backup og meta

คิดมาก หวาดระแวง เป็นปัญหาสุขภาพจิตหรือเปล่า

คิดมาก หวาดระแวง เป็นปัญหาสุขภาพจิตหรือเปล่า

ความ หวาดระแวง (Paranoia) เป็นความคิดและความรู้สึกเสมือนกับว่าคุณถูกคุกคาม แม้ว่าความจริงจะไม่เป็นเช่นนั้นก็ตาม ในทางการแพทย์ ความคิดหวาดระแวงยังสามารถอาจอธิบายได้ว่าเป็นภาวะการหลงผิด โดยผู้ป่วยที่มีอาการนี้มักเป็นกังวลต่อเหตุการณ์หลายอย่าง ที่ทำให้พวกเขารู้สึกถูกคุกคาม ผู้ที่อยู่ในภาวะหวาดระแวงขั้นรุนแรง ความกลัวของผู้ป่วยจะเพิ่มระดับขึ้น และทุกคนที่ผุู้ป่วยพบเจอจะถูกดึงไปสู่สารระบบของความกลัวภายในใจ โดยผู้ป่วยก็จะรู้สึกว่าเขาอยู่ตรงกลางของจักรวาลที่คุกคามและเป็นอันตรายอยู่ตลอดเวลา Hello คุณหมอจะพาทุกคนไปรู้จักกับ การหวาดระแวง ว่าเป็นสุขภาพจิตหรือไม่กันค่ะ

มีอะไรบ้างที่สามารถทำให้คุณเกิดความ หวาดระแวง

ทุกคนล้วนประสบภาวะหวาดระแวงแตกต่างกันออกไป ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของภาวะความคิดหวาดระแวงที่มักพบบ่อยในคนส่วนใหญ่

  • มีคนหรือองค์กรแอบพูดถึงคุณลับหลัง
  • คนอื่น ๆ กำลังพยายามกีดกันคุณ หรือทำให้คุณดูแย่
  • การกระทำหรือความคิดของคุณถูกคนอื่น ๆ แทรกแซง
  • คุณถูกควบคุม หรือรัฐบาลกำลังเพ่งเล็งคุณ
  • คุณตกอยู่ในอันตราย หรืออาจถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกฆ่า
  • มีคนกำลังพยายามทำให้คุณหงุดหงิดหรือขุ่นเคืองโดยตั้งใจ

บางคนอาจมีความคิดเหล่านี้เป็นจริงเป็นจังตลอดเวลา หรือเพียงแค่บางโอกาสเมื่ออยู่ในสถานการณ์ตึงเครียด หรือในบางครั้งก็อาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ด้วย

ความหวาดระแวงเป็นปัญหาสุขภาพจิตหรือไม่

ความหวาดระแวงเป็นอาการหนึ่งของความผิดปกติทางจิตบางประเภท แต่ไม่สามารถใช้เป็นการวินิจฉัยโรคได้ ความคิดหวาดระแวงอาจมีตั้งแต่ระดับไม่รุนแรงไปจนถึงรุนแรงมาก และประสบการณ์เหล่านี้อาจค่อนข้างแตกต่างออกไป ขึ้นอยู่กับว่าคุณมีความยึดติดกับความคิดหวาดระแวงอยู่ในระดับใด

  • คุณเชื่อในความคิดหวาดระแวงของคุณเป็นเรื่องจริง
  • คุณคิดเกี่ยวกับความคิดหวาดระแวงของคุณอยู่ตลอดเวลา
  • ความคิดหวาดระแวงทำให้คุณรู้สึกหงุดหงิด
  • ความคิดหวาดระแวงส่งผลกับการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ

บุคคลจำนวนมาก ซึ่งอาจมากถึงหนึ่งในสาม เกิดภาวะหวาดระแวงแบบไม่รุนแรงในบางช่วงเวลาของชีวิต มักเป็นที่รู้จักว่าเป็นภาวะหวาดระแวงที่พบได้ในชีวิตประจำวัน (Non-clinical paranoia) แต่ความหวาดระแวงนั้นจะเปลี่ยนแปลงตามเวลา สำหรับคนปกติ มักคิดได้ว่าความคิดเหล่านั้นไม่มีเหตุผล และสามารถหยุดความคิดเหล่านั้นได้ โดยไม่มีผลกระทบทางจิตใจใด ๆ ตามมา

แต่หากเป็นภาวะหวาดระแวงขั้นรุนแรงมาก หรือที่เรียกว่า อาการหลงผิดว่ามีคนปองร้ายตลอดเวลา (Persecutory delusions) ก็จำเป็นต้องได้รับการรักษา โดยอาจต้องพิจารณารับการรักษาและบำบัด หากมีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

ความหวาดระแวงอาจเป็นหนึ่งในอาการของปัญหาทางสุขภาพจิตดังต่อไปนี้

  • โรคจิตเภทแบบหวาดระแวง (Paranoid Schizophrenia)
  • โรคจิตหลงผิด (Delusional disorder) (ประเภทอาการหลงผิดว่ามีคนปองร้าย)
  • โรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบหวาดระแวง (Paranoid Personality Disorder)

จะรักษาภาวะหวาดระแวงได้อย่างไร

การรักษาภาวะหวาดระแวงตามปกติเป็นการใช้ยาและการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy) ปัจจัยสำคัญที่สุดในการรักษาภาวะหวาดระแวงและโรคจิตหลงผิด คือการสร้างความสัมพันธ์ที่สามารถไว้ใจได้และเกิดจากความร่วมมือกัน เพื่อลดผลเสียของความคิดหวาดกลัวอย่างไร้เหตุผลและปรับปรุงทักษะทางสังคมให้ดีขึ้น ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากในการรักษาเนื่องจากความคิดหวาดระแวงส่งผลให้เกิดความหงุดหงิดเพิ่มขึ้น อาจเกิดความรู้สึกมุ่งร้าย และการปิดกั้นทางอารมณ์ ตามปกติ การรักษาประเภทนี้ต้องใช้เวลานานมาก แต่การฟื้นฟูและการ กลับสู่ภาวะปกติของผู้ป่วยก็มีความเป็นไปได้

ถ้าคุณกำลังมีความคิดหวาดระแวงหรือสงสัยว่าคุณตกอยู่ในภาวะนี้หรือไม่ ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อช่วยจัดการกับความคิดเหล่านั้นได้ด้วยตัวเอง หรืออาจเลือกทำพร้อมกับรับการรักษาไปด้วย

  • หาความช่วยเหลือจากคนรอบๆ ตัว
  • เรียนรู้ที่จะผ่อนคลาย
  • จดบันทึกประจำวัน
  • ดูแลตัวเอง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Paranoid Personality Disorder. http://www.webmd.com/mental-health/paranoid-personality-disorder. Accessed December 30th, 2016.

What Are Some Coping Skills for Paranoia?. https://www.mentalhelp.net/advice/what-are-some-coping-skills-for-paranoia/. Accessed December 30th, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/07/2020

เขียนโดย พิมพร เส็นติระ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

จิตหมกมุ่น จมกับ ความเสียใจ รับมืออย่างไรไม่ให้ทำร้ายสุขภาพ

โรคชอบสะสมสิ่งของ ไม่ใช่เรื่องของนักสะสม แต่เป็นความบกพร่องทางจิต


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พิมพร เส็นติระ · แก้ไขล่าสุด 01/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา