backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

แปรงฟัน แบบผิดๆ อาจทำให้สุขภาพฟันแย่ลงกว่าเดิมก็ได้นะ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

แปรงฟัน แบบผิดๆ อาจทำให้สุขภาพฟันแย่ลงกว่าเดิมก็ได้นะ

แปรงฟัน แบบผิดๆ เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยๆ ถึงแม้ว่ามันจะดูไม่ใช่เรื่องยาก แต่การแปรงฟันผิดวิธีอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในคราบฟัน ก่อปัญหาฟันผุและเหงือกอักเสบขึ้นมาได้ ฉะนั้นขจัดเชื้อแบคทีเรียกพวกนั้นออกไป ด้วยการแปรงฟันให้ถูกวิธีซะ และนี่คือรายละเอียด

คุณกำลัง แปรงฟัน แบบผิดๆ อยู่หรือเปล่า

เลือกแปรงสีฟันไม่เหมาะ

เวลาที่เราเลือกแปรงสีฟันใหม่มาใช้นั้น ก็ควรหลีกเลี่ยงแปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็งๆ เพราะอาจทำให้เคลือบฟันและเนื้อเยื่อบริเวณเหงือกเกิดความเสียหายได้ โดยควรมองหาคำว่า ‘Soft’ บนฉลาก ซึ่งหมายความว่าแปรงสีฟันด้ามนั้นมีขนแปรงนิ่ม นอกจากนี้ก็ควรเลือกขนาดของแปรงสีฟันให้เหมาะกับขนาดปากของคุณได้ ซึ่งจะช่วยให้แปรงในซอกมุมต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

ไม่ยอมเปลี่ยนแปรงสีฟันบ่อยๆ

ผู้คนส่วนใหญ่มักจะไม่ยอมเปลี่ยนแปลงสีฟันอันใหม่ จนกว่าจะถึงเวลาไปพบทันตแพทย์ (โดยปกติก็ทุกๆ หกเดือน) แต่ตามความเป็นจริงแล้ว คุณควรจะเปลี่ยนแปรงสีฟันให้บ่อยกว่านั้น สมาคมทันตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาาแนะนำให้เปลี่ยนแปรงสีฟันอันใหม่ทุกๆ 2 หรือ 3 เดือน หรือทันทีที่เห็นขนแปรงหักงอหรือกางออกไปทางด้านนอก แปรงสีฟันเก่าๆ มักจะทำหน้าที่ขจัดคราบฟันไม่ค่อยได้ผล

แปรงฟันเป็นแนววงกลมอย่างเดียว 

พวกเราหลายๆ คนมักจะถูกอบรมสั่งสอนให้แปรงฟันเป็นแนววงกลม เพื่อช่วยกำจัดคราบฟันออกไปให้หมด แต่นั่นไม่ใช่เทคนิคในการแปรงที่ดีอีกต่อไปแล้ว ตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้แปรงสีฟันเลื่อนไปข้างหน้าและข้างหลังเบาๆ เป็นแนวสั้นๆ (ตามความกว้างของฟัน) โดยเลื่อนแปรงให้โดนฟันส่วนนอกและส่วนในอย่างทั่วถึง จากนั้นก็เลื่อนไปแปรงฟันกราม ส่วนในการแปรงฟันด้านหน้านั้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้วางแปรงในแนวตั้ง แล้วเลื่อนขึ้นลงช้าๆ หลายๆ ครั้ง

แปรงฟันเร็วเกินไป

ตอนนี้มีนาฬิการที่ช่วยจับเวลาในการแปรงฟันวางจำหน่ายแล้วนะ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถแปรงฟันได้ตามเวลาที่แนะนำ ซึ่งมีความพอเหมาะต่อการขจัดสิ่งสกปรกออกไปจากผิวฟัน โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้แปรงฟันเป็นเวลาสองนาทีวันละสองครั้ง ถ้าจำเป็นก็ควรตั้งนาฬิกาปลุกเอาไว้ เพื่อที่จะได้มั่นใจว่าคุณใช้เวลาแปรงฟันที่เหมาะสมจริงๆ

ลืมแปรงลิ้นด้วย

การแปรงลิ้นอาจทำให้คุณรู้สึกแปลกๆ แต่นั่นนับเป็นขั้นตอนสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปาก เมื่อคุณแปรงฟันเสร็จแล้ว ก็ลากแปรงสีฟันมาตามความยาวของลิ้น เพื่อช่วยขจัดคราบแบคทีเรียที่อาจก่อให้เกิดฟันผุและกลิ่นปากได้ หรือซื้อแปรงที่ใช้สำหรับแปรงลิ้นโดยเฉพาะก็ได้ ซึ่งมีขายตามร้านขายยา หรือร้านจำหน่ายสินค้าเพื่อสุขภาพทั่วไป

ไม่ยอมใช้ไหมขัดฟัน

การใช้ไหมขัดฟันอาจทำให้คุณรู้สึกเจ็บได้ แต่นั่นจะช่วยให้คุณมีสุขภาพฟันที่ดี และรักษาฟันให้อยู่คู่กับปากไปได้จนถึงตลอดชีวิต โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้ง เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฟันผุนั้น อาจจะยังคงติดอยู่ตามซอกฟัน ในบริเวณที่ขนแปรงซอกซอนเข้าไปไม่ถึง ซึ่งการใช้ไหมขัดฟันจะช่วยทำให้สามารถขจัดคราบฟันและเศษอาหาร ที่ติดอยู่ตามซอกฟันและบริเวณใต้เหงือกออกไปได้

เก็บแปรงสีฟันอย่างไม่ถูกวิธี

เวลาที่คุณแปรงฟันเสร็จแล้ว ก็วางแปรงตั้งขึ้น และปล่อยให้แห้งเองตามธรรมชาติ ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเท หลีกเลี่ยงการเก็บแปรงสีฟันในภาชนะที่มีฝาปิด เนื่องจากจะทำให้เชื้อแบคทีเรียเกิดการแพร่พันธุ์ได้

แปรงฟันหลังกินอาหารเสร็จทันที

ถ้าคุณรู้สึกอยากทำความสะอาดฟันหลังกินอาหารหรือดื่มอะไร ก็ควรรออย่างน้อย 60 นาทีก่อนแปรงฟัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณกินหรือดื่มอะไรที่มีลักษณะเป็นกรด อย่างเช่น มะนาว ส้ม หรือน้ำอัดลม การดื่มน้ำและเคี้ยวหมากฝรั่งที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาล ก็สามารถช่วยทำความสะอาดฟันในขณะรอให้ถึงเวลาแปรงฟันได้

แปรงฟันแรงเกินไป

คุณควรอ่อนโยนต่อฟันหน่อยนะ ความคิดที่ว่าการแปรงฟันแรงๆ นั้นจะช่วยกำจัดเศษอาหารได้อย่างหมดจดนั้นความคิดที่ผิด เนื่องจากการแปรงฟันแรงๆ จะทำให้เคลือบฟันและเหงือกเกิดความเสียหาย ฉะนั้นก็แปรงฟันเบาๆ ก็พอ

กินน้ำตาลมากเกินไป

น้ำตาลเป็นอาหารของแบคทีเรียในช่องปาก ที่ทำให้เกิดกรดที่ทำลายผิวฟัน จนเป็นเหตุให้ฟันผุ คุณจึงไม่ควรกินน้ำตาลมากเกินไป หรือควรแปรงฟันหลังกินอะไรหวานๆ นอกจากนี้ก็ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม อาหารเหนียวๆ อย่างเช่น ลูกเกด ลูกกวาด และคุ้กกี้ด้วย

วิธีแปรงฟันที่ถูกต้อง

การแปรงฟันที่ถูกต้องไม่ยากอย่างที่คิด ดูวิธีการแปรงได้ในวิดีโอนี้เลยค่ะ อย่างไรก็ตาม ควรพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือนเพื่อตรวจสุขภาพฟัน และหากมีอาการปวดฟัน หรือปัญหาสุขภาพฟันอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา