backup og meta

วิธีการรับมือกับความกังวล ก่อน ฟังผลตรวจมะเร็ง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 08/12/2020

    วิธีการรับมือกับความกังวล ก่อน ฟังผลตรวจมะเร็ง

    การเป็นมะเร็ง อาจจะเป็นฝันร้ายของใครหลาย ๆ คน ยิ่งในช่วงเวลาแห่งความกังวล ที่จะต้องรอฟังผลตรวจจากคุณหมอว่าเราเป็นมะเร็งหรือไม่นั้น อาจจะทำให้หลายคนวิตกกังวล จิตตก กินไม่ได้นอนไม่หลับ จนทำให้สุขภาพย่ำแย่ลงไปมากกว่าเดิม วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำวิธีการรับมือกับความกังวล ก่อนการ ฟังผลตรวจมะเร็ง เพื่อช่วยให้ทุกคนสามารถรับมือกับความรู้สึกของตัวเองได้ดียิ่งขึ้นกันค่ะ

    ผลของความกังวล ก่อน ฟังผลตรวจมะเร็ง

    ความรู้สึกเป็นกังวลก่อนการฟังผลตรวจโรคนั้นเป็นเรื่องปกติ ยิ่งโดยเฉพาะหากโรคที่ว่านั้นหมายถึงโรคมะเร็ง ไม่ว่าใครก็คงจะต้องรู้สึกกลัวไม่ต่างกัน เพราะเราต่างก็รู้กันดีอยู่แล้วว่า โรคร้ายแรงอย่างโรคมะเร็งนั้น อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต ทั้งต่อสุขภาพทางกาย และสุขภาพทางการเงินกันเลยทีเดียว

    ความรู้สึกกังวลก่อนการฟังผลตรวจมะเร็งเหล่านี้ บางครั้งอาจจะเรียกว่า Scanxiety (Scan + Anxiety) คำนี้มักจะใช้เพื่ออธิบายถึงอาการความวิตกจริตที่เกิดขึ้นขณะกำลังรอฟังผลตรวจชิ้นเนื้อว่าเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ ซึ่งอาการของความวิตกจริตนี้อาจจะแสดงออกมาให้เห็นได้ทั้งทางจิตใจและทางร่างกาย

    อาการทางจิตใจ

    อาการทางจิตใจที่พบได้บ่อยสำหรับผู้ที่ต้องรอฟังผลมะเร็ง มีดังต่อไปนี้

    อาการทางร่างกาย

    ในบางครั้ง ผลจากความวิตกกังวลเมื่อรอฟังผลตรวจมะเร็ง อาจแสดงออกมาในรูปแบบของอาการทางกาย เช่น

  • นอนไม่หลับ เนื่องจากร่างกายอาจจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน (Adrenaline) ออกมามากเพราะความรู้สึกเครียด ทำให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
  • ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ
  • เหงื่อออกมาก
  • รู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเนื่องจากความเครียดสูง
  • อาการเหล่านี้ หากไม่มีการรับมือที่เหมาะสม อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย ทำให้ร่างกายทรุดโทรม และอ่อนแอลงมากขึ้น และยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการป่วยมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

    แนวทางในการรับมือกับความกังวล

    ยอมรับว่าตัวเองกลัว

    บ่อยครั้งที่คนเราอาจจะไม่ทันสังเกตว่าตัวเองกำลังรู้สึกหวาดกลัว หรือกำลังโศกเศร้า จุดเริ่มต้นที่ดีที่จะหาทางรับมือกับความรู้สึกกังวลเมื่อรอฟังผลตรวจมะเร็งนั้น คือการตระหนักรู้และยอมรับว่าตัวเองกำลังกลัว และเมื่อเรารับรู้ได้ว่าเรากลัวแล้ว เราก็จะสามารถหาหนทางในการจัดการกับความรู้สึกของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น

    ไม่จมอยู่กับความกลัว

    อย่าปล่อยให้ความรู้สึกกังวลครอบงำเรา จนทำให้เราไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ หรือทำให้ร่างกายของเรามีอาการทรุดโทรมลงไปได้ การกังวลต่ออนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้นนั้นไม่มีประโยชน์อะไร อีกทั้งยังอาจทำให้เราสูญเสียเวลาอันมีค่าไปอย่างเปล่าประโยชน์อีกด้วย ทางที่ดีจึงควรพยายามหาสิ่งอื่นมาช่วยดึงดูดความสนใจ เช่น ทำงานอดิเรก หรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง จะช่วยดึงตัวเราออกมาจากความวิตกจริตเหล่านั้นได้

    มองโลกในแง่ดี

    เราควรพยายามมองโลกในแง่ดี ไม่ตีตนไปก่อนไข้ เพราะเนื้องอกนั้นไม่จำเป็นจะต้องกลายเป็นมะเร็งเสมอไป บางทีสิ่งที่เรากังวลอยู่อาจจะไม่ได้มีปัญหาอะไรเลยก็ได้ แต่การมองโลกในแง่ดีนั้นไม่ได้หมายความว่าให้เรามองข้ามความเป็นจริง แต่หมายถึงยิ้มรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น และพยายามมองหาทางออกของปัญหาอย่างมีความหวังนั่นเอง

    ฝึกสมาธิ

    การฝึกสมาธิ เช่น นั่งสมาธิ กำหนดลมหายใจ หรือการเล่นโยคะ จะช่วยให้เรารู้สึกสงบลง และช่วยจัดการกับความรู้สึกวิตกกังวล ว้าวุ่น ให้เข้าที่เข้าทางมากขึ้น และเมื่อใจเราสงบ เราก็จะสามารถมองปัญหาได้อย่างชัดเจน สามารถยอมรับกับปัญหานั้นได้ และสามารถแก้ไขปัญหาได้ดีขึ้นอีกด้วย

    ปรึกษาคุณหมอ

    การพูดคุยและขอคำปรึกษาจากคุณหมอ อาจทำให้เราได้รับรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของโรคมะเร็งมากขึ้น และอาจช่วยให้เราสามารถรับมือหากพบว่าตัวเองเป็นโรคมะเร็งได้ดียิ่งขึ้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 08/12/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา