ควรไปพบหมอเมื่อใด
ผู้ป่วยอาจต้องไปพบหมอหากมีอาการต่อไปนี้
- มีสิ่งบ่งชี้และอาการใด ๆ ของช่วงอารมณ์ที่คงอยู่เป็นเวลานาน
- มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย
- มีความรู้สึกก้าวร้าวหรือไม่กลัวการเผชิญหน้า
- หรือหากมีอาการนอนไม่หลับติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน
สาเหตุ
สาเหตุของไบโพล่า
สาเหตุของไบโพล่ายังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีสาเหตุหลายประการที่อาจเกี่ยวข้อง ได้แก่
- สารเคมีในสมอง สมองอาจได้รับผลจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่ส่งผลต่อระดับสารเคมีในสมอง (สารสื่อประสาท) ในสมอง สารสื่อประสาทเหล่านี้มีผลต่ออารมณ์ของผู้ป่วย
- การถ่ายทอดทางพันธุกรรม พ่อแม่หรือสมาชิกในครอบครัวอาจเป็นไบโพล่าและถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้
- อิทธิพลทางสังคม งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าอาจจะมีปัจจัยทางสังคมที่อาจเป็นสาเหตุของไบโพล่า ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ เหตุการณ์บอบช้ำทางจิตใจในช่วงวัยเด็ก การเคารพตัวเองต่ำ หรือประสบกับความสูญเสียที่ร้ายแรง
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของไบโพล่า
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเพิ่มโอกาสในการเป็นไบโพล่า ได้แก่
- ช่วงเวลาที่มีความเครียดสูง
- การใช้ยาหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในทางที่ผิด
- มีประวัติครอบครัวเป็นไบโพล่า มีอาการป่วยทางจิต หรืออื่น ๆ
- มีการเปลี่ยนแปลงในชีวิตที่บอบช้ำทางจิตใจ เช่น การสูญเสียบุคคลที่รักอย่างกะทันหัน
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลที่นำเสนอมิได้ใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยไบโพล่า
สำหรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง จิตแพทย์อาจทำการตรวจดังต่อไปนี้
- การตรวจร่างกาย การตรวจประเภทนี้จะช่วยหาสาเหตุของอาการต่าง ๆ ได้
- การตรวจทางจิตวิทยา แพทย์จะถามชุดคำถามเกี่ยวกับความรู้สึก ช่วงอารมณ์ และรูปแบบพฤติกรรมของคุณ
- แผนผังอารมณ์ แพทย์อาจบันทึกรูปแบบการนอน อารมณ์ และพฤติกรรมของคุณเพื่อช่วยกำหนดการวินิจฉัย
การรักษาไบโพล่า
การรักษาโรคอารมณ์สองขั้วอาจไม่ทำให้หายขาดแต่จะทำให้ภาวะอารมณ์แปรปรวนของคุณคงที่ได้ การรักษาอาจไม่ได้กำหนดโดยจิตแพทย์ (แพทย์ที่เชี่ยวชาญในด้านความผิดปกติทางจิต) โดยขึ้นอยู่กับอาการ สำหรับทางเลือกในการรักษาบางประการ ได้แก่
- การรักษาด้วยยา แพทย์อาจสั่งยาเพื่อทำให้อารมณ์คงที่ ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการได้ ผู้ป่วยอาจต้องใช้ยาที่แพทย์สั่งเป็นเวลานานเพื่อป้องกันช่วงซึมเศร้าหรือช่วงอันตรายใด ๆ ยาเหล่านี้ ได้แก่ ยาต้านอาการซึมเศร้า (Antidepressants) ยาควบคุมอารมณ์ (Mood Stabilizers) ยาระงับอาการทางจิต (Antipsychotics) หรือยาต้านความวิตกกังวล (Anti-anxiety Drugs)
- การเข้ารับคำปรึกษา ผู้ที่เป็นไบโพล่าอาจจำเป็นต้องไปพบผู้ให้คำปรึกษา เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นและวิธีก้าวข้ามผ่านช่วงอารมณ์ต่าง ๆ อาจมีกลุ่มให้ความช่วยเหลือที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่และรับมือกับอาการผิดปกติได้
- การรักษาการติดยา หากผู้ป่วยกำลังประสบกับการติดยา อาจต้องเข้ารับการรักษา เนื่องจาก การติดยาอาจทำให้การรักษาไบโพล่าเป็นเรื่องที่ยากขึ้น
- การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจจำเป็นต้องพักในโรงพยาบาลเพื่อเฝ้าดูอาการตามปกติ สิ่งนี้เป็นสิ่งจำเป็นเมื่อผู้ป่วยมีอาการอยากทำร้ายตนเองหรือมีอาการทางจิต ในระยะนี้ ผู้ป่วยอาจทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นได้
ในแต่ละสถานการณ์อาจไม่เหมือนกัน ควรปรึกษาจิตแพทย์เกี่ยวกับทางเลือกในการรักษาที่ดีที่สุด
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองที่ช่วยรับมือไบโพล่า
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้รับมือกับไบโพล่าได้
- แจ้งให้แพทย์หรือคนที่ไว้ใจทราบในทันทีหากมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย
- นอนให้เพียงพอโดยเข้านอนตามเวลาที่เหมาะสม
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
- งดดื่นเครื่องแอลกอฮอล์และหลีกเลี่ยงการใช้ยาในทางที่ผิด
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย