5 เสริมธาตุสังกะสีและแมกนีเซียม
ทั้งสองชนิดเป็นแร่ธาตุสำคัญในการสร้างเทสโทสเตอโรน เพราะฉะนั้นต้องให้แน่ใจว่า คุณได้รับแร่ธาตุทั้สองชนิดนี้อย่างเพียงพอ เมล็ดฟักทองเป็นแหล่งที่อุดมด้วยสังกะสีและแมกนีเซียม ซึ่งหากินได้ง่าย รวมทั้งผักใบเขียวทั้งหลาย อย่างไรก็ตาม การกินแร่ธาตุเสริมมากเกินไป อาจส่งผลเสียได้ เพราะฉะนั้นจึงควรระวังให้มาก
6 วิ่งเร็ว
การวิ่งแบบเร่งความเร็วได้แสดงให้เห็นว่า ส่งผลกระทบในแง่บวกต่อระดับเทสโทสเตอโรน การศึกษาซึ่งศึกษานักยกน้ำหนักที่มีการวิ่งเร็วสัปดาห์ละสองครั้ง เทียบกับคนที่ยกน้ำหนักอย่างเดียวโดยไม่วิ่ง มีระดับเทสโทสเตอโรนเพิ่มขึ้น
แต่นักวิ่งระยะไกลอย่างมาราธอน กลับพบว่ามีเทสโทสเตอโรนต่ำกว่า ซึ่งนี่อาจเกี่ยวกับคอร์ติซอล ซึ่งเรารู้อยู่แล้วว่ามีผลกระทบต่อเทสโทสเตอโรน การออกกำลังระยะยาวทำให้ร่างกายเครียดเป็นเวลานานมากกว่า จึงมีระดับคอร์ติซอลที่สูงกว่า และส่งผลให้เทสโทสเตอโรนลดต่ำลง ขณะที่การวิ่งเร็วในช่วงสั้นๆ ทำให้คอร์ติซอลพุ่งสูงขึ้นไม่นานแล้วก็ลดลง ร่างกายได้มีช่วงเวลาพัก และทำให้เทสโทสเตอโรนเพิ่มสูงขึ้น แต่คุณก็ไม่ควรวิ่งเร็วบ่อยจนเกินไป ควรให้ร่างกายได้มีเวลาพัก เพื่อที่จะได้รับผลดีจากเทสโทสเตอโรนที่เพิ่มขึ้น
7 นอนให้เพียงพอ
นอกจากจะเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างกายพอๆ กับอาหารและการออกกำลังกายแล้ว การนอนหลับให้เพียงพอยังสำคัญต่อเทสโทสเตอโรนด้วย โดยการศึกษาชิ้นหนึ่งจากมหาวิทยาลัยชิคาโกในสหรัฐ พบว่าระดับเทสโทสเตอโรนลดต่ำลงในผู้ชายที่นอนไม่เพียงพอ
การนอนหลับที่เพียงพอของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน แต่การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า การนอนเพียงแค่คืนละห้าชั่วโมง เชื่อมโยงกับการลดลงของระดับเทสโทสเตอโรน 15% และการศึกษาในระยะยาวชิ้นหนึ่งที่สังเกตการณ์ผู้ที่นอนเพียงคนละสี่ชั่วโมง และพบว่าต่างมีระดับของเทสโทสเตอโรนลดต่ำลง
การศึกษาชิ้นหนึ่งคำนวณว่า การนอนเพิ่มขึ้นทุกหนึ่งชั่วโมง สามารถทำให้เทสโทสเตอโรนสูงขึ้นได้โดยเฉลี่ย 15% และการศึกษาชิ้นอื่นก็ชี้ว่า การนอน 7-10 ชั่วโมงต่อคืน เป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพในระยะยาว และดีต่อระดับเทสโทสเตอโรนด้วย
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย