สรรพคุณของระกำ
ระกำคือสมุนไพรชนิดหนึ่ง ใบและน้ำมันใช้ทำเป็นยาได้ ใบระกำใช้รักษาอาการต่อไปนี้:
- ปวดศีรษะ
- อาการปวดเส้นประสาท
- โรคข้ออักเสบ
- เจ็บปวดรังไข่
- อาการปวดประจำเดือน
- ปวดท้องและมีแก๊สในกระเพาะอาหาร
- โรคหอบหืด
- เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
- อาการบาดเจ็บและบวม (อักเสบ)
- ไข้
- โรคไต
ใช้ระกำทาบริเวณผิวหนังเพื่อบรรเทาอาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เจ็บปวดกล้ามเนื้อ และอาการปวดบริเวณหลัง
การรับประทานน้ำมันระกำ จะช่วยเพิ่มประมาณน้ำในกระเพาะและช่วยระบบการย่อยอาหารได้
เมื่อนำน้ำมันระกำมาทาบริเวณผิวหนัง จะมีประสิทธิภาพช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อ กระตุ้นให้เกิดอาการระคายเคืองเพื่อลดอาการปวดและบวมบริเวณเนื้อเยื่อ และยังสามารถช่วยฆ่าเชื้อโรคบนผิวหนัง
ระกำอาจสามารถใช้รักษาอาการอื่นๆ ได้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์
กลไกการออกฤทธิ์
เนื่องจากยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับระกำไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ดี มีการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ระกำประกอบไปด้วยสารเคมีที่มีฤทธิ์คล้ายกับแอสไพริน ซึ่งช่วยลดอาการเจ็บปวด บวม และไข้
ข้อควรระวังและคำเตือน
สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ระกำ
ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:
- ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
- กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
- มีอาการแพ้สารระกำ ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
- มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
- มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ
ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารระกำนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
ระกำปลอดภัยหรือไม่
สำหรับเด็ก:
ใบระกำและน้ำมันระกำ อาจเป็นพิษต่อเด็ก เมื่อรับประทานในปริมาณ 4-10 มิลลิลิตร อาจทำให้เสียชีวิตได้ หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันระกำทาบริเวณผิวหนังของเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี
หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร:
ไม่ควรรับประทานระกำหรือใช้ทาบริเวณผิวหนัง หากอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ระกำ
การรับประทานระกำอาจทำให้มีอาการมีเสียงวี๊ดในหู คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ปวดศีรษะ ปวดท้องและอาการมึนงง
เมื่อทาน้ำมันระกำบริเวณผิวหนังอาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง
ในบางราย อาจได้รับผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้ระกำ
ปฏิกิริยาระหว่างยา
ระกำอาจมีปฏิกิริยาระหว่างยาหรือพยาธิสภาพปัจจุบัน ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้
ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับระกำ เช่น:
- วาร์ฟาริน: เมื่อรับประทานน้ำมันระกำควบคู่กับยาวาร์ฟาริน (คูมาดิน) อาจเพิ่มโอกาสของอาการช้ำและมีเลือดออก
- แอสไพริน: เมื่อใช้น้ำมันระกำในปริมาณมาก ทาบริเวณผิวหนัง ควบคู่กับการรับประทานยาแอสไพริน อาจเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียง
กรุณาแจ้งแพทย์เมื่อมีอาการต่อไปนี้:
- อาการอักเสบของกระเพาะอาการและลำไส้
- อาการแพ้ซาลิไซเลตและแอสไพริน
- โรคหอบหืด
- ริดสีดวงจมูก
ขนาดยา
ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือแพทย์ก่อนใช้
ขนาดการใช้ระกำปกติอยู่ที่เท่าไร
- ไม่ใช่ยาที่มีขายตามทั่วไป
- รับประทานชาใบระกำ โดยใช้ใบระกำแห้ง 1 ช้อนชาต้มน้ำเดือด 1 ถ้วย รับประทานวันละ 1 ถ้วย
ยาใช้ภายนอก:
- ใช้น้ำมันระกำชนิด เจล โลชั่น ขี้ผึ้งหรือน้ำมันนวด (ประกอบด้วยเมทิลซาลิไซเลต 10%-60%) ทาบริเวณผิวหนัง 3-4 ครั้งต่อวัน
- ความร้อนอาจเพิ่มปริมาณการดูดซึมยาบริเวณผิวหนัง ไม่ควรใช้หลังจากการออกกำลังกายหรือหลังการใช้แผ่นประคบร้อน
ปริมาณการใช้ระกำอาจแตกต่างกันไปในแต่ละผู้ป่วย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปริมาณยาที่เหมาะสมสำหรับการรับประทาน
ระกำมีจำหน่ายในรูปแบบใด
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารระกำอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:
- ชา
- เจล
- โลชั่น
- ขี้ผึ้ง
- น้ำมันนวด
*** Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาแต่อย่างใด ***
[embed-health-tool-bmi]