การกัดฟัน
การกัดฟัน หรือการนอนกัดฟัน (Bruxism) เป็นประจำ ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ อาจกลายเป็นนิสัยที่ส่งผลให้ฟันเสียหายถาวรได้ เช่น ฟักสึกอย่างรุนแรง ปวดฟัน ปวดกล้ามเนื้อ ทำให้ขากรรไกรผิดปกติ การที่เด็กชอบกัดฟันอาจเกิดมาจากปัญหาสุขภาพกาย เช่น ฟันบนกับฟันล่างสบกันผิดปกติ ปวดฟันก็เลยกัดฟันเพื่อลดอาการปวด หรือปัญหาทางอารมณ์ เช่น ความเครียด โกรธ วิตกกังวล เด็กที่สมาธิสั้นก็อาจชอบกัดฟัน รวมถึงการใช้ยารักษาโรคบางชนิด เช่น สมองพิการ (Cerebral Palsy) ก็สามารถทำให้เด็กกัดฟันได้เช่นกัน
หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกของคุณชอบกัดฟัน ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจรักษาฟัน คุณหมออาจสั่งให้ใส่ฟันยาง เพื่อป้องกันไม่ให้นอนกัดฟัน คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถช่วยให้ลูกกัดฟันน้อยลงได้ ด้วยการทำให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด เช่น ให้อาบน้ำอุ่น ฟังเพลง อ่านหนังสือก่อนนอน
การดุนลิ้น
การดุนลิ้น หรือการเอาลิ้นดุนหรือดันฟันหน้า ส่วนใหญ่เด็กมักเอาลิ้นดุนฟันบน แต่บางครั้งก็อาจดุนฟันล่างด้วย พฤติกรรมนี้สามารถส่งผลเสียต่อฟัน ทำให้ฟันยื่นและห่าง ทั้งยังอาจส่งผลให้มีปัญหาด้านการพูดได้ด้วย หากพบว่าลูกชอบเอาลิ้นดุนฟัน ควรพาไปพบนักแก้ไขการพูด (Speech pathologist) ที่จะช่วยวางแผนการรักษา เพื่อช่วยพัฒนากล้ามเนื้อในการเคี้ยว และฝึกให้เด็กกลืนอาหารอย่างถูกต้อง
ฟันหักเร็ว
เด็กๆ ที่สูญเสียฟันก่อนวัยอันควรทั้งจากฟันผุ การบาดเจ็บ มีช่องว่างของขากรรไกร หรือฟันน้ำนมหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้น ก็อาจทำให้ฟันซี่ข้างเคียงล้มหรือเอียงมาปิดช่องว่าง จนไม่มีพื้นที่เหลือพอให้ฟันแท้งอกขึ้นมาได้ เมื่อฟันแท้งอกขึ้นมาจึงอาจมีปัญหาฟันคุด ฟันเก ฟันซ้อน ซึ่งสามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพฟันได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น เคี้ยวอาหารยาก ขากรรไกรผิดปกติ เป็นต้น
หากลูกของคุณสูญเสียฟันก่อนเวลา และฟันแท้ยังไม่ขึ้น ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ใส่เครื่องมือกันฟันล้ม หรือเครื่องมือกันช่องว่าง (Space Maintainer) ที่ทำจากพลาสติกหรือโลหะ เมื่อฟันแท้ขึ้นจึงค่อยถอดเครื่องมือนี้ออก
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย