โปรดแจ้งให้ทราบหากข้อมูลไม่ถูกต้อง
โปรดแจ้งให้ทราบหากข้อมูลไม่ครบถ้วน
แม้ว่าเราอาจไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรค แต่เราก็พร้อมรับฟังความคิดเห็นของท่าน โปรดแสดงความคิดเห็นในกล่องข้อความด้านล่าง
มันเทศป่า มักใช้สำหรับการบำบัดหรือทดแทนสโตรเจน ช่องคลอดแห้งในสตรีที่มีอายุมาก อาการก่อนมีประจำเดือน PMS โรคกระดูกพรุน เพิ่มพลังทางเพศในชายและหญิง และการขยายเต้านม
นอกจากนี้ยังใช้มันเทศป่า เพื่อรักษาความผิดปกติของลำไส้ที่เรียกว่า diverticulosis อาการปวดถุงน้ำดี โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และบำรุงกำลัง
บางครั้งมันเทศป่า ใช้เป็นครีมบำรุงผิว และเพื่อลดอาการหมดประจำเดือน เช่นกะพริบร้อน
อาจมีการกำหนดให้มีการใช้มันเทศป่าเพื่อการใช้งานอื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ
การศึกษาเกี่ยวกับกลไกออกฤทธิ์ของสมุนไพรชนิดนี้ยังมีไม่เพียงพอ กรุณาปรึกษาแพทย์สมุนไพรของคุณเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมอย่างไรก็ตามมีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับมันเทศป่าที่มีสารเคมี diosgenin ซึ่งสามารถทำหน้าที่เเป็นสเตียรอยด์ต่างๆ เช่นเอสโตรเจนที่ทดลองในห้องปฏิบัติการ อย่างไรก็ตาม ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนมันเทศป่าให้เป็นเอสโตรเจนได้
ปรึกษากับแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรของคุณในกรณี:
ข้อกำหนดในการใช้อาหารเสริมสมุนไพรมีความเข้มงวดน้อยกว่าการใช้ยาทั่วไป แต่ควรศึกษาให้รอบคอบเพื่อรับรองความปลอดภัยของการใช้สมุนไพร ว่าควรเกิดคุณประโยชน์มากกว่าอันตราย และควรปรึกษาแพทย์หรือหมอสมุนไพรเพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม
ความปลอดภัยของมันเทศป่า
เด็ก:
ไม่ได้มีข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับมันเทศป่าในเด็ก ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้ในเด็ก
หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร:
ข้อมูลไม่น่าเชื่อถือเพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการรับประทานมันเทศป่า ถ้าคุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการใช้
มันเทศป่าอาจมีความปลอดภัยเมื่อนำมาใช้รับประทานหรือทาลงบนผิว แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ปริมาณยามากอาจทำให้อาเจียนได้ ในบางรายอาจได้รับผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรของคุณ
อาหารเสริมสมุนไพรชนิดนี้อาจทำปฏิกิริยาระหว่างการใช้ยาหรืออาการทางการแพทย์ในปัจจุบันของคุณ ปรึกษากับหมอรักษาสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้
ยาหรือภาวะสุขภาพบางอย่างอาจทำปฏิกิริยาระหว่างการใช้ยากับสมุนไพรของคุณเช่น:
การขาดโปรตีน มันเทศป่าอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการก่อตัวเป็น มะเร็ง เพราะทำหน้าที่เหมือนฮอร์โมนเพศหญิง มีรายงานกรณีหนึ่งของผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) ทำให้มีการก่อลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำที่เรตินาในตาของเธอ 3 เพียงสามวันหลังจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของธัญพืช ตังกุย หรือ ภาษาไทยเรียกว่า โกฏเชียง พืชตระกูลถั่วและโคฮอชดำ
ข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือแพทย์ของคุณก่อนที่จะใช้ยานี้
ผู้ป่วยแต่ละคนอาจใช้สมุนไพรชนิดนี้ในปริมาณที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และอาการอื่น ๆ สมุนไพรไม่ได้รับรองความปลอดภัยเสมอไป ควรสอบถามแพทย์สำหรับปริมาณการใช้ที่เหมาะสมกับตนเอง
อาหารเสริมประเภทสมุนไพรอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Wild-Yam. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-970-wild%20yam.aspx?activeingredientid=970&activeingredientname=wild%20yam. Accessed December 14, 2016
Wild-Yam. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/wild-yam. Accessed December 14, 2016
Wild-Yam. https://www.drugs.com/npp/wild-yam.html. Accessed December 14, 2016