backup og meta

แพ้ถุงยาง ปัญหาที่ผู้ชายและผู้หญิงไม่ควรละเลย

แพ้ถุงยาง ปัญหาที่ผู้ชายและผู้หญิงไม่ควรละเลย

แพ้ถุงยาง เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยอาจเกิดจากการแพ้ยางพาราหรือวัสดุที่ใช้ในการทำถุงยาง หรือการใช้ถุงยางที่หมดอายุ ดังนั้น ก่อนใช้ถุงยางควรตรวจสอบให้เรียบร้อย ผู้ที่มีอาการแพ้ถุงยาง โดยปกติมักมีอาการคัน ผื่นแดง บริเวณอวัยวะเพศหลังมีเพศสัมพันธ์ ส่วนใหญ่มักหายเอง แต่ควรเปลี่ยนยี่ห้อหรือปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำ

[embed-health-tool-ovulation]

แพ้ถุงยาง คืออะไร

แพ้ถุงยาง คือ อาการแพ้ผิวหนังที่เกิดขึ้นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ไม่ใช่เพียงข้ออ้างในการงดมีเพศสัมพันธ์อย่างที่หลายคนเข้าใจ โดยส่วนมากสาเหตุที่แพ้เกิดจากการแพ้ยางพารา (latex allergy) ในถุงยาง ถุงยางที่ทำจากยางพารานั้นมีราคาถูกที่สุด หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดและมีแจกฟรีทั่วไป ผู้แพ้ถุงยางอนามัยจะมีลักษณะคัน มีผื่นแดงขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ บางรายอาจมีอาการแน่นหน้าอก หรือหายใจลำบากร่วมด้วย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้แพ้ถุงยาง

การแพ้ถุงยางอนามัยอาจเกิดได้จาก 2 ปัจจัย ดังนี้

  • แพ้ยางพารา (Latex Allergy) ในถุงยางอนามัย อาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้ถุงยางอนามัยสังเคราะห์ที่ไม่ได้ทำจากยางพารา เช่น ถุงยางอนามัยที่ทำจากพลาสติกโพลียูเรเธน (Polyuretane)
  • แพ้สารเคลือบถุงยางอนามัย เช่น สารหล่อลื่นต่าง ๆ หากแพ้สารเคลือบ การเปลี่ยนยี่ห้อถุงยางอนามัยอาจช่วยทำให้อาการแพ้หายไปด้วย

นอกจากนั้นแล้ว อาจเกิดจากการแพ้ถุงยางอนามัยที่หมดอายุ ดังนั้น ก่อนเลือกซื้อถุงยางอนามัยควรตรวจสอบให้ละเอียด

อาการแพ้ถุงยาง

ผู้ที่แพ้ถุงยางมักมีอาการคัน รู้สึกเจ็บ และแสบ เป็นผื่นคล้ายลมพิษหรือผื่นปื้นแดงหนา บริเวณที่สัมผัสกับถุงยางอนามัย อาการดังกล่าวนี้อาจหายเองได้  โดยอาการจะเกิดหลังมีเพศสัมพันธ์ภายใน 24-48 ชั่วโมง หากเกิดอาการแพ้ควรเปลี่ยนชนิดหรือยี่ห้อของถุงยางอนามัยมาใช้เป็นแบบที่ทำจากสารโพลียูเรเธน (polyuretane) ซึ่งทำจากพลาสติก และไม่ผสมสารฆ่าอสุจิ (Spermicide) เพื่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการแพ้ระคายเคืองจากยางพารา หากแพ้ถุงยางอย่างรุนแรง อาจพบอาการหายใจขัด หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก สาเหตุจากหลอดลมเกร็งจนถึงขึ้นเป็นลม หน้ามืด หรือชักได้  รวมทั้งมีน้ำมูกไหล ไอ จาม ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ให้รีบพบคุณหมอ

รับมืออย่างไรหากแพ้ถุงยาง

หากสงสัยว่าแพ้ถุงยาง โดยเฉพาะขณะมีเพศสัมพันธ์ ควรหยุดมีเพศสัมพันธ์และถอดถุงยางอนามัยออกทันที โดยหลังจากนั้น อาจรับประทานหรือทายาแก้แพ้ แต่หากไม่หายควรไปพบคุณหมอ เพราะส่วนใหญ่ของคนที่มีอาการแสบ ๆ คัน ๆ ที่อวัยวะเพศหลังจากใช้ถุงยางอนามัยมักไม่ใช่อาการแพ้ถุงยางอนามัย แต่คือการติดเชื้อรา เชื้อเริม หรือติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ที่กำเริบ หรืออาการรุนแรงขึ้น หลังจากโดนเสียดสี หรืออีกหนึ่งวิธีคือเปลี่ยนไปใช้ถุงยางอนามัยที่ทำจากพลาสติดโพลียูเรเธน (Polyuretane) ไม่ผสมสารฆ่าอสุจิ (Spermicide) แทน

ป้องกันอย่างไรหากไม่ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์

หากพบว่าตนเองแพ้ถุงยาง และแม้จะเปลี่ยนไปใช้ชนิดหรือยี่ห้ออื่น แต่ยังเกิดอาการแพ้อยู่ จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ ระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ควรปฏิบัติตนดังนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม

  • การหลั่งนอก

การหลั่งนอกเป็นวิธีการป้องกันการตั้งครรภ์ที่มีประสิทธิภาพน้อยมาก มีโอกาสล้มเหลวทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้สูง ฉะนั้นควรศึกษาและเรียนรู้การหลั่งนอกอย่างถูกวิธี เพื่อลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม และยังเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย

  • ยาฆ่าอสุจิ

เป็นหนึ่งในการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว เป็นยารูปแบบครีมหรือแบบเม็ด ใช้สอดเข้าไปในช่องคลอดของฝ่ายหญิง วิธีการนี้จะได้ผลดีที่สุดหลังจากสอดยาไปแล้ว 10 นาที แต่ไม่เกิน 1 ชั่วโมง แต่หลังจากใส่ยาแล้วไม่ควรลุกเดิน เพราะอาจทำให้ยาไหลหลุดออกมาได้ การใช้วิธีนี้จะได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับถุงยางอนามัย หรือห่วงอนามัย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Latex allergy. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/latex-allergy/symptoms-causes/syc-20374287. Accessed  January 19, 2022.

What to Know About Allergy to Latex Condoms. https://www.webmd.com/sex/what-to-know-allergy-latex-condoms. Accessed  January 19, 2022.

Latex condom allergy: symptoms, causes & alternatives. https://onlinedoctor.lloydspharmacy.com/uk/sexual-health-advice/latex-condom-allergies. Accessed  January 19, 2022.

Latex Allergy. https://www.aafa.org/latex-allergy/. Accessed September 19, 2022

Latex Allergy. https://acaai.org/allergies/allergic-conditions/latex-allergy/. Accessed September 19, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/02/2024

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ถุงยางแตก ขณะมีเพศสัมพันธ์ เกิดขึ้นจากสาเหตุใด และควรรับมืออย่างไร

ถุงยางอนามัยสตรี เรื่องจริงที่ผู้ชายไม่เคยรู้ และผู้หญิงควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 28/02/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา