backup og meta

วิตกกังวล มากไป ไม่ใช่แค่ทำให้เครียด แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพอีกด้วย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    วิตกกังวล มากไป ไม่ใช่แค่ทำให้เครียด แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพอีกด้วย

    ความวิตกกังวล เป็นความรู้สึกไม่สบายใจอย่างหนึ่ง มักเกิดจากความเครียด คนทุกคนมักจะมีเรื่องให้วิตกกังวลกันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน ครอบครัว หรือว่าความรัก ซึ่งความวิตกกังวลนี้ถือเป็นเรื่องปกติ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัน แต่หากมีความกังวลเรื้อรัง ความกังวลเหล่านั้น ไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อสุขภาพจิต แต่ อาการวิตกกังวล ส่งผลต่อร่างกาย ได้อีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีจ้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับความวิตกกังวลที่ส่งผลต่อร่างกายมาฝากกันค่ะ

    อาการวิตกกังวล ส่งผลต่อร่างกาย อย่างไรบ้าง

    ความวิตกกังวลนั้น ถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่ต้องไปสัมภาษณ์งาน การพูดในที่ชุมชน หรือการสอบเข้าเรียน เรื่องต่างๆ เหล่านี้สามารถทำให้เกิดความวิตกกังวลได้ทั้งสิ้น เวลาที่คุณวิตกอยู่ในความวิตกกังวลอัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มสูงขึ้น หายใจถี่ขึ้น เพราะเมื่อเกิดความวิตกกังวล สมองนั้นจะมีความต้องการเลือดมาก ทำให้หัวใจทำงานหนัก หากมีความวิตกกังวลมากจะส่งผลให้เกิดความมึนงงและคลื่นไส้ บางครั้งอาจส่งผลต่อสุขภาพในด้านอื่นๆ ด้วย เช่น

    หายใจถี่หอบ

    อาการหายใจถี่หอบ เป็นภาวะที่ร่างกายต้องการออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายเป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะตอบสนองต่อความวิตกกังวล แต่บางครั้งร่างกายอาจเกิดความรู้สึกว่าไม่สามารถรับออกซิเจนได้อย่างเมที่ทำให้เกิดการหายในเฮือก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เหล่านี้ได้ เช่น

    • วิงเวียน
    • เป็นลม
    • รู้สึกอ่อนเพลีย

    การตอบสนองของระบบหัวใจและหลอดเลือด

    ความวิตกกังวล เป็นอาการที่ ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ทำให้เลือดไหลเวียนได้เร็วขึ้น ออกซิเจนและสารอาหารก็จะไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้เร็วตามไปด้วย แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อเกิดความวิตกกังวลหลอดเลือดจะตีบลง ทำให้ส่งผลต่ออุณภูมิของร่างกาย ทำให้เรารู้สึกร้อนวูบวาบ ทำให้ร่างกายตอบสนองโดยการขับเหงื่อออกมาเพื่อระบายความร้อน แต่บางครั้งเมื่อร่างกายขับเหงื่อออกมามากเกินไปก็จะทำให้เรารู้สึกหนาวได้

    หากร่างกายเกิดความวิตกกังวลเรื้อรัง ก็จะส่งผลเสียต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ยังมีงานวิจัยที่เชื่อถือได้บอกว่าความวิตกกังวลระยะยาวอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้

    ทำร้ายระบบภูมิคุ้มกัน

    ความวิตกกังวลในระยะสั้นมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน แต่ว่าความวิตกกังวลในระยะยาวนั้นกลับส่งผลตรงกันข้าม คือทำร้ายระบบภูมิคุ้มกัน เพราะฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียด จะหลั่งออกมา ซึ่งในฮอร์โมนนั้นจะหลั่งสารที่ทำให้ร่างกายเกิดความอักเสบออกมาด้วย และจะไปปิดระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีการตอบสนองที่บกพร่อง ซึ่งหากระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่เต็มที่ก็จะทำให้เป็นหวัด ติดเชื้อได้ง่าย

    ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร

    ฮอร์โมนคอร์ติซอล ที่มักจะหลั่งเมื่อร่างกายเกิดความเครียดนั้น จะไปปิดกั้นกระบวนการย่อยอาหาร รวมทั้งการที่ร่างกายหลั่งอดรีนาลีนก็จะทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย ทำให้กล้ามเนื้อของกระเพาะอาหารก็จะรู้สึกผ่อนคลายด้วย ส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ท้องไส้ปั่นป่วน และยังมีงานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าความเครียดและภาวะซึมเศร้าสามารถส่งผลต่อระบบย่อยอาหารได้อีกด้วย

    นอกจากนี้ความวิตกกังวลและความเครียด ยังส่งผลให้ร่างกายรู้สึกต้องการปัสสาวะบ่อยๆ ในบางคนถึงขนาดที่ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้เลย

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา