backup og meta

รับมือได้อย่างไรเมื่อถูก อาการแพนิก โจมตี

รับมือได้อย่างไรเมื่อถูก อาการแพนิก โจมตี

อาการวิตกกังวล เป็นอาการที่ใครๆ ก็มีได้ทั้งนั้น เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด แต่จะมีบางคนที่มีอาการวิตกกังวลเกินไป คิดไปถึงเหตุการณ์ร้ายๆ ต่างๆ นานา กังวลจนส่งผลกระทบต่อตนเอง ทำให้ขวัญเสีย ทั้งๆ ทียังไม่เกิดเรื่องร้ายแรงใดๆ ขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปทำความรู้จักกับ อาการแพนิก ซึ่งเกิดจากความวิตกกังวลของเราเอง และเมื่อ แพนิก แล้วควรจะจัดการอย่างไร วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ มาฝากกันค่ะ

อาการแพนิก (Panic) คืออะไร

อาการแพนิกคือการเกิดอาการกลัวหรือไม่สบายใจขึ้นอย่างเฉียบพลัน ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นภายในไม่กี่นาที ซึ่งจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น ตัวสั่น หายใจถี่หอบ เจ็บหน้าอก รู้สึกคลื่นไส้หรือปวดท้อง วิงเวียนเหมือนจะเป็นลม รู้สึกหนาวหรือร้อน กลัวการเสียชีวิต แต่อาการแพนิก มักจะมีความคล้ายคลึงกับ โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) ซึ่งทั้งสองโรคนี้มีความแตกต่างกัน ทั้งสองโรคมีความแตกต่างกันที่ ความเข้มข้นและระยะเวลาของการแสดงอาการของโรค ซึ่งอาการแพนิกจะมีความเข้มข้นของอาการมากกว่า ซึ่งจะมีอาการ 10 นาทีเป็นอย่างต่ำ ส่วนโรควิตกกังวล มีความเข้มข้นไม่เท่าอาการแพนิก แต่จะมีระยะเวลาในการแสดงอาการนานกว่า

อาการแพนิกนั้นสามารถเกิดขึ้นในเวลาใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่มีเรื่องวิตกกังวล เรื่องเครียด ไม่สบายใจ หรือแม้กระทั่งในช่วงที่คุณรู้สึกสบายใจ เจ้าอาการแพนิกก็สามารถกำเริบได้เช่นกัน อาการแพนิก เป็นโรคที่น่ากลัวมาก เพราะคนที่มีอาการแพนิกโจมตีบ่อยๆ มักจะมีความกังวลว่าจะมีอาการอีก ซึ่งจะทำให้มีความกังวลอยู่ตลอดเวลา

อาการและวิธีรับมือเมื่อ อาการแพนิก กำเริบ

อาการแพนิกเป็นอาการที่ทำให้เราเกิดความเสียขวัญ การถูกโจมตีจากอาการแพนิก จะทำให้เราเกิดความวิตกกังวล บางครั้งหัวใจเราก็เต้นถี่จนเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก และอาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก เวียนหัว ซึ่งจะทำให้คุณกลัวและไม่สบายใจ แต่วิธีเหล่านี้อาจช่วยรับมือกับอาการแพนิกได้

การยอมรับและเข้าใจ

เมื่อเกิดอาการแพนิก ร่างกายและจิตใจก็จะจดจ่ออยู่กับอาการที่เกิดขึ้น ไม่มีสมาธิในเรื่องอื่นๆ แต่การที่เราพยายามต่อต้าน ฝืนอาการที่เกิดขึ้นมากเท่าไร จะยิ่งทำให้อาการแพนิกมีความเข้มข้นมากขึ้นเท่านั้น การยอมรับและเข้าใจว่าเรามีอาการแพนิก เป็นสิ่งที่ควรทำ ให้เรายอมรับและเข้าใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอาการของโรค ซึ่งเมื่อถูกอาการแพนิกโจมตี ให้คิดไว้เสมอว่าอาการที่เกิดขึ้นเหล่านี้ไม่สามารถทำร้ายคุณได้ และเดี๋ยวสิ่งที่มันเกิดขึ้นก็จะผ่านไป

ควบคุมลมหายใจ

เมื่อมีอาการแพนิก จะทำให้ร่างกายหายใจได้ถี่ขึ้น ซึ่งจะทำให้คุณมีความรู้สึกว่า ไม่สามารถหายใจได้ ซึ่งเมื่อมีอาการหายใจถี่หอบ ก็จะส่งผลต่ออาการแพนิก ให้มีความวิตกมากขึ้นไปอีก ดังนั้นการเรียนรู้ที่จะค่อยๆ หายใจ จึงเป็นวิธีที่จะช่วยควบคุมลมหายใจให้มีความสม่ำเสมอ และร่างกายก็จะคลายความวิตกกังวลได้อีกด้วย ดังนั้นเมื่ออาการแพนิกเข้าโจมตีคุณเมื่อไรต้องต้องสติแล้วค่อยๆ หายใจเข้าอย่างช้าๆ และผ่อนลมหายใจออกยาวๆ

ผ่อนคลายร่างกาย

อาการแพนิกเกิดจากความวิตกกังวล หรือในช่วงที่คุณรู้สึกสบายใจก็สามารถเกิดอาการแพนิกได้ แต่อาการแพนิกจะเกิดขึ้นได้ยาก เมื่อร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย ดังนั้น เราควรสำรวจอาการที่เกิดขึ้นเมื่อแพนิกเข้าโจมตี ว่ามีอาการอย่างไรบ้าง โดยเริ่มตั้งแต่ มีอาการปวดหัว คอ บ่า ไหล่หรือไม่ ซึ่งก็ไล่สำรวจส่วนต่างๆ ของร่างกายไปเรื่อยๆ เมื่อรู้แล้วว่ามีอาการที่ใดบ้างก็พยายามผ่อนคลายในส่วนนั้นๆ เช่น หากมีอาการปวดคอ ปวดบ่า ก็ให้นั่่งหรือนอนในท่าที่ผ่อนคลาย สบายๆ หากในขณะที่คุณกำลังพยายามผ่อนคลายส่วนต่างๆ ของร่างกาย แต่ก็ไม่มีสมาธิในการทำเลย ควรเริ่มต้นใหม่ด้วยการควบคุมลมหายใจ แล้วค่อยๆ สำรวจอาการใหม่อีกครั้ง

เบี่ยงเบนความสนใจ

เมื่อมีอาการแพนิก ร่างกายก็จะสูญเสียการควบคุม และก็เต็มไปด้วยความกังวล หากสามารถเบี่ยงเบนความสนใจไปที่อย่างอื่นได้ ร่างกายก็จะไม่จดจ่ออยู่กับอาการของแพนิก เช่น การหาคนคุยด้วย การออกกำลังกายเบาๆ หรือหลีกเลี่ยงสถานการณ์หรือสถานที่ที่จะทำให้เราเกิดอาการแพนิก หรือพยายามให้กำลังใจตัวเอง และคิดบวกเข้าไว้ว่าเราสามารถผ่านเรื่องนี้ไปได้

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

source

Getting Through Your Panic Attack

https://www.verywellmind.com/how-can-i-stop-a-panic-attack-2584126

How to Handle Panic Attacks

https://www.everydayhealth.com/anxiety/how-to-handle-panic-attacks.aspx

How can you stop a panic attack?

https://www.medicalnewstoday.com/articles/321510.php

11 Ways to Stop a Panic Attack

https://www.healthline.com/health/how-to-stop-a-panic-attack

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิตกกังวล (Anxiety)

ภาวะวิตกกังวล หลังการสูญเสีย อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและจิตใจมากกว่าที่คิด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา