หากมีอาการแพนิคควรพบคุณหมอทันที เพราะหากอาการเกิดขึ้นอาจส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจและการดำเนินชีวิตในระยะยาว ซึ่งอาการแพนิคนั้นเป็นอาการที่ยากต่อการจัดการได้ด้วยตนเอง จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือจากคุณหมอ และหากไม่ทำการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น หัวใจวาย โรคซึมเศร้า เพิ่มความเสี่ยงฆ่าตัวตาย ออกห่างจากสังคม เกิดปัญหาที่ทำงานหรือที่โรงเรียน ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้สารเสพติดในทางที่ผิด
การวินิจฉัยอาการแพนิค
คุณหมออาจวินิจฉัยอาการแพนิคด้วยการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ทดสอบการทำงานของหัวใจ เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ รวมถึงประเมินทางจิตวิทยาโดยการพูดคุยเกี่ยวกับอาการ ประวัติครอบครัว ความกลัวหรือความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ตึงเครียด หรือปัญหาความสัมพันธ์ คุณหมออาจใช้เกณฑ์การวินิจฉัย ดังนี้
- ผู้ป่วยมีอาการตื่นตระหนกบ่อยครั้งและเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ
- อาการตื่นตระหนกเกิดขึ้นอย่างน้อย 1 ครั้งหรือมากกว่านั้น หรือผู้ป่วยเกิดความกลัวอย่าสุดขีดหลังจากเกิดอาการแพนิคที่อาจทำให้สูญเสียการควบคุมร่างกายหรือหัวใจวาย หรือผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่าง เช่น หลีกเลี่ยงผู้คนหรือสถานการณ์บางอย่างที่คิดว่าอาจทำให้เกิดเกิดความตื่นตระหนกอีกครั้ง
- อาการแพนิคที่ไม่ได้เกิดจากการใช้ยาหรือสารเสพติด ปัญหาสุขภาพ หรือภาวะสุขภาพจิตอื่น ๆ เช่น โรควิตกกังวล หรือโรคย้ำคิดย้ำทำ
การรักษาอาการแพนิค
การรักษาอาจช่วยลดความรุนแรงและความถี่ของการเกิดอาการแพนิคได้ ดังนี้
จิตบำบัด
จิตบำบัดเป็นวิธีบำบัดด้วยการพูดคุย หรือเรียกว่า การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา โดยนักบำบัดจะค่อย ๆ พูดคุยและสร้างสถานการณ์ให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัย ไม่รู้สึกถูกคุกคามจากประสบการณ์เลวร้าย วิธีนี้อาจต้องใช้เวลาในการรักษาซึ่งอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ
รักษาด้วยยา
ยาอาจช่วยลดอาการแพนิคที่อาจสร้างปัญหาให้กับการใช้ชีวิต มีดังนี้
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย