด

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้ :

  • ทิงเจอร์
  • น้ำชา
  • น้ำใช้ชำระล้าง
  • น้ำยาบ้วนปาก
  • ผงทันตกรรม
  • แคปซูล
  • น้ำมันสกัด

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาแต่อย่างใด

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Myrrh. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-570-Myrrh.aspx?activeingredientid=570&activeingredientname=Myrrh. Accessed December 6, 2016

Myrrh. https://www.drugs.com/npp/Myrrh.html. Accessed December 6, 2016

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/09/2019

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Ploylada Prommate


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะก่องข้าว สมุนไพรพื้นบ้านมากคุณประโยชน์

หน่อไม้ (Bamboo shoots)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/09/2019

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา