backup og meta

โรคชอบสะสมสิ่งของ ไม่ใช่เรื่องของนักสะสม แต่เป็นความบกพร่องทางจิต

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย อนันตา นานา · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    โรคชอบสะสมสิ่งของ ไม่ใช่เรื่องของนักสะสม แต่เป็นความบกพร่องทางจิต

    หลายคนมักจะล้อกันขำๆ ว่าคุณหมอส่วนใหญ่นั้นเป็นโรครักความสะอาด เพราะพวกเขาพบว่าแบคทีเรียมีอยู่ทุกที่ แต่พวกคุณรู้ไหมว่าในโลกนี้ ยังมีโรคที่ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับพวกรักความสะอาด ซึ่งมันน่ากลัวกว่ากันมาก โรคนี้มีชื่อเรียกว่า โรคชอบสะสมสิ่งของ (hoarding disorder)

    โรคชอบสะสมสิ่งของ คืออะไร

    โรคชอบสะสมสิ่งของเป็นโรคที่คนๆ หนึ่งชอบสะสมสิ่งของเป็นจำนวนมากและเก็บมันอย่างไร้ระบบระเบียบ

    สิ่งของเหล่านี้อาจจะเป็นได้ตั้งแต่สิ่งของเล็กๆ น้อยๆ ไม่ได้มีค่าหรือสลักสำคัญแต่อย่างใด แต่ผลที่ตามก็คือสิ่งของเหล่านั้นจะถูกปล่อยทิ้ง วางไว้ อย่างระเกะระกะ

    กล่าวให้เข้าใจง่ายๆ คือ การที่ใครคนหนึ่งมีภาวะชอบสะสมของที่ไม่มีคุณค่าหรือไม่จำเป็นอีกต่อไปแล้ว เช่น จดหมาย ถุงเก่าๆ หรือ สิ่งของที่คิดว่าจะนำเอากลับมาซ่อมแซมหรือนำกลับมาใช้ใหม่

    บางครั้งเพียงเพราะว่า “เสียดาย’ ที่จะทิ้ง ก็เลยเก็บสิ่งของเหล่านั้นไว้ ตั้งแต่ถุงพลาสติก กระดาษเช็ดปากที่ใช้แล้วในร้านอาหาร ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้พยายามเก็บไว้ แม้ว่าสิ่งของเหล่านั้นจะไร้ประโยชน์แล้วก็ตาม

    พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้พื้นที่อยู่อาศัยรกรุงรัง และไร้ระเบียบมาก เต็มไปด้วยของสะสมที่มากจนล้นออกมาถึงห้องครัวและห้องน้ำ จนบางครั้งไม่เหลือพื้นที่ใช้สอย ซึ่งไม่เพียงแค่สิ่งของเท่านั้น โรคชอบสะสมนั้นยังรวมถึงพฤติกรรมที่ชอบเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมากอีกด้วย

    สาเหตุของโรคชอบสะสมสิ่งของคืออะไร

    ทางวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถอธิบายถึงเหตุผลที่แท้จริงของโรคชอบสะสมสิ่งของได้ บ้างก็มีการโต้แย้งว่าอาจเป็นผลลัพธ์ที่ตามมาจากอาการป่วยของโรคชนิดอื่นๆ เช่น โรคกลัวการเปลี่ยนแปลง จุกจิกและชอบอะไรเดิมๆ ที่เคยซื้อมาก่อนหน้านี้

    อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านระบุว่า ลึกๆ แล้ว คนเหล่านี้มีอาการซึมเศร้ารุนแรง (depression) เป็นโรคจิตเภท (schizophrenia) หรือ โรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive disorder) ที่ไม่อาจจัดการเก็บข้าวของรอบตัวให้เป็นระเบียบได้ ด้วยอาการเหล่านี้ ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกเหงา เพิกเฉย และไม่ใส่ใจชีวิตของตนเอง

    นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังเชื่อว่า ผู้ป่วยโรคนี้บางคนอาจเกิดมาในครอบครัวที่มีประวัติความเจ็บป่วยเกี่ยวกับความจำเสื่อม ซึ่งนำไปสู่อาการของโรคชอบสะสมสิ่งของ ซึ่งผู้ป่วยไม่สามารถลำดับความสำคัญและเข้าใจเงื่อนไขต่างๆ ได้

    อย่างไรก็ตาม ต้องแยกออกให้ชัดเจนระหว่างโรคชอบสะสมและนักสะสม ซึ่งนักสะสม นั้นจะชอบสะสมสิ่งต่างๆ เพื่อความพึงพอใจและไม่ทำให้คุณภาพชีวิตของตนเองแย่ลง ในขณะที่ผู้เป็นโรคชอบสะสมจะชอบสะสมทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถทำได้ ซึ่งบ่อยครั้งนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่แย่ลง

    ปัจจัยเสี่ยงของโรคชอบสะสมสิ่งของ

    คนที่กำลังมองไปรอบห้องที่เต็มไปด้วยสิ่งของกองพะเนินรอบตัวด้วยความรู้สึก “สิ้นหวัง’ ที่จะเคลื่อนย้ายสิ่งของหรือทำความสะอาด ไม่เพียงแต่สิ่งของนั้นจะนำมาซึ่งความพอใจ แต่กลับส่งผลกระทบที่เป็นลบผู้ป่วยในเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน การรักษาความสะอาด รวมไปถึงความสัมพันธ์ส่วนตัวอีกด้วย

    นี่จึงกลายเป็นสาเหตุว่า ทำไมผู้ป่วยโรคชอบสะสมสิ่งของนั้นมักจะมีเพื่อนน้อย และมักปลีกตัวจากสังคมและรู้สึกเหงา นอกจากนี้ การชอบสะสมของเก่าหรือของใหม่มากเกินความจำเป็นนั้นยังเป็นอันตรายต่อตัวผู้ป่วยเองและผู้ที่ไปเยี่ยมเยียนที่บ้านของผู้ป่วย เนื่องจากเคยมีรายงานว่า พบผู้ป่วยเสียชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งของที่สะสมไว้

    การรักษาโรคชอบสะสมสิ่งของ

    ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า โรคชอบสะสมสิ่งของนั้นไม่ใช่โรคที่จะรักษาได้ง่ายนัก ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ป่วยจะต้องการรับความช่วยเหลือหรือไม่ก็ตาม อย่างไรก็ตาม ตามความเห็นของนักวิทยาศาสตร์ โรคนี้สามารถรักษาและเยียวยาได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น

    วิธีการรักษาพื้นฐานที่ใช้ คือ การรักษาแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย (cognitive-behavioral adjustment) โดยผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงเหตุผลว่าทำไมผู้ป่วยจึงรู้สึกว่าการตัดใจทิ้งสิ่งของที่ไม่ได้ใช้แล้วนั้นเป็นเรื่องยาก และแสดงให้เห็นผลเสียของความรกรุงรังที่ผู้ป่วยทำไว้

    นอกจากนี้ ยังต้องมีการทำความสะอาดอย่างมีระเบียบแบบแผนและเป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยจะค่อยๆ รู้สึกดีขึ้น เป็นสิ่งสำคัญมากที่ต้องช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำความสะอาดสิ่งของต่างๆภายในบ้านด้วยตนเอง โดยนักบำบัดจะคอยให้กำลังใจและคอยช่วยเหลือในขั้นตอนนี้ด้วย

    นอกจากนี้ ในผู้ป่วยบางราย อาจจำเป็นต้องรับประทานยาในกลุ่ม SSRIs เพื่อช่วยควบคุมอาการของโรค

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย อนันตา นานา · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา