ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ
โรค กลัวที่ชุมชน (Agoraphobia) เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่งที่คุณรู้สึกกลัว และหลีกเลี่ยงสถานที่หรือสถานการณ์ที่ทำให้คุณหวาดกลัว และรู้สึกเหมือนกักขัง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้หรือประหม่า คุณกลัวสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงหรือที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้น เช่น การใช้ขนส่งสาธารณะ การอยู่ในสถานที่เปิดหรือปิด การเข้าคิว การอยู่ท่ามกลางคนเยอะๆ
ผู้ป่วยโรค กลัวที่ชุมชน มีความรู้สึกไม่ปลอดภัยในที่สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานที่ที่คนเยอะ หากต้องออกไปในที่สาธารณะก็มักต้องมีคนไปด้วย เช่น พ่อแม่ พี่น้อง เพื่อน หรือบางคนอาจหวาดกลัวมากจนไม่สามารถออกจากบ้านได้
โรคกลัวที่ชุมชนพบได้บ่อย เกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า โรคมักเกิดในช่วงอายุระหว่าง 18-35 ปี สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาแพทย์
อาการทั่วไปของโรคกลัวที่ชุมชุน ได้แก่ ความกลัวในเรื่องต่อไปนี้
ผู้เป็นโรคกลัวที่ชุมชนมักกลัวว่า หากต้องอยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ข้างต้น แล้วเกิดตื่นกลัว ทำอะไรไม่ถูก ประหม่า หรืออับอาย แล้วจะหนีออกจากสถานการณ์เหล่านั้นไม่ได้ หรือไม่มีใครช่วยเหลือ นอกจากนี้ ยังมีอาการได้แก่
อาจมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการของโรค ควรปรึกษาแพทย์
โรคกลัวที่ชุมชน อาจกลายเป็นข้อจำกัด ที่ทำให้คุณไม่สามารถเข้าสังคม ทำงาน ร่วมกิจกรรมสำคัญต่างๆ หรือประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
หากคุณมีอาการใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ควรปรึกษาแพทย์ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับคุณหมอ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
สาเหตุของโรคกลัวที่ชุมชนยังไม่แน่ชัด แต่มีข้อมูลว่าเกิดจากบริเวณสมองส่วนที่ควบคุมปฏิกิริยาความกลัว และมีปัจจัยแวดล้อม เช่น เหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ การถูกทำร้ายร่างกาย
นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานที่ชี้ว่า โรควิตกกังวลสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หากพ่อแม่มีอาการของโรคนี้ ลูกก็มีแนวโน้มเกิดโรคได้มากกว่าคนอื่น ในผู้ป่วยบางคน โรคเกิดขึ้นหลังจากมีอาการแพนิคกำเริบจนตื่นตระหนกและเริ่มหวาดกลัวว่าจะมีเหตุการณ์อื่นๆ เกิดขึ้นอีก
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกลัวที่ชุมชน มีดังนี้
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย
ทีม Hello คุณหมอ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย