ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของคนติดยา
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการติดยาเสพติด อาจได้แก่
- ประวัติครอบครัวที่มีการติดยา การติดยาพบมากในบางครอบครัว และมีแนวโน้มจะเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ หากมีความสัมพันธ์ทางโลหิต เช่น เป็นพ่อแม่พี่น้องกันกับผู้ที่มีปัญหาการใช้ยาและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะติดยามากกว่า
- เพศผู้ชาย ผู้ชายมีแนวโน้มจะมีปัญหาติดยามากกว่าผู้หญิง อย่างไรก็ตาม การติดยาจะหนักหน่วงและเห็นผลเร็วกว่าในผู้หญิง
- มีปัญหาสุขภาพจิต หากมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต เช่น เป็นโรคซึมเศร้า เป็นโรคสมาธิสั้น หรืออาการความเครียดหลังจากเหตุการณ์สะเทือนใจ ก็อาจมีแนวโน้มที่จะพึ่งยา
- ความกดดันจากเพื่อน ความกดดันจากเพื่อนเป็นปัจจัยที่มีผลมากในการทำให้คุณใช้ยาครั้งแรก โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น
- การขาดความอบอุ่นในครอบครัว หากมีปัญหาครอบครัวหรือขาดความอบอุ่นในพ่อแม่พี่น้อง อาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดยา เพราะขาดคำปรึกษาจากพ่อแม่
- ความกังวล ความซึมเศร้า และความเหงา การใช้ยาอาจเป็นวิธีที่ใช้จัดการกับความรู้สึกทางจิตที่เจ็บปวด แต่ก็อาจทำให้ปัญหาเหล่านี้แย่ลงไปอีก
- การใช้ยาเสพติดปริมาณสูง ยาบางประเภท เช่น ยากระตุ้น โคเคน ยาแก้ปวด อาจทำให้ติดยาได้เร็วกว่ายาประเภทอื่น อย่างไรก็ตาม การรับยาอาจไม่ติดหากใช้ปริมาณน้อย แต่ก็เป็นหนทางสู่การใช้ยาและการติดยา
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยคนติดยา
การวินิจฉัยการติดยาเสพติด หรือที่เรียกว่า ความผิดปกติในการใช้ยา ต้องประเมินโดยจิตแพทย์ นักจิตศาสตร์ และผู้ให้คำปรึกษาด้านยาและแอลกอฮอล์ การตรวจเลือด ปัสสาวะ และผลทางแล็บอื่น ๆ เพื่อใช้ประกอบในการประเมินการใช้ยา แต่ก็ไม่ใช่ผลในการวินิจฉัยการติดยาได้ การทดสอบนี้ใช้ในการติดตามผลการรักษาและการฟื้นตัว
สำหรับการวินิจฉัยความผิดปกติในการใช้สาร ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตอาจใช้เกณฑ์ในการวินิจฉัยและคู่มือทางสถิติด้านความผิดปกติทางจิต (DSM-5) ซึ่งพิมพ์โดยสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกาเพื่อวินิจฉัยสภาพจิตใจ คู่มือจะถูกใช้โดยบริษัทประกันเพื่อใช้ในการรักษา เกณฑ์ของ DSM-5 สำหรับความผิดปกติในการใช้สารรวมถึงแพทเทิร์นทางพฤติกรรมการใช้ยาที่ทำให้เกิดปัญหาและความผิดหวังสำคัญ เกี่ยวกับประเภทยาที่ใช้
คนติดยาอาจจะมีความผิดปกติในการใช้ยา หากมีอย่างน้อย 2 ประเด็นเหล่านี้ในช่วง 12 เดือน
- ใช้ยาปริมาณมากเป็นเวลายาวนานกว่าที่ตั้งใจ
- ต้องการลดปริมาณการใช้หรือเลิกใช้แต่ทำไม่สำเร็จ
- ใช้เวลาจำนวนมากในการได้มาซึ่งยา ใช้ยาและฟื้นตัวจากผลกระทบของยา
- มีแรงกระตุ้นจากยาที่ปิดกั้นความคิดอื่น ๆ
- ไม่สามารถทำงานที่รับผิดชอบเพราะการใช้ยา
- ใช้ยาจะรู้ว่าทำให้เกิดปัญหาในชีวิต
- เลิกหรือลดกิจกรรมทางสังคม อาชีพการงานหรือกิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ เพราะใช้ยา
- ใช้ยาซึ่งอาจจะไม่ปลอดภัย เช่น ในขณะขับรถหรือใช้งานเครื่องจักร
- ใช้ยาแม้จะรู้ว่ามันทำอันตรายต่อร่างกายหรือจิตใจ
- ชินกับยา หมายความว่า ยาอาจมีผลน้อยลงและอาจต้องการยาที่มีปริมาณมากขึ้นเพื่อให้ได้ผลเท่าเดิม
- มีอาการถอนยาทางกายภาพและจิตวิทยาเมื่อหยุดยาหรือรับยา หรือยาที่ใกล้เคียงกันเพื่อหลีกเลี่ยงอาการถอนยา
การรักษาอาการติดยาเสพติด
สำหรับการรักษาอาการติดยาเสพติดนั้นอาจจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละลุคคล สำหรับทางเลือกในการรักษาอาจทำได้ด้วยโปรแกรมการรักษาที่ใช้สารเคมีและโปรแกรมการรักษาโดยทั่วไปนำเสนอ
- การรักษารายบุคคล รายกลุ่ม หรือรายครอบครัว
- การโฟกัสที่ความเข้าใจธรรมชาติของการติดยาและการป้องกันการกลับมาติดยาใหม่
- ระดับการรักษาและการกำหนดที่แตกต่างกันไปตามความต้องการของแต่บุคคล เช่น โปรแกรมผู้ป่วยนอก การรักษาคนไข้ติดยา คนไข้ที่อยู่ในโรงพยาบาล
- กระบวนการขับสารพิษ ซึ่งเป้าหมายของกระบวนการขับสารพิษ ที่เรียกว่า ดีท็อกซ์ (Detox) หรือการรักษาโดยการถอนยาสามารถทำให้คนติดยาหยุดการรับยาที่ติดได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยได้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ สำหรับบางคนอาจจะปลอดภัยในการทำการถอนยาในผู้ป่วยนอก บางคนอาจต้องนอนโรงพยาบาลหรืออยู่ที่ศูนย์รักษาผู้ป่วยติดยา การถอนยาสำหรับยาประเภทต่าง ๆ เช่น ยาต้านเศร้า ยากระตุ้นหรือโอปิออยด์ อาจมีผลข้างเคียงและต้องการวิธีการที่แตกต่างกัน กระบวนการขับสารพิษเกี่ยวกับการลดปริมาณการใช้ยาหรือยาอื่นทดแทน เช่น เมทาโดน บิวพรีนอร์ฟีน หรือผสมผสานของบิวพรีนอร์ฟีนและนาลอกโซนในส่วนของโปรแกรมการรักษาการติดยา อาจทำได้ด้วยการให้คำปรึกษาหรือที่เรียกว่า การรักษาด้วยการพูดคุย หรือจิตบำบัดโดยนักจิตศาสตร์ จิตแพทย์ หรือผู้ให้คำปรึกษาด้านยาและแอลกอฮอล์
- กลุ่มช่วยเหลือ กลุ่มช่วยเหลือหลายกลุ่มแม้จะไม่ใช่ทั้งหมดจะใช้โมเดล 12 ขั้นตอนพัฒนาโดยผู้ติดแอลกอฮอล์นิรนาม กลุ่มช่วยเหลือ เช่น ผู้ติดยาเสพติดนิรนามจะช่วยเหลือคนที่ติดยา ข้อความของกลุ่มช่วยเหลือเป็นความผิดปกติที่เรื้อรังเกี่ยวกับอันตรายในการกลับไปติดยาอีก กลุ่มช่วยเหลือจะลดความเขินอายและการโดดเดี่ยวที่จะทำให้กลับไปติดยาใหม่ ผู้บำบัดหรือที่ปรึกษาจะช่วยกำหนดกลุ่มช่วยเหลือ ซึ่งผู้ที่ติดยาเสพติดอาจเจอกลุ่มช่วยเหลือในชุมชนหรือในอินเตอร์เน็ต
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองที่ช่วยรับมืออาการติดยาเสพติด
สำหรับวิธีการดูแลตัวเองเพื่อรับมือกับอาการติดยาเสพติด อาจทำได้ดังนี้
- พบกับนักบำบัด ให้ความสนใจกับสุขภาพจิตใจ เนื่องจาก การติดยาอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการสมรสหรือปัญหาครอบครัว ดังนั้น การพบกับนักบำบัดหรือจิตแพทย์อาจช่วยทำให้รู้สึกสบายใจและแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ต่าง ๆ ได้
- มองหาการรักษาความผิดปกติของสุขภาพจิต คนไข้ที่มีปัญหาทางจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า หรืออาจมีสัญญาณหรืออาการของความผิดปกติทางจิตใจซึ่งอาจจะมีแนวโน้มที่จะติดยา อาจมองหาการรักษาโดยทันทีจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิต
- เข้าร่วมกลุ่มสนับสนุน เช่น กลุ่มคนติดยาเสพติดนิรนาม กลุ่มคนติดแอลกอฮอล์นิรนาม อาจมีประสิทธิผลในการจัดการกับการติดยา ความเข้าใจ และการแชร์ประสบการณ์จะช่วยให้คนติดยาจัดการกับการติดยาและไม่ติดยาอีกต่อไป
หากมีคำถาม ให้ปรึกษาคุณหมอเพื่อเข้าใจแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละบุคคล
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย