การใช้ประโยชน์ เชอร์รี่ป่า
เชอร์รี่ป่าใช้ทำอะไร
เชอร์รี่ป่า(Wild Cherry) เป็นพืชที่เปลือกใช้ทำเป็นยารักษาโรค:
- ไข้หวัด
- อาการไอกรน
- หลอดลมอักเสบ
- ปัญหาปอดอื่น ๆ
- โรคอุจจาระร่วง
- โรคเกาต์
- ความผิดปกติทางเดินอาหาร
- โรคมะเร็ง
นอกจากนี้ยังใช้ในยาแก้ไอ เนื่องจากผลของในการ ระบายเสมหะ คอแห้ง และบรรเทาการไอ เชอร์รี่ป่าอาจได้รับการกำหนดไว้สำหรับการใช้งานอื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ
การทำงานของเชอร์รี่ป่าเป็นอย่างไร
ไม่มีข้อมูลทางการศึกษาเพียงพอเกี่ยวกับการใช้อาหารเสริมสมุนไพรนี้ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามมีรายงานการศึกษาค้นคว้าว่า เชอร์รี่ป่า มีสารเคมีซึ่งอาจช่วยลดอาการบวมและทำให้แผลหายเร็ว
ข้อควรระวังและคำเตือน
เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้เชอร์รี่ป่า
ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ในกรณีที่:
- ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
- ใช้ยาชนิดอื่นอยู่ รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
- แพ้สารจากเชอร์รี่ป่าหรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
- มีอาการป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีพยาธิสภาพอื่นๆ
- มีอาการแพ้ต่างๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์
ข้อปฏิบัติในการใช้สมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดที่น้อยกว่าการใช้ยารักษาโรค จำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อรับรองความปลอดภัย ซึ่งการจะใช้ประโยชน์ของสมุนไพรนั้นต้องศึกษาความเสี่ยงก่อนใช้และควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้ดูแลหรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้สมุนไพรนั้น
เชอร์รี่ป่ามีความปลอดภัยแค่ไหน
ไม่มีข้อมูลที่เชื่อถือได้เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการรับประทานเชอร์รี่ป่าในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการใช้
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เชอร์รี่ป่ามีอะไรบ้าง
ไม่มีรายงานผลข้างเคียงของเชอร์รี่ป่าหากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรของคุณ
ปฏิกิริยาระหว่างยา
ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับเชอร์รี่ป่ามีอะไรบ้าง
อาหารเสริมสมุนไพรชนิดนี้อาจทำปฏิกิริยาระหว่างการใช้ยาหรืออาการทางการแพทย์ในปัจจุบันของคุณ ปรึกษากับหมอรักษาสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณกำลังใช้ยาที่มีปฏิกิริยากับตับ อาจสามารถเกิดผลข้างเคียงเพิ่มมากขึ้นได้
ยาที่มีปฏิกิริยากับตับ ได้แก่ lovastatin (Mevacor) ketoconazole (Nizoral) itraconazole (Sporanox) fexofenadine (Allegra) triazolam (halcion) และอื่น ๆ
ขนาดการใช้
ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้
ปกติควรใช้เชอร์รี่ป่าในปริมาณเท่าใด
ปริมาณการใช้เชอร์รี่ป่า อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม
สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด
สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้
- ชาเชอร์รี่ป่า
- สารสกัดจากเชอร์รี่ป่า
- น้ำเชื่อมเปลือกเชอร์รี่ป่า
- ครีมเปลือกต้นเชอร์รี่ป่า
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]