backup og meta

คิดลบ มองโลกในแง่ร้าย ส่งผลเสียอย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 26/07/2023

    คิดลบ มองโลกในแง่ร้าย ส่งผลเสียอย่างไร

    การ คิดลบ มองโลกในแง่ร้าย มักทำให้รู้สึกแย่ หดหู่ หมดหวัง เป็นการทำร้ายสุขภาพจิต นอกจากนั้น  ยังส่งผลต่อสุขภาพกายอีกด้วย อาจทำให้นอนไม่หลับ หิวบ่อย อีกทั้งอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรอบตัว เพราะมักทำให้คนใกล้ตัวรู้สึกลบตามไปด้วย นานวันเข้า ย่อมไม่มีใครอยากอยู่ใกล้คนที่คิดลบ มองโลกในแง่ร้าย

    คิดลบ มองโลกในแง่ร้าย คืออะไร

    มองโลกในแง่ร้าย เป็นความคิดหรือการมีทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นในแง่ร้าย ส่วนใหญ่แล้วมักจะมองแต่ข้อเสีย ข้อติติง ก่อนเสมอ ถึงแม้ว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นเรื่องที่ดี เราจะชอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากขนาดไหน แต่ก็ยังหาเรื่องติ หรือหาข้อเสียออกมาคิดหรือพูดได้อยู่เสมอ

    การที่มีความคิดในแง่ลบบ่อย ๆ นั้นจะส่งผลให้เรานั้นนึกถึงแต่ประสบการณ์ที่เลวร้าย หรือเรื่องแย่ที่เคยเกิดขึ้น จำคำว่ากล่าวได้มากกว่าคำชม บางครั้งอาจทำให้เราแสดงพฤติกรรมในทางลบต่อเรื่องต่างที่ประสบพบเจอ ตัวอย่างเช่น ในวันที่คุณอารมณ์ดี แต่เพื่อนร่วมงานพูดคุยกันในสิ่งที่คุณไม่ประทับใจ จึงทำให้คุณอารมณ์ หงุดหงิด และรำคาญ หลังจากนั้นคุณก็จะนึกถึงแต่เรื่องที่เพื่อนสร้างความรำคาญให้คุณทั้งวัน หากมีคนถามว่าการทำงานวันนี้เป็นอย่างไร คุณก็จะตอบว่า ไม่ดีเลย น่ารำคาญมาก ทั้งทีในความเป็นจริงแล้ว เรื่องที่เพื่อนพูดคุยกันนั้นเป็นเพียงเรื่องไม่ดีเรื่องเดียวในวันนั้น แต่คุณกลับเหมารวมว่าวันนั้นเป็นวันที่แย่ ซึ่งความคิดแบบนี้ทำให้เราให้ความสำคัญแต่กับเรื่องแย่ จนทำให้เรื่องแย่เหล่านั้นกลายเป็นเรื่องใหญ่ ทั้งที่จริงแล้วไม่มีอะไรเลย

    การคิดลบ มองโลกในแง่ร้าย ส่งผลเราอย่างไร

    การ คิดลบ มองโลกในแง่ร้าย นั้นส่งผลต่อการทำงานของสมอง ต่อวิธีการคิด การตอบสนอง และความรู้สึก ซึ่งผลกระทบจากการคิดลบเหล่านี้ ก็จะส่งผลต่อความสัมพันธ์และการตัดสินใจของเราอีกด้วย ดังนี้

    ความสัมพันธ์

    การคิดลบ มองโลกในแง่ร้ายนั้น อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ เพราะเราจะมองคนอื่นที่ได้พบในชีวิตในแง่ร้ายเช่นกัน โดยเฉพาะคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เราก็จะมองพวกเขาในแง่ลบ เช่น เมื่อมีเรื่องที่ไม่เข้าใจกันกับแฟนหรือคู่รัก ก็มักจะเลือกมองแต่ในแง่ลบ โดยไม่ฟังเหตุผลที่แท้จริงของการกระทำของอีกฝ่าย ซึ่งการคิดลบแบบไม่มีเหตุผล ก็จะนำไปสู่การโต้เถียง การทะเลาะกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ล้วนนำไปสู่ความล้มเหลวในความสัมพันธ์

    การตัดสินใจ  

    อคติในเชิงลบ นั้นมีผลต่อการตัดสินใจ งานวิจัยของ Kahneman และ Tversky ที่ได้รับรางวัลโนเบลพบว่า เมื่อคนเราต้องตัดสินใจ คนเรามักจะให้น้ำหนักกับความคิดในเชิงลบมากกว่าความคิดในเชิงบวก ซึ่งความคิดในแง่ลบนั้นมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกบางสิ่งบางอย่าง เช่น การที่เราต้องเลือกหรือตัดสินใจในการทำบางสิ่งบางอย่าง ความจริงแล้วโอกาสนั้นอาจจะออกมาดีหรือร้ายก็ได้ แต่เมื่อเราเป็นคนมองโลกในแง่ลบ ก็คิดไปแล้วว่าสิ่งที่จะทำนั้นไม่คุ้มเสีย ซึ่งการมีความคิดเช่นนี้อาจทำให้เราสูญเสียโอกาสในการทำบางสิ่งบางอย่างไป เพราะการตัดสินใจที่ผิดพลาด

    วิธีหยุดคิดลบ มองโลกในแง่ร้าย 

    คนเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในทุก ๆ วัน การคิดลบ มองโลกในแง่ร้ายก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เราสามารถเพิ่มความคิดที่ดี ในมุมมองในด้านบวกให้กับชีวิตได้ โดยต้องเรียนรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิต เราต้องให้ค่ากับสิ่งใด

    มูฟออนจากความคิดแย่ ๆ

    การที่เราเป็นคนคิดลบมักจะทำให้เราติดอยู่กับ ความคิดแย่ ๆ การมองโลกในแง่ร้าย คิดถึงแต่เหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้น ซึ่งก็จะทำให้เราหงุดหงิดใจ การมูฟออนจากเรื่องแย่ ๆ จะไม่ทำให้เราจมปลักอยู่กับมัน ให้คิดไว้เสมอว่า เราไม่สามารถกลับไปแก้ไขเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตได้ ดังนั้น หยุดคิดถึงเรื่องแย่ ๆ ที่เกิดขึ้น แล้วเดินหน้าเรียนรู้สิ่งที่ผิดพลาด แล้วเปลี่ยนมุมมองใหม่

    ปรับมุมมอง

    การปรับมุมมอง ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี ปกติแล้ว ผู้ที่มีความคิดลบ มองโลกในแง่ร้าย ก็มักจะมองหาแต่ข้อเสีย ข้อติติง ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่การปรับมุมมอง ลองมองเรื่องที่เกิดขึ้นในมุมมองอื่น มองเรื่องดีที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น อย่างคำกล่าวที่ว่า “สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว สิ่งนั้นย่อมดีเสมอ” ก็จะทำให้เราไม่หงุดหงิดใจกับเรื่องลบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

    เบี่ยงเบนความสนใจ

    การเบี่ยงเบนความสนใจก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้เราไม่ต้องจมปลักอยู่กับเรื่องแย่ ๆ เรื่องที่เกิดขึ้นกับเรามันอาจจะแย่จริง แต่การที่เรายิ่งมองหาแต่เรื่องร้าย ในเหตุการณ์นั้น ตัวเราเองก็จะยิ่งไม่สบายใจและเสียใจกับสิ่งที่ขึ้นเกิด ดังนั้นเราอาจจะออกกำลังกาย ฟังเพลง วาดรูป หรืออ่านหนังสือเพื่อให้ลืมเหตุการณ์เหล่านั้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 26/07/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา